ชูชอนดูฆต์
ชูชอนดูฆต์ (<ideonly>แม่แบบ:Ngeonly><de> entation}} <de>; <ideonly>แม่แบบ:Ngeonly><de> entation}} <de>) เป็นพระมเหสีชาวยิวของยาซเดเกิร์ดที่ 1 จักรพรรดิซาเซเนียนใน ค.ศ. 399-420 และพระราชมารดาในแบฮ์รอมที่ 5 ผู้ครองราชย์องค์ถัดไป กล่าวกันว่าพระนางเป็นพระธิดาในหัวหน้านักบวชสูงสุด (Exilarch; เปอร์เซียสมัยกลาง rēš-galūdag) ฮูนา บาร์ นาธาน[1][2] ชูชอนดูฆต์ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้สร้างชุมชนชาวยิวแห่งโจวีบอเรในเอสแฟฮอน[3] และยังสถาปนานิคมชาวยิวในนครซูซาและชูชแทร์บริเวณจังหวัดฆูเซสถาน ประเทศอิหร่านในปัจจุบัน Ernst Herzfeld (1879–1948) นักอิหร่านศึกษา คาดการณ์ว่าสุสานเอสเธอร์และโมรเดคัยในนครแฮแมดอนอาจเป็นสุสานชูชอนดูฆต์[4]
เรื่องเล่าของราชินีชาวยิวได้ยกระดับชีวิตของชาวยิวเชื้อสายเปอร์เซีย แม้ว่ามีชุมชนยิวในเอสแฟฮอนมานานก่อนวันที่นี้ ตามที่ผู้เขียนก่อนหน้านี้กล่าวไว้[5] Aptin Khanbaghi ระบุว่า ทาลมุดบาบิโลเนียเล่าเรื่องราวที่หัวหน้านักบวชสูงสุด ฮูนา บาร์ นาธานโต้ตอบกับยาซเดเกิร์ดอีกครั้ง[6] แต่ไม่มีการกล่าวถึงพระธิดาหรือจักรพรรดินียิว
Simcha Gross เขียนไว้ว่า ชูชอนดูฆต์ได้รับการกล่าวถึงเฉพาะใน เมืองหลวงแคว้นแห่ง Ērānšahr (เปอร์เซียสมัยกลาง Šahrestānīhā ī Ērānšahr) โดยยังเป็นข้อมูลเปอร์เซียสมัยกลางอันเดียวที่ "ยอมรับถึงสถาบันหัวหน้านักบวชสูงสุดอย่างชัดแจ้ง" และเชื่อว่าพระนางเป็นตัวละครสมมติที่อาจอิงจากเอสเธอร์ เรื่องราวของพระนางน่าจะมีอายุถึง"ช่วงคั่นกลางอิหร่าน" (Iranian intermezzo) ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 หรือ 11 เพื่อเป็นช่องทางสนับสนุนการอ้างสิทธิ์ของผู้ปกครองท้องถิ่น[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ชูชอนดูฆต์ ที่ Encyclopædia Iranica
- ↑ Gross, Simcha (27 August 2021). "Curious Case of the Jewish Sasanian Queen Šīšīnduxt: Exilarchal Propaganda and Zoroastrians in Tenth- to Eleventh-Century Baghdad". Journal of the American Oriental Society. 141 (2): 365. doi:10.7817/jameroriesoci.141.2.0365. ISSN 2169-2289.
- ↑ Loeb, Laurence D. (2012). Outcaste: Jewish Life in Southern Iran (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 278. ISBN 978-1-136-81277-4.
- ↑ ชูชอนดูฆต์ ที่ Encyclopædia Iranica
- ↑ Gross, Simcha (27 August 2021). "Curious Case of the Jewish Sasanian Queen Šīšīnduxt: Exilarchal Propaganda and Zoroastrians in Tenth- to Eleventh-Century Baghdad". Journal of the American Oriental Society. 141 (2): 369. doi:10.7817/jameroriesoci.141.2.0365. ISSN 2169-2289.
- ↑ Khanbaghi, Aptin (22 February 2006). The Fire, the Star and the Cross: Minority Religions in Medieval and Early Modern Iran (ภาษาอังกฤษ). Bloomsbury Publishing. p. 8. ISBN 978-0-85771-266-0.
- ↑ Gross, Simcha (27 August 2021). "Curious Case of the Jewish Sasanian Queen Šīšīnduxt: Exilarchal Propaganda and Zoroastrians in Tenth- to Eleventh-Century Baghdad". Journal of the American Oriental Society. 141 (2): 366-9. doi:10.7817/jameroriesoci.141.2.0365. ISSN 2169-2289.