ฉบับร่าง:พระอาจารย์จีนธรรมานุกร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระอาจารย์จีนธรรมานุกร

( เย็นเกา)
พระอาจารย์จีนธรรมานุกร
ชื่ออื่นเองใช้ แซ่เล้า
ส่วนบุคคล
เกิด22 ต.ค. 2489 จังหวัดกาญจนบุรี (77 ปี)
นิกายมหายาน
คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย
การศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดโพธิทัตตาราม 普德寺 ชลบุรี
รางวัลเสาอโศกผู้นำศีลธรรม
บรรพชาพ.ศ. 2499
อุปสมบท2 พฤษภาคม พ.ศ. 2514
พรรษา53
ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายซ้ายจีนนิกายจีนนิกาย
เจ้าอาวาสวัดโพธิทัตตาราม

พระอาจารย์จีนธรรมานุกร (เย็นเกา)เป็นพระภิกษุนิกายมหายาน ชาวไทยเชื้อสายจีนกวางตุ้ง ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดโพธิทัตตารามคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย ผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายซ้ายสงฆ์จีนนิกายวัดโพธิทัตตาราม

ประวัติ[แก้]

พระอาจารย์จีนธรรมานุกร (เย็นเกา) มีนามเดิมว่า มนตรี ชัยศิริศักดิ์ ชาติภูมิเดิม แซ่เล้า มณฑลกวางตุ้ง ถือกำเนิดในตระกูลแช่เล้า เมื่อ 22 ตุลาคม พุทธศักราช 2489 ณ ตำบลท่าเริอ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี บิดาชื่อนายคี้ง้วน แช่เล้า มารดาชื่อนางชู้เงียด แช่อี้ง มีพี่น้องร่วมกัน 10 คน ท่านเป็นบุตรชายคนที่ 9 ครอบครัวมีอาชีพทำสวนในขณะที่ท่านเป็นฆราวาสที่เป็นคนชอบศึกษาหาความรู้ต่าง ๆตลอดเวลาเมื่อทานศึกษาจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ตอนปลาย) ท่านได้สอบเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยพาณิชยการพระนคร(ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นชื่อเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร)ท่านสามารถสอบคัดเลือกเข้าเรียนได้ แต่ด้วยครอบครัวท่านมีพี่น้องหลายคน ท่านจึงสละสิทธิ์ในการศึกษาต่อ

ชีวิตสมณเพศ[แก้]

เมื่อปีพ.ศ.2514 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2514 ได้อุปสมบท ณ พัทสีมา วัดโพธิ์เย็น ตำบลดอนขมิ้น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับฉายา เย็นเกา โดยมี พระอาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่คณะสงฆ์จีนนิกายรูปที่6 เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงจีนวินัยธร (เย็นช้ง)เป็นพระกรรมวาจารย์ และหลวงจีนปลัด (เย็นเชี้ยว) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ (สมศักดิ์ปัจจุบัน) พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เย็นเชี้ยว)

ปัจจุบันท่านอยู่ในร่มกาสาวพัตร์เป็นเวลา 52 ปี ครั้นอุปสมทบแล้วท่านได้จำพรรษาอยู่วัดที่โพธิ์แมนคุณาราม แขวบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร ตลอดเวลาที่จำพรรษาท่านได้ศึกษาตำราหรือพระสูตรของฝ่ายมหายานซึ่งในขณะนั้นมีพระครูพระมหาคุณาจารย์ธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (ท่านเจ้าคุณเย็นเชี้ยวซือหู) และพระอาจารย์จีนวินยานุกรสุนทรธรรมภูษิตปริยัติกิจโกศล (ท่านเจ้าคุณเย็นอี่ซือแปะ) เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ตลอดมา ต่อมา วันที่ 10 พฤษภาคม พุทธศักราช 2530 ท่านได้ย้ายมาจำพรรษา ณ วัดโพธิทัตตาราม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ด้วยความรู้ความสามารถในพระสูตรของฝ่ายมหายานและการปฎิบัติตนเป็นที่เคารพและนับถือจากประชาชนทั่วไป

ตำแหน่งการบริหารปกครอง[แก้]

  • พ.ศ. 2539 เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดโพธิทัตตาราม
  • พ.ศ. 2543 เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิทัตาราม

สมศักดิ์[แก้]

  • พ.ศ. 2520 ได้รับแต่งตั้งเป็น หลวงจีนสมุห์ คณานุกรมในพระคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (โพธิ์แจ้ง)
  • พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็น หลวงจีนธรรมรักษ์จีนประจิต ผู้ช่วยปลัดซ้ายจีนนิกาย[1]
  • พ.ศ. 2539 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็น หลวงจีนธรรมนาทจีนประพันธ์ รองปลัดขวาจีนนิกาย[2]
  • พ.ศ. 2542 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็น พระอาจารย์จีนธรรมรสจีนศาสน์. ตั้งคณานุกรมได้ 3 รูป คือ หลวงจีนปลัด 1 หลวงจีนสมุห์ 1 หลวงจีนใบฎีกา 1[3]
  • พ.ศ. 2549 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็น พระอาจารย์จีนคณาณัติจีนพรต ตั้งคณานุกรมได้ 3 รูป คือ หลวงจีนปลัด 1 หลวงจีนสมุห์ 1 หลวงจีนใบฎีกา 1[4]
  • พ.ศ. 2562 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็น พระอาจารย์จีนธรรมานุกร สุนทรศาสนกิจ ภาวนานุสิฐไพศาล ตั้งคณานุกรมได้ 4 รูป คือ หลวงจีนปลัด 1 หลวงจีนสังฆรักษ์ 1 หลวงจีนสมุห์ 1 หลวงจีนใบฎีกา 1[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์บรรพชิตจีนนิกาย, ฉบับพิเศษ, เล่ม 104 ตอนที่ 253, 5 ธันวาคม 2530, หน้า 62
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์บรรพชิตจีนนิกาย, เล่ม 113 ตอนที่ 23 ข, 5 ธันวาคม 2539, หน้า 68
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์บรรพชิตจีนนิกาย, เล่ม 116 ตอนที่ 23 ข, 27 ธันวาคม 2542, หน้า 55
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์บรรพชิตจีนนิกาย, เล่ม 123 ตอนที่ 25 ข, 29 ธันวาคม 2549, หน้า 73
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศเรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์บรรพชิตจีนนิกาย, เล่ม 136 ตอนที่ 40 ข, 28 กรกฎาคม 2562, หน้า 58