ค่ายกักกันเมาเทาเซิน-กูเซิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประตูทางเข้าของค่ายกักกันเมาเทาเซิน

ค่ายกักกันเมาเทาเซิน-กูเซิน ประกอบด้วยค่ายกักกันเมาเทาเซินบนหุบเขาเหนือตลาดเมืองของเมาเทาเซิน (ประมาณราว 20 กิโลเมตร(12 ไมล์) ทางด้านตะวันออกของลินซ์ รัฐอัปเปอร์ออสเตรีย) ร่วมกับกลุ่มค่ายขนาดย่อยเกือบ 100 แห่งที่ตั้งอยู่ทั่วออสเตรียและเยอรมนีตอนใต้ ค่ายกักกันกูเซินสามแห่งอยู่บริเวณทั้งในและรอบๆของหมู่บ้านเซ็นต์จอร์เกิน/กูเซิน เพียงไม่กี่กิโลเมตรจากเมาเทาเซิน ถือว่าเป็นสัดส่วนสำคัญของนักโทษภายในค่ายอันซับซ้อนนี้ บางครั้งก็มีจำนวนนักโทษที่เกินในค่ายหลักของเมาเทาเซิน

ค่ายหลักเมาเทาเซินได้ดำเนินการตั้งแต่ช่วงเวลาของอันชลุส เมื่อออสเตรียได้ถูกผนวกรวมเข้ากับนาซีเยอรมนี เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1938 ถึง 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ที่สงครามโลกครั้งที่สองยุติลง เริ่มต้นด้วยค่ายที่เมาเทาเซิน จำนวนค่ายขนาดย่อยได้ขยายตัวเมื่อเวลาได้ผ่านไปและในฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1940 เมาเทาเซินและค่ายขนาดย่อยได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของค่ายแรงงานขนาดใหญ่ที่ซับซ้อนในส่วนของยุโรปที่ถูกควบคุมโดยเยอรมัน เช่นเดียวกับที่ค่ายกักกันนาซีค่ายอื่น ผู้อาศัยที่เมาเทาเซินและค่ายขนาดย่อยได้ถูกบังคับให้ใช้แรงงานทาส ภายใต้เงื่อนไขที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เมาเทาเซินและค่ายขนาดย่อยได้รวมทั้งเหมืองหิน โรงงานผลิตสัมภาระทหาร ทุ่นระเบิด และอาวุธปืน และโรงงานประกอบเครื่องบินขับไล่ เม 262[1][2] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1945 ค่ายนี้มีผู้อาศัยอยู่ประมาณ 85,000 คน[3] จำนวนผู้เสียชีวิตยังไม่ทราบแน่ชัด แม้ว่าแหล่งข้อมูลที่มาส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 122,766 คน และ 320,000 คน สำหรับโครงสร้างอันซับซ้อนนี้ทั้งหมด

เมาเทาเซินเป็นหนึ่งในค่ายกักกันอันซับซ้อนขนาดใหญ่แห่งแรกในนาซีเยอรมนีและที่แห่งสุดท้ายที่ได้รับการปลดปล่อยโดยฝ่ายสัมพันธมิตร สองค่ายขนาดใหญ่ เมาเทาเซินและกูเซินที่ 1 ได้ถูกจัดอยู่ในประเภท"เกรด 3"(สตูเฟอ 3) ของค่ายกักกัน ซึ่งหมายความว่าพวกเขามุ่งหมายที่จะทำให้เป็นค่ายกักกันที่แข็งแกร่งที่มีไว้สำหรับ"ศัตรูทางการเมืองของอาณาจักรไรซ์ที่ไม่สามารถแก้ไขได้"[4] เมาเทาเซินก็ไม่เคยแพ้ถึงการอยู่ในจำแนกประเภทสตูเฟอ 3[4] ในสำนักงานทบวงกลางความมั่นคงไรช์(Reichssicherheitshauptamt; RSHA) ได้ถูกเรียกโดยชื่อเล่นว่า Knochenmühle – เครื่องบดกระดูก(แท้จริงแล้วคือโรงสีกระดูก)[4] ซึ่งแตกต่างจากค่ายกักกันค่ายอีกจำนวนมาก ซึ่งมีไว้สำหรับนักโทษทุกประเภท เมาเทาเซินส่วนมากไว้ใช้สำหรับการกำจัดโดยผ่านทางการใช้แรงานของกลุ่มปัญญาชน ประชาชนผู้มีความรู้ และสมาชิกชนชั้นสูงทางสังคมในประเทศที่ถูกพิชิตโดยระบอบนาซีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[5][6] ปัจจุบัน ค่ายเมาเทาเซินหลักได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์

อ้างอิง[แก้]

  1. Haunschmied, Mills, Witzany-Durda (2008), pp. 172–175.
  2. Walden, p. 1.
  3. Dobosiewicz (1977), pp. 449.
  4. 4.0 4.1 4.2 Pike, p. 14.
  5. Gębik, p. 332.
  6. Dobosiewicz (1977), pp. 5, 401.