ชาวมระหม่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มระหม่า
မာရမာ
การแสดงของชาวมระหม่า
ประชากรทั้งหมด
ราว 400,000 คน
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
เขตเนินเขาจิตตะกอง ประเทศบังกลาเทศ, รัฐตริปุระ ประเทศอินเดีย, ประเทศพม่า
224,261 คน[1]
 พม่า (รัฐยะไข่)ไม่ทราบ
 อินเดีย (รัฐตริปุระ)35,722[2]
ภาษา
มระหม่า, เบงกอล, พม่า
ศาสนา
ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ยะไข่, พม่า

หนึ่งใน 135 ชาติพันธุ์ที่รัฐบาลพม่าให้การยอมรับ

มระหม่า (พม่า: မာရမာ တိုင်းရင်းသား) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองของเขตเนินเขาจิตตะกอง ประเทศบังกลาเทศ ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อำเภอพานทรพาน อำเภอขาคฬาฉฬี อำเภอรางคามาฏี ซึ่งตั้งอยู่ในภาคจิตตะกอง ทั้งยังพบชาวมระหม่าตั้งถิ่นฐานที่อำเภอคอกส์บาซาร์ ภาคจิตตะกอง และอำเภอปฏุยาขาลี ภาคบอรีชัล ในประเทศอินเดียมีชุมชนชาวมระหม่าขนาดใหญ่ที่รัฐตริปุระ และในประเทศพม่าพบชาวมระหม่าที่รัฐยะไข่ ถือเป็นหนึ่งใน 135 ชาติพันธุ์ที่รัฐบาลพม่าให้การยอมรับ

บรรพบุรุษของชาวมระหม่า คือชาวยะไข่ที่ตั้งถิ่นฐานในแถบชายฝั่งทะเลจิตตะกองเรื่อยไปจนถึงเทือกเขาอาระกัน (ปัจจุบันคือรัฐยะไข่ ประเทศพม่า) ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 ชาวยะไข่มีชื่อเสียงจากการเป็นโจรสลัดร่วมกับพวกโปรตุเกส โดยออกโจรกรรมทั่วไปในแถบอ่าวเบงกอล[3] กระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 18-18 มีชาวยะไข่อพยพออกจากมาตุภูมิไปตั้งถิ่นฐานบริเวณเขตเนินเขาจิตตะกอง ซึ่งตรงกับเหตุการณ์ที่อาณาจักรมเยาะอู้เข้ายึดเมืองจิตตะกองได้สำเร็จ[4] แต่จากการศึกษาด้านพันธุศาสตร์พบว่าชาวมระหม่ามีแฮปโลกรุปฝ่ายมารดาเชื้อสายอินเดียความถี่สูง มีเชื้อสายเอเชียตะวันออกความถี่ต่ำ อีกทั้งยังมีความหลากหลายทางสายเลือดค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับชาวตริปุระและชาวจักมา อันแสดงให้เห็นว่าชาวมระหม่าอาศัยอยู่ภูมิภาคนี้มายาวนาน[5] หลังประเทศบังกลาเทศได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2514 ชาวเบงกอลมุสลิมกลุ่มใหญ่อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานบริเวณเขตเนินเขาจิตตะกอง ทำให้ชนพื้นเมืองเหล่านี้ต้องกลายเป็นชนกลุ่มน้อยไปโดยปริยาย[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Table 1.4 Ethnic Population by Group and Sex" (PDF) (ภาษาเบงกอล). Bangladesh Bureau of Statistics. 2021. p. 33.
  2. "Table C-16 Population by Mother Tongue: Tripura". Census of India 2011. Registrar General and Census Commissioner of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2023.
  3. Hasan, Md. Mahmudul (2022-11-02). "Panchayat and colonialism in Humayun Kabir's Men and Rivers". Journal of Postcolonial Writing. 58 (6): 744–757. doi:10.1080/17449855.2022.2087318. ISSN 1744-9855.
  4. Pain, Frederic (9 August 2017). "Towards a Panchronic Perspective on a Diachronic Issue: The Rhyme <-uiw> in Old Burmese" (PDF). Australian Journal of Linguistics (ภาษาอังกฤษ). 37 (4): 424–464. doi:10.1080/07268602.2017.1350129. ISSN 0726-8602. S2CID 55078797.
  5. Gazi, Nurun Nahar; Tamang, Rakesh; Singh, Vipin Kumar; Ferdous, Ahmed; Pathak, Ajai Kumar; Singh, Mugdha; Anugula, Sharath; Veeraiah, Pandichelvam; Kadarkaraisamy, Subburaj (9 October 2013). "Genetic Structure of Tibeto-Burman Populations of Bangladesh: Evaluating the Gene Flow along the Sides of Bay-of-Bengal". PLOS ONE (ภาษาอังกฤษ). 8 (10): e75064. Bibcode:2013PLoSO...875064G. doi:10.1371/journal.pone.0075064. ISSN 1932-6203. PMC 3794028. PMID 24130682.
  6. "Ethnic violence in Bangladesh: assault on minority peoples continues - Asian Studies Association of Australia". Asian Studies Association of Australia (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2 August 2017. สืบค้นเมื่อ 18 September 2018.