จิกะไบต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้เกี่ยวกับหน่วยในการวัดขนาดข้อมูล สำหรับบริษัทฮาร์ดแวร์ ดูที่ กิกะไบต์ เทคโนโลยี
พหุคูณของไบต์
อุปสรรคฐานสิบ อุปสรรคฐานสอง
ชื่อ สัญลักษณ์ ค่าพหุคูณ ชื่อ สัญลักษณ ค่าพหุคูณ
กิโลไบต์ kB 103 กิบิไบต์ KiB 210
เมกะไบต์ MB 106 เมบิไบต์ MiB 220
จิกะไบต์ GB 109 จิบิไบต์ GiB 230
เทระไบต์ TB 1012 เทบิไบต์ TiB 240
เพตะไบต์ PB 1015 เพบิไบต์ PiB 250
เอกซะไบต์ EB 1018 เอกซ์บิไบต์ EiB 260
เซตตะไบต์ ZB 1021
ยอตตะไบต์ YB 1024

กิกะไบต์[1][2] หรือ จิกะไบต์[1][2] (gigabyte) ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์

จิกะไบต์ มีขนาดอ้างอิงหลัก ๆ ได้สองอย่างคือ

เพื่อป้องกันความสับสนระหว่างสองความหมายข้างต้น หน่วยงานมาตรฐาน IEC แนะนำให้เรียกปริมาณ 1,073,741,824 ไบต์เป็นชื่อใหม่ว่า จิบิไบต์ หรือ กิบิไบต์ (gibibyte) และใช้ตัวย่อว่า GiB แทน ในขณะที่ปริมาณ 1,000,000,000 ไบต์ยังคงใช้ จิกะไบต์ตามเดิม

การใช้งานทั่วไป[แก้]

  • ฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบันมักระบุความจุในหน่วยจิกะไบต์ ความจุที่แท้จริงอาจสูงหรือต่ำกว่าที่ระบุเล็กน้อย หน่วยความจุจิกะไบต์ที่ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ใช้ คือ 1,000,000,000 ไบต์ ในขณะที่ระบบปฏิบัติการหลายตัวแสดงค่าความจุของดิสก์โดยใช้ค่า 1,073,741,824 ไบต์ ซึ่งอาจสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้
  • อ้างอิงจากปี พ.ศ. 2548 ราคาต่อหน่วยความจุของฮาร์ดดิสก์ อยู่ที่ระหว่าง 25 ถึง 50 บาท ต่อ จิกะไบต์ โดยประมาณ[ต้องการอ้างอิง]
  • คำว่า จิกะไบต์ หรือ จิกะไบต์ มักพูดย่อ ๆ ว่า จิ๊ก หรือ กิ๊ก
  • หน่วย กิกะบิต หรือ จิกะบิต มีค่าเท่ากับ 1/8 ของจิกะไบต์ เป็นหน่วยหนึ่งที่ใช้ในการระบุความเร็วการส่งของระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  • รหัสยูนิโคดมีตัวอักษรพิเศษสำหรับจิกะไบต์ (㎇) ใช้รหัส ㎇ เว็บเบราว์เซอร์บางตัวอาจไม่สามารถแสดงตัวอักษรนี้ได้

อ้างอิง[แก้]