ข้ามไปเนื้อหา

จัตุรัสเมอร์เดกา (จาการ์ตา)

พิกัด: 6°10′31″S 106°49′38″E / 6.17528°S 106.82722°E / -6.17528; 106.82722
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จัตุรัสเมอร์เดกา (จาการ์ตา)
Medan Merdeka หรือ Lapangan Merdeka
จัตุรัสเมอร์เดกา (จาการ์ตา)ตั้งอยู่ในจาการ์ตา
จัตุรัสเมอร์เดกา (จาการ์ตา)
ตำแหน่งของจัตุรัสเมอร์เดกาในจาการ์ตา
ชื่อเดิมLapangan Ikada
Koningsplein
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปิดใช้งาน
ประเภทจัตุรัสสาธารณะ
เมืองจาการ์ตา, อินโดนีเซีย
พิกัด6°10′31″S 106°49′38″E / 6.17528°S 106.82722°E / -6.17528; 106.82722
เริ่มสร้างค.ศ. 1961–1976
พิธีเปิดค.ศ. 1976
ข้อมูลทางเทคนิค
พื้นที่1 ตารางกิโลเมตร (100 เฮกตาร์)
การออกแบบและการก่อสร้าง
กำหนดให้เป็นอุทิศแด่เอกราชของอินโดนีเซีย
ข้อมูลอื่น
สิ่งอำนวยความสะดวกที่จอดรถ
ที่ตั้งของอนุสาวรีย์แห่งชาติ (อินโดนีเซีย)

จัตุรัสเมอร์เดกา (อินโดนีเซีย: Medan Merdeka , Lapangan Merdeka ) เป็นจัตุรัสขนาดใหญ่ใจกลางกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย[1] จัตุรัสแห่งนี้ครอบคลุมพื้นที่ราว 1 ตารางกิโลเมตร ถือว่าเป็นหนึ่งในจัตุรัสที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง[2] พื้นที่ 75 เฮกตาร์ของจัตุรัสนี้ เปรียบเทียบได้กับ 5 เท่าของจัตุรัสเทียนอันเหมินในปักกิ่ง[3] เมอร์เดกา เป็นคำภาษาอินโดนีเซีย แปลว่า "เสรีภาพ" หรือ "เอกราช"

ตรงกลางของจัตุรัสคืออนุสาวรีย์แห่งชาติ (Monument Nasional)[4] จัตุรัสและทางเดินโดยรอบมักใช้ประกอบพิธีสำคัญ เช่น พิธีสวนสนามของกองทัพอินโดนีเซีย ไปจนถึงการเป็นสถานที่ที่มักมีการชุมนุมประท้วงของประชาชน โดยรอบในปัจจุบันประกอบด้วยน้ำพุดนตรีทางทิศตะวันออก, กรงเลี้ยงกวางบริเวณมุมตะวันออกเฉียงใต้ของจัตุรัส, ทางตอนเหนือเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์ของดีโปเนอโกโร วีรบุรุษของชาติ, ทางทิศตะวันออกเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์ของการ์ตีนี วีรสตรีผู้นำการศึกษาของชาติ และทางตอนใต้เป็นอนุสาวรีย์ชาวอินโดนีเซียช่วยยกธงชาติขึ้นตั้ง[5] ในวันหยุดประชาชนนิยมมาพักผ่อนหย่อนใจและเล่นกีฬาในจัตุรัสนี้[6]

รอบนอกของจัตุรัสเป็นที่ตั้งของอาคารรัฐบาลสำคัญ เช่น พระราชวังเมอร์เดกา,[7] พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอินโดนีเซีย, อาสนวิหารอัสสัมชัญ (จาการ์ตา) ศาลและกระทรวงต่าง ๆ[5] สมัยอาณานิคมหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ จัตุรัสนี้เรียกว่า โกนิงส์ไปลน์ (ดัตช์: Koningsplein, "จัตุรัสของกษัตริย์")[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Kuoni - Far East, A world of difference. Page 93. Published 1999 by Kuoni Travel & JPM Publications
  2. Joshua Eliot; Liz Capaldi; Jane Bickersteth (2001). Indonesia Handbook (3rd ed.). Footprint Travel Guides. p. 85. ISBN 9781900949514. สืบค้นเมื่อ 21 March 2012.
  3. Dovey (2010), p. 164
  4. Jakarta guide เก็บถาวร 2010-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. 5.0 5.1 "The National Monument". Indonesia travel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 May 2015. สืบค้นเมื่อ 28 May 2015.
  6. "Discover Indonesia: DKI Jakarta". Indonesia travel. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 May 2012. สืบค้นเมื่อ 15 July 2012.
  7. A detailed travel guide to Jakarta
  8. "Merdeka Square in Jakarta". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2019-02-04.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]