ชะมดแผง
ชะมดแผง | |
---|---|
ภาพวาดชะมดแผงหางปล้อง | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Carnivora |
วงศ์: | Viverridae |
วงศ์ย่อย: | Viverrinae |
สกุล: | Viverra Linnaeus, 1758[1] |
ชนิด | |
|
ชะมดแผง เป็นสกุลของชะมดสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Viverra
มีลักษณะคล้ายกับชะมดหรืออีเห็นทั่วไป มีลักษณะเด่น คือ ที่อุ้งตีนมีนิ้วทั้งหมด 5 นิ้ว โดยที่หัวแม่เท้ามีขนาดเล็กมากจนดูเหมือนมี 4 นิ้ว เมื่อประทับลงบนพื้นดิน จะมีรอยเท้าเพียง 4 นิ้ว เนื่องจากหากินบนพื้นดินเป็นหลัก และมีขนาดใหญ่กว่าของอีเห็น อีกทั้งที่ขนบริเวณสันหลังจรดปลายหางมีลักษณะเป็นแผงขนสีดำ พาดยาวตั้งแต่สันคอไปตามแนวสันหลัง ซึ่งเวลาตกใจหรือต้องการข่มขู่ผู้รุกรานจะยกแผงขนหลังนี้ให้ตั้งชันได้ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญที่ใช้เรียกขาน ส่วนหางจะเป็นลายปล้อง ๆ [2][3]
เป็นชะมดขนาดใหญ่ หากินตามพื้นดินมากกว่าบนต้นไม้ และักินสัตว์เล็ก ๆ เช่น หนู, กระรอก หรือ กบ, เขียด มากกว่ากินผลไม้หรือลูกไม้
พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียและเอเชียอาคเนย์ทั้งส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และเกาะต่าง ๆ ไปจนถึงเอเชียตะวันออก พบได้ในประเทศไทย 2 ชนิด
การจำแนก
[แก้]- Viverra civettina Blyth, 1862 – (ชะมดแผงจุดใหญ่)
- Viverra megaspila Blyth, 1862 – (ชะมดแผงหางดำ-พบได้ในประเทศไทย)
- Viverra tangalunga Gray, 1832 – (ชะมดมลายู)
- Viverra zibetha Linnaeus, 1758 – (ชะมดแผงหางปล้อง-พบได้ในประเทศไทย)[1]
- Viverra leakeyi Leakey, 1982 – (ชะมดลีกคี, ชะมดยักษ์-สูญพันธุ์ไปแล้วในยุคเพลสโตซีน) [4] [5]
รูปภาพ
[แก้]-
ลักษณะอุ้งตีนและนิ้วของชะมดแผง
-
ขนแผงหลังของชะมดแผงหางปล้อง
-
ชะมดแผงไม่ทราบชนิดที่เกาะซูลาเวซี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 จาก itis.gov
- ↑ หน้า 139, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518)
- ↑ อีเห็นข้างลาย...สหายกลางคืน
- ↑ paleoitalia.org/media/u/archives/195_Sardella.pdf
- ↑ National Geographic Prehistoric Mammals, by Alan Turner
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Viverra ที่วิกิสปีชีส์