ชีวอุตุนิยมวิทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชีวอุตุนิยมวิทยา (อังกฤษ: Biometeorology) เป็นสหวิทยาการของวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างชีวมณฑลและบรรยากาศของโลก ในมาตราส่วนของเวลาตามฤดูกาลหรือสั้นกว่านั้น (โดยมีความขัดแย้งกับชีวภูมิอากาศวิทยา)

ตัวอย่างของกระบวนการที่เกี่ยวข้อง[แก้]

อุบัติการณ์ลมฟ้าอากาศมีผลต่อกระบวนการทางชีวภาพในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เช่น เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นเหนือขอบฟ้าในตอนเช้า ระดับของแสงจะเพียงพอสำหรับกระบวนการการสังเคราะห์ด้วยแสงที่เกิดขึ้นในใบพืช ในภายหลัง ในระหว่างวัน อุณหภูมิอากาศและความชื้นอาจทำให้เกิดการปิดบางส่วนหรือทั้งหมดของปากใบ การตอบสนองโดยทั่วไปของพืชหลายชนิดจะจำกัดการสูญเสียน้ำจากการคายน้ำ มากกว่าโดยปกติแล้ว การค่อย ๆ ปรากฎขึ้นของตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยาในแต่ละวันจะควบคุมวงจรนาฬิกาชีวภาพของพืชและสัตว์เหมือนกัน

สิ่งมีชีวิต เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งเหล่านี้ จะสามารถส่งผลกระทบต่อรูปแบบของสภาพอากาศร่วมกันได้ โดยอัตราการคายระเหยของป่า หรือพื้นที่ปลูกพืชขนาดใหญ่ที่สำคัญ ก่อให้เกิดการปลดปล่อยของไอน้ำในบรรยากาศ โดยในท้องถิ่นนั้น จะมีกระบวนการที่ค่อนข้างรวดเร็วและต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะมีส่วนสำคัญในการคงอยู่ของหยาดน้ำฟ้าในบริเวณที่กำหนด และอีกตัวอย่างหนึ่ง การเหี่ยวแห้งของพืชเป็นผลในการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในการกระจายมุมใบ และด้วยประการฉะนี้ จึงมีการปรับเปลี่ยนอัตราการสะท้อน, การส่งผ่าน และการดูดซึมของแสงพลังงานแสงอาทิตย์ในพืชเหล่านี้ ส่วนในทางกลับกัน การเปลี่ยนแปลงของอัตราส่วนรังสีสะท้อนของระบบนิเวศเช่นเดียวกับความสำคัญของความร้อนสัมผัสและความร้อนแฝงจำเพาะจากการนำและการพาจากพื้นผิวสู่ชั้นบรรยากาศ ยกตัวอย่างเช่นในสมุทรศาสตร์ ได้มีการพิจารณาถึงการปล่อยไดเมทิลซัลไฟด์โดยกิจกรรมทางชีวภาพในน้ำทะเล และส่งผลกระทบต่อละอองลอยในชั้นบรรยากาศ

ชีวอุตุนิยมวิทยาของมนุษย์[แก้]

วิธีการและการวัดแบบดั้งเดิมที่ใช้ในชีวอุตุนิยมวิทยาไม่ได้แตกต่างกันเมื่อนำไปใช้กับการศึกษาเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายมนุษย์และชั้นบรรยากาศ แต่บางแง่มุมหรือการใช้งาน อาจจะได้รับการสำรวจอย่างกว้างขวางมากขึ้น เช่น ความหนาวเหน็บบนเนื้อหนังมนุษย์ได้รับการตรวจสอบเพื่อกำหนดช่วงระยะเวลาของแต่ละบุคคลตามอุณหภูมิที่กำหนดและสภาพของลม อีกตัวอย่างหนึ่งที่สำคัญ เกี่ยวข้องกับการศึกษาของสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ (เช่น ละอองเรณู และละอองลอย) และผลกระทบที่มีต่อแต่ละบุคคล: โดยสภาพลมฟ้าอากาศสามารถสนับสนุนหรือขัดขวางการปล่อยตัว เช่นเดียวกับการเคลื่อนย้ายและการสะสมของสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้ ที่ซึ่งบางครั้งส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของผู้คนอย่างรุนแรง

อ้างอิง[แก้]

  • R. E. Munn (1970) Biometeorological Methods, Academic Press, New York, 336 pp., Library of Congress Catalog Card Number 71-97488.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]