ซังฮยังอาดีบุดดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"นาโม อาดี บุดดายา" (นโม อาทิ พุทธายะ) แปลว่า "ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อพระผู้เป็นเจ้า" เขียนด้วยอักษรชวา ภายในวัดแห่งหนึ่งในยกยาการ์ตา

ซังฮยังอาดีบุดดา (อินโดนีเซีย: Sanghyang Adi Buddha) เป็นพระผู้สร้างในศาสนาพุทธของประเทศอินโดนีเซีย เกิดขึ้นในช่วงที่ศาสนาพุทธกำลังได้รับการฟื้นฟูในอินโดนีเซียกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีการประกาศหลักการปัญจศีลและถูกรวมเข้าไปในรัฐธรรมนูญของประเทศ ที่ระบุว่า "เชื่อในพระเป็นเจ้าสูงสุดเพียงพระองค์เดียว" (Ketuhanan Yang Maha Esa)[1] องค์กรใด ๆ สงสัยหรือปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าถือว่าผิดกฎหมาย[2] แต่ก็ขัดกับหลักการของศาสนาพุทธซึ่งปฏิเสธเรื่องการมีอยู่ของพระเป็นเจ้า[3][4] สภาพุทธศาสนิกชนอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตัวแทนของศาสนาพุทธในประเทศทั้งหมดทั้งนิกายมหายาน เถรวาท และวัชรยาน จึงใช้ชื่อพระเป็นเจ้าตามที่พระอชิน ชินรักขิตตั้งไว้[5] โดยอิงจากความเชื่อเรื่องอาทิพุทธะของศาสนาพุทธแบบตันตระที่ใช้เรียกพระพุทธเจ้าองค์แรกของโลก คณะสงฆ์สูงสุดและสภาพุทธศาสนิกชนอินโดนีเซียจึงตกลงที่จะใช้พระนามนี้สำหรับพระเป็นเจ้าสูงสุดของศาสนาพุทธในอินโดนีเซีย[2] พระอชิน ชินรักขิตกล่าวว่า "แนวคิดเรื่อง 'พระเป็นเจ้าสูงสุด' จากธรรมะนี้ จะเป็นรู้จักและได้รับการยอมรับมากในองค์กรต่าง ๆ ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม"[6]

อนึ่งความเชื่อเรื่องอาทิพุทธะนี้ไม่ปรากฏในเอกสารบาลี หากแต่พบในเอกสารวัชรยานของชวายุคเก่า เช่น ซังฮยังกามาฮายานิกัน (Sanghyang Kamahayanikan)[1][5]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 Suryadinata 1995, p. 48.
  2. 2.0 2.1 Harvey 1995, p. 297.
  3. R. B. Cribb, Audrey Kahin (2004). Historical Dictionary of Indonesia (Second ed.). Scarecrow Press. p. 63. ISBN 978-0810849358.
  4. Andrew Clinton Willford, Kenneth M. George, บ.ก. (2004). Spirited Politics: Religion and Public Life in Contemporary Southeast Asia. Cornell University Southeast Asia Program. p. 132. ISBN 978-0877277378.
  5. 5.0 5.1 Somo Wibowo. June 4th, 2013. Asal Muasal Istilah Sang Hyang Adi Buddha.
  6. Nilsson-Ladner, Maximilian (2019-10-25). "Rediscovering an Ancient Heritage in Indonesia". Buddhist Door. สืบค้นเมื่อ 2019-11-02.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
บรรณานุกรม
  • Harvey, Peter (1995), An introduction to Buddhism. Teachings, history and practices, Cambridge University Press
  • Suryadinata, Leo (1995), Prominent Indonesian Chinese: Biographical Sketches, Institute of Southeast Asian Studies

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]