ข้ามไปเนื้อหา

ฮาวอิตเซอร์จีซี-45

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก จีเอชเอ็น-45)
ปืนใหญ่ GHN-45
ปืนใหญ่ GHN-45 แบบลากจูง
ปืนใหญ่ GHN-45
ชนิด ปืนใหญ่วิถีราบ
สัญชาติ  แคนาดา
สมัย สงครามเย็น - ปัจจุบัน
การใช้งาน ปืนใหญ่ช่วยส่วนรวม-เพิ่มเติมกำลังยิง (ชร.-พย.)
เริ่มใช้ ค.ศ. 1970
ช่วงผลิต ค.ศ. 1970 - ปัจจุบัน
ช่วงการใช้งาน ค.ศ. 1970 - ปัจจุบัน
ผู้ใช้งาน  คูเวต
 จีน
 ไทย
 ฟิลิปปินส์
 ออสเตรีย
 อิรัก
 อิหร่าน
 แอฟริกาใต้
สงคราม สงครามอิรัก-อิหร่าน , สงครามอ่าวเปอร์เซีย , กรณีพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา
ขนาดลำกล้อง 155 มิลลิเมตร 48 ร่องเกลียว
ระยะครบรอบเกลียว 20 คาลิเบอร์ (155×20 มม.)
ความยาวลำกล้อง 7,046 มิลลิเมตร (45 คาลิเบอร์; L/45)
กระสุน 155 มิลลิเมตร แบบแยกบรรจุ
อัตราการยิง สูงสุด : 7 นัด/นาที
ต่อเนื่อง : 1-2 นัด/นาที
ยิงเป็นชุด : 3 นัด/นาที
ความเร็วปากลำกล้อง 897 เมตร/วินาที (2,943 ฟุต/วินาที) (กระสุน ERFB-BB)
มุมยิง ต่ำสุด : -88.9 มิล/-5 องศา
สูงสุด : 1,280 มิล/72 องศา
มุมทิศ ส่ายทางซ้าย : 534 มิล/30 องศา
ส่ายทางขวา : 711 มิล/40 องศา
ระยะยิงไกลสุด 30,300 เมตร (กระสุน ERFB ส่วนบรรจุ N10)
39,600 เมตร (กระสุนเพิ่มระยะยิง ERFB-BB ส่วนบรรจุ N10)
ระยะยิงใกล้สุด 3,500 เมตร (กระสุน N37 ส่วนบรรจุ 3)
พลประจำปืน 6 นาย
น้ำหนัก รุ่นลากจูง : 10,070 กิโลกรัม
รุ่นติดตั้งเครื่องช่วยเดินทาง : 12,382 กิโลกรัม
ความยาวรวม 13,970 มิลลิเมตร
แบบอื่น GC-45 , Type 89

จีเอชเอ็น-45 (อังกฤษ: GHN-45) ย่อมาจากคำว่า Gun, Howitzer, Noricum เป็นปืนใหญ่วิถีราบ ขนาด 155 มิลลิเมตร แบบลากจูง ออกแบบโดยเจอรัลด์ บูล และพัฒนาขึ้นโดยบริษัทนอริคัม (Noricum) ประเทศออสเตรีย โดยปรับปรุงให้มีลำกล้องปืนยาวขึ้นจาก 39 คาลิเบอร์เป็น 45 คาลิเบอร์ ทำให้มีระยะยิงไกลสุดเพิ่มเป็น 39,600 เมตร โดยมีการผลิตออกมาเป็น 2 รุ่น คือ

  1. รุ่นลากจูง น้ำหนัก 10,070 กิโลกรัม
  2. รุ่นติดตั้งเครื่องช่วยเดินทาง (ระบบ APU) น้ำหนัก 12,382 กิโลกรัม

กองทัพบกไทยได้จัดหาปืนใหญ่ GHN-45 เข้าประจำการเมื่อปี พ.ศ. 2534 มีชื่อเรียกทางราชการว่า "ปืนใหญ่หนักกระสุนวิถีราบ แบบ 34 (ปนร. 34)" โดยจัดหาในอัตราประจำการ 4 กองพัน คือ ค่ายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ จ.ลพบุรี(เดิมชื่อค่ายกองพันทหารปืนใหญ่ ป.พิบูลสงคราม) 1.กองพันทหารปืนที่ 721 2.กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 722 3.กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 723 4.ศูนย์การทหารปืนใหญ่ เขาพระงาม และมีบทบาทอย่างยิ่งในการยิงสนับสนุนทหารไทยในเหตุกรณีพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]