จิโร อัตสึมิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จิโร อัตสึมิ
渥美二郎
ชื่อเกิดโทชิโอะ อัตซึมิ
(ญี่ปุ่น: 渥美 敏夫)
เกิด15 สิงหาคม พ.ศ. 2495 (71 ปี)
เขตอาดาจิ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
แนวเพลงเอ็งกะ
อาชีพนักร้อง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2519–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงโซนี่มิวสิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์
นิปปอนโคลัมเบียมิวสิก

จิโร อัตสึมิ (ญี่ปุ่น: 渥美二郎, 15 สิงหาคม พ.ศ. 2495 –) เป็นนักร้องชาวญี่ปุ่นแนวเอ็งกะ[1] เขาเป็นที่รู้จักจากเพลง ยูเมะโออิซาเกะ (ญี่ปุ่น: 夢追い酒, ให้สาเกพาล่องลอยสู่ภวังค์) ซึ่งเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2521 โดยทำนองเพลงนี้ถูกนำไปใช้หลายภาษา รวมทั้งภาษาไทยในชื่อ รักฉันนั้นเพื่อเธอ ของพิงค์แพนเตอร์ ซึ่งประพันธ์คำร้องโดยชรัส เฟื่องอารมย์ และเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2525[2]

ประวัติและชีวิตในวงการบันเทิง[แก้]

เขามีชื่อจริงว่า โทชิโอะ อัตสึมิ (ญี่ปุ่น: 渥美 敏夫) เขาเกิดที่เขตอาดาจิ โตเกียว เขาจบการศึกษาที่โรงเรียนมัธยมโคมาโกเมะ จากนั้นเข้าสู่วงการบันเทิงโดยการเป็นนักร้องที่คิตะเซ็นจู โดยใช้ชื่อในวงการบันเทิงชื่อแรกว่า ทาเคชิ อัตสึมิ โดยได้ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ ชัยชนะแห่งความตาย ในปี พ.ศ. 2518 หลังจากนั้นเขาได้ออกผลงานเพลงแรกในปี พ.ศ. 2519 สังกัดโซนี่มิวสิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ในชื่อ คาวาอีโอมาเอะ (ญี่ปุ่น: 可愛いおまえ, เธอช่างน่ารักเหลือเกิน) แต่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเพลง ยูเมะโออิซาเกะ ซึ่งเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2521 สามารถทำยอดขายร่วม 2,800,000 ตลับ[3] และกลายเป็นเพลงประจำตัวของเขาในที่สุด

ในปี พ.ศ. 2532 เขาถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร แต่ได้ทำการรักษาจนหายขาด ต่อมาเขาได้ย้ายไปสังกัดนิปปอนโคลัมเบีย เมื่อปี พ.ศ. 2544 และในปี พ.ศ. 2559 เขาได้จัดคอนเสิร์ตใหญ่ เดอะลาซเอ็งกะมาสเตอร์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปีในวงการบันเทิงของเขา

ผลงานเพลง[แก้]

สตูดิโออัลบั้ม[แก้]

  1. 可愛いおまえ („เธอช่างน่ารัก“, 2519)
  2. 夢追い酒 („ให้สาเกพาล่องลอยสู่ภวังค์“, 2521)
  3. 忘れてほしい („ผมอยากให้คุณลืม“, 2522)
  4. いたわり („ความกรุณา“, 2523)
  5. 他人酒 („Another's Sake“, 2524) ทำยอดขายถึง 300,000 ตลับ[4]
  6. 夢よもういちど („ความฝันครั้งหนึ่ง“, 2525)
  7. 想い出のひと („ใครจำได้บ้าง“, 2526)
  8. 釜山港へ帰れ („กลับสู่ปูซาน“, 2526) ทำยอดขายถึง 700,000 ตลับ[4]
  9. 北のものがたり („นิทานจากแดนเหนือ“, 2527)
  10. おまえとしあわせに („โชคดีที่มีเธอ“, 2528)
  11. ふたりの明日 („เช้าวันที่สอง“, 1. Juni 1991)
  12. 浪花夜景 („ยามราตรีของนานิวะ“, 2536) ทำยอดขายถึง 150,000 ตลับ[4]
  13. 霧の港町 („เมืองท่าหมอกปกคลุม“, 2542)
  14. 男の航路 („การเดินทางของชายคนหนึ่ง“, 2544)
  15. おそい春 („ปลายฤดูใบไม้ผลิ“, 2546)
  16. 哀愁 („คิดถึง“, 2549)
  17. 夢落葉 („ใบไม้ในฝัน“, 2549)
  18. 望郷波止場 („คิดถึงบ้านท่าเรือ“, 2551)

อ้างอิง[แก้]

  1. BS11. 演歌百撰, สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2560
  2. เปิดเรื่องราว Pink Panther วงดนตรีดังเจ้าของเพลงตำนาน "รักฉันนั้นเพื่อเธอ"
  3. Nagata, Gyoji (2002). 歌謡曲おもしろこぼれ話. Shakai Shisosha. p. 277. ISBN 4390116495. {{cite book}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 Yomiuri Shimbunsha, Kulturabteilung, 『この歌この歌手―運命のドラマ120〈下〉』, Bibliothek für gegenwärtige Kultur, 1997, S. 59, ISBN 4-390-11602-9

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]