จันทน์แดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จันทน์แดง
จันทน์แดงในอินเดีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
วงศ์ย่อย: Faboideae
เผ่า: Dalbergieae
สกุล: Pterocarpus
สปีชีส์: P.  santalinus
ชื่อทวินาม
Pterocarpus santalinus
L.f.
ชื่อพ้อง[1]
  • Lingoum santalinum (L.f.) Kuntze


จันทน์แดง หรือ รักตจันทน์ ชื่อวิทยาศาสตร์: Pterocarpus santalinus อยู่ในวงศ์ถั่ว เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาลดำ ยางสีแดงเข้ม ใบประกอบ ไม่มีหูใบ ก้านใบมีขนนุ่ม เนื้อใบคล้ายแผ่นหนัง ดอกช่อ สีเหลือง ผลรูปกลมแบนมีปีก เมล็ดเกลี้ยง สีน้ำตาลแดง พบเฉพาะในรัฐอานธรประเทศ และบริเวณใกล้เคียงเมืองมัทราสและไมซอร์ ปัจจุบันเป็นพืชปลูกในศรีลังกา อินเดีย ฟิลิปปินส์

ในประเทศไทยนั้นจันทน์แดงอาจใช้เรียกลักจั่น (Dracaena cochinchinensis) ซึ่งสรรพคุณทางยานั้นมักใช้แทนกันได้[2]

การใช้ประโยชน์[แก้]

ไม้แปรรูป[แก้]

ไม้ชนิดนี้มีการใช้ประโยชน์ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง ในภาษาจีนเรียกว่าสื่อทัน zitan (紫檀) ซึ่งใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ที่ขนส่งไปทางตะวันตก [3] เนื่องจากเป็นไม้โตช้าและหายาก เฟอร์นิเจอร์จากไม้ชนิดนี้จึงหายากและราคาแพง[4] ในอินเดีย การส่งออกไม้จันทน์แดงถือว่าผิดกฎหมาย

เครื่องดนตรี[แก้]

ไม้จันทร์แดงใช้ทำสะพานและใช้ทำส่วนคอของเครื่องดนตรีญี่ปุ่นที่เรียกชามิเซ็น[5]

คุณค่าทางยา[แก้]

จันทน์แดงใช้เป็นยารักษาได้หลายอย่าง เช่น แก้อักเสบ โรคบิด ตกเลือด บำรุงกำลัง เป็นต้น [6][7]แก่นจันทน์แดง มีสารสีแดงหลายชนิดเป็นองค์ประกอบ เช่น วานทาลินเอ วานทาลินบี ไอโซบเทอโรคาร์โพโลน เทอโรคาร์ปไทรออล ไอโซปเทอร์โรคาร์พีนเทอร์โรคาร์พอล เทอร์โรคาร์ปไดโอเลน ใช้เป็นยาแก้ไข้ ยาถ่ายพยาธิ แก้ปวดบวม [8]

สถานะการอนุรักษ์[แก้]

จันทน์แดงจัดเป็นไม้ใกล้สูญพันธุ์ตามรายการของ IUCN เพราะมีการใช้ประโยชน์มากในอินเดียใต้ [9]จัดอยู่ในภาคผนวกที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส ต้องการใบรับรองก่อนส่งออกเพื่อยืนยันว่าไม่มีผลต่อการอยู่รอดของสปีชีส์ [10]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Plant List: A Working List of All Plant Species". สืบค้นเมื่อ 30 September 2014.
  2. แก่น (จันทน์แดง) หรือแก่นที่มีราลง (ลักจั่น) https://www.fda.moph.go.th/Herbal/SitePages/Document/law/announce/announce-081063/2.2-19102563.pdf เก็บถาวร 2022-01-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. http://www.chinese-furniture.com/cgi-bin/ccf.cgi?stt=stp&pgn=newsletter_archive/newsletter_2.html&id= Chinese Furniture.com newsletter; Volume 1, Number 2; Accessed 2007-04-05
  4. http://www.wctg.net/zitan.html เก็บถาวร 2007-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; Accessed 2007-04-06
  5. [1], Japanese Music and Musical Instruments
  6. http://shodhganga.inflibnet.ac.in:8080/jspui/bitstream/10603/37317/9/09_chapter%203.pdf
  7. "Pterocarpus santalinus Linn. f. (Rath handun): A review of its botany, uses, phytochemistry and pharmacology". Journal of the Korean Society for Applied Biological Chemistry. 54 (4): 495–500. August 2011. doi:10.3839/jksabc.2011.076.
  8. ชยันต์ พิเชียรสุนทร ศุภชัย ติยวรนันท์ และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 6 เภสัชกรรม. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2555.หน้า 292 -293
  9. Red List of Threatened Species: Pterocarpus santalinus, IUCN
  10. Appendices I, II and III, CITES

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]