ซาริน
ซาริน[1] | |
---|---|
![]() | |
![]() | |
(RS)-Propan-2-yl methylphosphonofluoridate | |
ชื่ออื่น | (RS)-O-Isopropyl methylphosphonofluoridate; IMPF; GB;[2] 2-(Fluoro-methylphosphoryl)oxypropane; Phosphonofluoridic acid, P-methyl-, 1-methylethyl ester |
เลขทะเบียน | |
เลขทะเบียน CAS | [107-44-8][CAS] |
PubChem | |
SMILES | |
InChI | |
ChemSpider ID | |
คุณสมบัติ | |
สูตรโมเลกุล | C4H10FO2P |
มวลโมเลกุล | 140.09 g mol−1 |
ลักษณะทางกายภาพ | ของเหลวใส ไร้สี |
กลิ่น | ไร้กลิ่นในรูปบริสุทธิ์ |
ความหนาแน่น | 1.0887 ก./ซม.³ (25 °C) 1.102 ก./ซม.³ (20 °C) |
จุดหลอมเหลว |
-56 °C, 217 K, -69 °F |
จุดเดือด |
158 °C, 431 K, 316 °F |
ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ | ผสมเข้ากันได้ |
ความอันตราย | |
MSDS | Lethal Nerve Agent Sarin (GB) |
การจำแนกของ EU | Extremely Toxic (T+)[3] |
อันตรายหลัก | เป็นสารเลียนพาราซิมพาเทติกที่มีฤทธิ์ถึงตาย |
NFPA 704 | |
LD50 | 70 มก.-นาที/ม.3 |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa | |
สถานีย่อย:เคมี |
ซาริน หรือจีบี เป็นสารประกอบออร์แกโนฟอสฟอรัส มีสูตรเคมี [(CH3)2CHO]CH3P(O)F ซารินเป็นของเหลวไร้สี ไร้กลิ่น[4] ใช้เป็นอาวุธเคมีเนื่องจากเป็นสารประสาทที่ออกฤทธิ์รุนแรง ซารินจัดเป็นอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงในข้อมติสหประชาชาติที่ 687[5] อนุสัญญาอาวุธเคมี พ.ศ. 2536 ห้ามการผลิตและเก็บสะสมซาริน และจัดเป็นสารกำหนดรายการ 1 (Schedule 1 substance)
ซารินมีฤทธิ์ถึงตายแม้ในความเข้มข้นต่ำมาก โดยผู้ที่ได้รับจะเสียชีวิตภายในหนึ่งนาทีหลังการกินโดยตรงเพราะการหยุดหายใจจากกล้ามเนื้อปอดเป็นอัมพาต นอกเสียจากได้รับยาแก้พิษ ซึ่งมักเป็นอะโทรปีนหรือไบเพริเดนและพลาลิด็อกซีม อย่างรวดเร็ว[4] ผู้ที่ได้รับในปริมาณไม่ถึงตาย แต่ไม่ได้รับการรักษาทางการแพทย์ทันที อาจได้รับความเสียหายทางประสาทถาวร
ซารินเคยถูกใช้ในการโจมตีรถไฟใต้ดินโตเกียวเมโทรของ การโจมตีโตเกียวเมโทรด้วยซาริน
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Material Safety Data Sheet -- Lethal Nerve Agent Sarin (GB)". 103d Congress, 2d Session. United States Senate. May 25, 1994. สืบค้นเมื่อ 2004-11-06.
- ↑ "Sarin". National Institute of Standards and Technology. สืบค้นเมื่อ 2011-03-27.
- ↑ "Institut für Arbeitsschutz der Deutschen Gesetzlichen". GESTIS Substance Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-20. สืบค้นเมื่อ November 15, 2011.
- ↑ 4.0 4.1 Sarin (GB). Emergency Response Safety and Health Database. National Institute for Occupational Safety and Health. Accessed April 20, 2009.
- ↑ "Chemical weapons 101: Six facts about sarin and Syria's stockpile". CS Monitor. 21 August 2013.