ข้ามไปเนื้อหา

ชะมดแผงสันหางดำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชะมดแผงสันหางดำ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Viverridae
วงศ์ย่อย: Viverrinae
สกุล: Viverra
สปีชีส์: V.  megaspila
ชื่อทวินาม
Viverra megaspila
Blyth, 1862
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

ชะมดแผงสันหางดำ (อังกฤษ: Large-spotted civet, ชื่อวิทยาศาสตร์: Viverra megaspila) เป็นชะมดชนิดหนึ่ง

มีรูปร่างและลักษณะคล้ายคลึงกับชะมดแผงหางปล้อง (V. zibetha) แต่ต่างกันที่บริเวณหาง โดยหางของชะมดแผงสันหางดำจะมีลายขวางสีดำบริเวณด้านบนของหางลากยาวมาจากโคนหางถึงปลายหาง ทำให้ปล้องหางไม่แยกขาดจากกันเหมือนชะมดแผงหางปล้อง ปลายหางมีสีดำและมีลายจุดสีดำกระจายไปทั่วตัว

มีความยาวลำตัวและส่วนหัว 72-85 เซนติเมตร ความยาวส่วนหาง 30-36.9 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 8-9 กิโลกรัม

มีการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถอาศัยอยู่ได้ในป่าหลากหลายประเภท ทั้งป่าสมบูรณ์ และตามสวนเกษตรกรรมต่าง ๆ เช่น สวนยางพารา หรือสวนปาล์มน้ำมัน แต่ส่วนมากมักพบเห็นตามพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 80-200 เมตร จากระดับน้ำทะเล โดยปกติแล้วมักอาศัยและหากินตามลำพัง ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์หรือเลี้ยงดูลูกอ่อน จะอยู่ด้วยกันเป็นคู่

จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2535[2] [3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Roberton, S., Timmins, R.J., Long, B., Wang Ying-Xiang & Tran Quang Phuong (2008). Viverra megaspila. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 2008-10-16.Listed as Vulnerable (Vulnerable A2cd v3.1)
  2. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน หน้า 80-81 โดย กองทุนสัตว์ป่าโลก สำนักงานประเทศไทย (กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543) ISBN 974-87081-5-2
  3. รายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครอง จากสวนสัตว์อุบลราชธานี

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Viverra megaspila ที่วิกิสปีชีส์