ฉบับร่าง:ถนนวงแหวนรอบกรุงปักกิ่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่
แผนที่ถนนวงแหวนรอบกรุงปักกิ่ง (คลิก/ขยายเพื่อดูถนนวงแหวนรอบนอกสุดที่ขยายออกไปนอกเขตเมือง)

กรุงปักกิ่งมีถนนวงแหวนหลายสาย

ถนนวงแหวนรอบที่ 1[แก้]

เมื่อเมืองปักกิ่งมีรถรางให้บริการตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1920–1950 เส้นทางรถรางสาย 4 ได้ก่อตัวเป็นรูปวงแหวนระยะทาง 17 กิโลเมตร ตามเข็มนาฬิกาผ่านเทียนอันเหมินซีตานซีซื่อผิงอันหลี่ตี้อันเหมินกู่โหลว – เจียวต้าโข่ว – เป่ย์ซินเฉียวตงซื่อตงตาน แล้วมาบรรจบเทียนอันเหมินอีกครั้ง เส้นทางนี้ถูกเรียกว่า “ถนนวงแหวน” (環形路) ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 1950 ได้มีการยกเลิกระบบรถราง ชื่อนี้ก็ได้สูญเสียความหมายไป เนื่องจากเป็นเพียงการรวมถนนสายต่าง ๆ (ในทางตรงกันข้าม ถนนวงแหวนสายอื่น ๆ แต่ละสายในปัจจุบันจะเป็นทางด่วนสายเดียว)

แผนที่ปักกิ่งในปี ค.ศ. 1954 และ 1957 ได้แสดง "ถนนวงแหวนรอบที่ 1" ที่แตกต่างออกไป ซึ่งเป็นวงแหวนรูปสี่เหลี่ยมที่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย ผ่านเป่ย์ซินเฉียว – ฉือชี่โข่ว – ไฉชื่อโข่วซินเจียโข่ว แต่แผนที่ปักกิ่งส่วนใหญ่ไม่ได้แสดงถนนวงแหวนรอบที่ 1 เช่นนี้ มีเพียงไม่กี่แผนที่เท่านั้นที่ให้จะเน้นสีเหลืองจาง ๆ ของรูปแบบเส้นทางที่เป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม คำว่า "ถนนวงแหวน" ยังคงถูกนำมาใช้ในภายหลังสำหรับถนนวงแหวนอื่น ๆ ที่สร้างขึ้นในทศวรรษต่อมา

แนวคิดเรื่อง "ถนนวงแหวนรอบที่ 1" ได้ปรากฏขึ้นอีกครั้งในช่วงสั้น ๆ หลังสิ้นสุดการปฏิวัติทางวัฒนธรรม โดยในระหว่างนั้นชื่อถนนสายต่าง ๆ ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อที่มีการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองที่รุนแรง ซึ่งเป็นการยกย่องสนับสนุนอุดมการณ์ของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม และเมื่อความวุ่นวายทางการเมืองสิ้นสุดลง ชื่อก็ถูกเปลี่ยนไป มีข้อเสนอแนะประการหนึ่งคือให้เปลี่ยนชื่อถนนเหล่านั้นใหม่ทั้งหมด เป็น "ถนนวงแหวนรอบที่ 1" เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้นใหม่ในยุคปฏิรูป ตลอดจนสะท้อนถึงความเต็มใจของจีนที่จะยอมรับความทันสมัยและโลกาภิวัตน์ แต่ข้อเสนอแนะนี้กลับถูกปฏิเสธ เพราะคนส่วนใหญ่ชอบชื่อเดิมของถนนและเชื่อในความหมายทางประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรม และที่สำคัญกว่านั้น พวกเขารู้สึกว่าการคืนชื่อเดิมยังมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ของการประณามการปฏิวัติวัฒนธรรมมากกว่าอีกด้วย ดังนั้นชื่อเดิมของถนนจึงถูกนำมาใช้อีกครั้ง และคำว่า "ถนนวงแหวนรอบที่ 1" แทบจะไม่มีการพูดถึงอีกเลย

ถนนวงแหวนรอบที่ 2[แก้]

ถนนวงแหวนสายแรก (ในสุด) ของปักกิ่งคือ ถนนวงแหวนรอบที่ 2 สร้างขึ้นในช่วงปี 1980 และขยายเพิ่มเติมในช่วงปี 1990 ปัจจุบันสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบ ๆ ใจกลางกรุงปักกิ่ง พื้นที่เทียบเท่ากับเมืองเก่าโดยประมาณ อยู่ในสี่เขต ได้แก่ เขตตงเฉิง เขตซีเฉิง เขตซวนอู่ และเขตฉงเหวิน มีทั้งหมด 4 ส่วน เริ่มต้นที่ซีจื๋อเหมิน ตงจื๋อเหมิน ไฉ่ฮู่หยิง และจั่วอันเหมิน

ถนนวงแหวนรอบที่ 2 ตัดผ่านพื้นที่ตอนกลางของกรุงปักกิ่ง และวิ่งผ่านสถานีรถไฟปักกิ่งเหนือและสถานีรถไฟปักกิ่งเกือบโดยตรง ราคาอสังหาริมทรัพย์ในถนนวงแหวนสายนี้นั้นสูงกว่าส่วนอื่น ๆ ของเมืองมาก

ถนนวงแหวนรอบที่ 2 ในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของถนนวงแหวนส่วนต่อขยาย เชื่อมต่อกับทางด่วนสนามบินและทางด่วนปาต้าหลิง

ถนนส่วนตะวันออก ในปี 2009

ถนนวงแหวนรอบที่ 3[แก้]

ถนนวงแหวนรอบที่ 3 สร้างขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1980 แล้วเสร็จในช่วงทศวรรษที่ 1990 ผ่านย่านศูนย์กลางธุรกิจของปักกิ่งและชุมชนนักการทูต (ตงจื้อเหมินไหว / เหลียงหม่าเฉียว, เจียงกัวเหมินไหว) เชื่อมต่อกับทางด่วนหลายสาย เช่น ทางด่วนจิงเฉิง ทางด่วนจิงซี ทางด่วนจิงไค และทางด่วนจิงจินถัง

ถนนวงแหวนรอบที่ 3 ที่แขวงชฺวางจิ่ง

ถนนวงแหวนรอบที่ 4[แก้]

ถนนวงแหวนรอบที่ 5[แก้]

ถนนวงแหวนรอบที่ 6[แก้]

ถนนวงแหวนรอบที่ 7[แก้]

สายอื่น[แก้]

เส้นทางเชื่อมต่อระหว่างถนนวงแหวน[แก้]

อ้างอิง[แก้]