ปลายาว
ปลายาว | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Siluriformes |
วงศ์: | Pangasiidae |
สกุล: | Pangasius |
สปีชีส์: | P. krempfi |
ชื่อทวินาม | |
Pangasius krempfi Fang & Chaux, 1949 | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
ปลายาว (เวียดนาม: Cá bông lau; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pangasius krempfi) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีลักษณะหัวเรียว ตาเล็ก ปากอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก หนวดยาวถึงลูกตา รูปร่างเพรียวยาว ลำตัวค่อนข้างกลมและแบนข้างที่ด้านท้าย ตัวผู้มีปลายครีบหลังและครีบท้องยื่นเป็นเส้นสั้น ๆ ลำตัวมีสีเทาคล้ำอมฟ้า ข้างลำตัวสีจาง ครีบสีจาง ครีบหางมีสีเหลืองอ่อน ที่ขอบบนแฉกมีสีคล้ำจาง ๆ
มีขนาดประมาณ 40 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 80 เซนติเมตร พบเฉพาะในแม่น้ำโขงตั้งแต่จังหวัดหนองคายถึงอุบลราชธานี เท่านั้น
เป็นปลาที่ตายง่ายมากหลังการจับจึงได้อีกชื่อจากชาวประมงที่จังหวัดหนองคายว่า "ปลาซวยเสาะ" แต่ที่จังหวัดนครพนมเรียกว่า "ปลายาว" บริโภคโดยการปรุงสด เนื้อมีรสชาติดี
ปลายาวที่มีขนาดเล็กจะพบเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำโขง และชายฝั่งทะเลไปถึงเกาะไหหลำ ในประเทศจีน[2]