คุยกับผู้ใช้:Pramahawichai

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไฟล์:Http://sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash2/hs141.ash2/40366 146716415355936 100000527357058 339632 5057536 n.jpg


ประวัติวัดอาวุธวิกสิตาราม[แก้]

www.wat-awut.net

ประวัติความเป็นมา ไฟล์:Http://library.bsru.ac.th/rLocal/images/oldtemple.jpg

วัดอาวุธวิกสิตาราม ตั้งอยู่เลขที่ ๔๓๖ ถนนจรัญสนิทวงศ์ ซอย ๗๒ (ซอยวัดอาวุธฯ) แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ ๒๘ ไร่ ๓ งานเศษทิศตะวันออกจดแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันตกจด ถนนจรัญสนิทวงศ์ ทิศเหนือจดคลองบางพลัด ทิศใต้จดถนนซอยทางเข้าวัดอาวุธ ฯ (จรัญฯ ๗๒)

ประวัติเบื้องต้นการสร้างวัด ประวัติการก่อตั้งวัดครั้งแรกนั้น ไม่ปรากฏวัน เดือน ปีที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานจากการเล่าสืบต่อกันมาว่า เป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนี่ง สร้างมาแล้วประมาณ ๒๐๐ กว่าปี เริ่มต้นจากได้มีพระและชาวบ้านจำนวนหนึ่งอพยพมาจากกรุงศรีอยุธยาเมื่อครั้งกรุงแตก พ.ศ.๒๓๑๐ ได้มาตั้งรกรากถิ่นฐานที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมา พ.ศ.๒๔๒๒ จึงได้ตั้งเป็นวัดขึ้น สร้างกุฏิเสนาสนะขึ้นหลายหลัง เดิมทีเป็นวัดในสังกัด “มหานิกาย” ด้วยปรารภเหตุที่พระและชาวบ้านได้อพยพพลัดถิ่นมาจากกรุงศรีอยุธยานี้เองจึงได้เรียกสถานที่ตรงนี้ว่า“บางพลัด”ครั้งแรกชาวบ้านเรียกว่า“วัดปากคลองบางพลัด”หรือ“วัดบางพลัดนอก”เพราะตั้งอยู่ตรงปากคลองบางพลัดแม้ในปัจจุบันนี้ชาวบ้านก็ยังนิยมเรียกกันว่าวัดบางพลัดนอกอยู่และนิยมเรียกวัดบางพลัดซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของวัดอาวุธฯว่าวัดบางพลัดใน แปลงเป็นวัดธรรมยุต

ภายหลังเสนาสนะสงฆ์ได้ชำรุดทรุดโทรมลงไปมาก พระภิกษุสามเณรภายในวัดก็มีความประพฤติไม่เหมาะสมหลายประการ


ต่อมา พ.ศ.๒๔๓๘ พระอาจารย์สี ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในขณะนั้น ท่านเป็นพระนักวิปัสสนารูปหนึ่ง มีความเคารพนับถือกับพันเอกพระยาอาวุธภัณฑ์เผด็จ (ท้วม) เจ้ากรมคลังแสงในรัชกาลที่๕ซึ่งท่านมีบ้านอยู่ริมคลองบางพลัดตรงข้ามกับวัดอาวุธวิกสิตารามทางด้านทิศเหนือและท่านเป็นผู้ให้ความอุปถัมภ์วัดนี้มาตลอด พระอาจารย์สีและท่านเจ้ากรมคลังแสงได้ปรึกษากันว่าวัดนี้เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง เสนาสนะได้ชำรุดทรุดโทรมไปมาก สมควรที่จะทำการบูรณปฏิสังขรณ์และเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัดธรรมยุต เพื่อความเหมาะสมแก่เหตุการณ์ในสมัยนั้น เมื่อตกลงกันแล้ว จึงพร้อมกันไปพบท่านพระครูแจ่มที่วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ (ภายหลังท่านมีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระธรรมฐิติญาณ ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์วรวิหาร ธนบุรี) เมื่อหารือกันแล้ว เห็นสมควรให้แปลงเป็นวัดธรรมยุต จึงได้นำพันเอกพระยาอาวุธภัณฑ์เผด็จ (ท้วม) เข้าเฝ้า สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทูลขอแปลงวัดปากคลองบางพลัดเป็นวัด “ธรรมยุต” สมเด็จพระมหาสมณะเจ้าฯ ทรงเห็นชอบด้วย และตรัสสั่งให้พันเอกพระยาอาวุธภัณฑ์เผด็จ เป็นผู้อุปถัมภ์บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรม ท่านได้บริจาคทรัพย์พร้อมด้วยญาติมิตรลงมือซ่อมแซมกุฏิหอสวดมนต์ สร้างศาลาการเปรียญ และได้สร้างอุโบสถขึ้นใหม่แล้วจึงขอพระราชทานวิสุงคามสีมา แปลงเป็นวัดธรรมยุต พร้อมนำความกราบทูลขอพระราชทานนามวัดใหม่ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ซึ่งพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอาวุธวิกสิตาราม” ใน ปี พ.ศ.๒๔๔๑ มีความหมายว่า “วัดพระยาอาวุธฯ และคุณหญิงแย้มฯ” (เป็นผู้บูรณปฏิสังขรณ์) จึงได้ชื่อว่า “วัดอาวุธวิกสิตาราม” ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๓๗)รวมเป็นเวลา๙๖ปี

วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรกเมื่อ วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๔๔๑ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๑๑ เดิมทีที่ของวัดส่วนหนึ่งเป็นที่ตั้งสถานที่ราชการ คืออำเภอบางพลัดเก่า ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งโรงเรียนเทศบาลวัดอาวุธวิกสิตาราม สังกัดกรุงเทพมหานคร

สำดับการปกครองหลังเปลี่ยนเป็นวัดธรรมยุต ในปีที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นวัดธรรมยุต ได้นิมนต์ พระสมุห์เฉย วัดเขมาภิรตาราม มาปกครองเป็นเจ้าอาวาส จนมรณภาพ พระปลัดเรือง ซึ่งเป็นพระลูกวัด วัดอาวุธฯ ก็ได้รับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสปกครองอยู่ประมาณ ๑๕ ปี ก็มรณภาพ ต่อมาวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๓ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้แต่งตั้งให้ พระครูสังรักษ์สงวน โฆสโก (สีตะลายันต์) วัดสัมพันธวงศ์ กทม. เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส และต่อมาท่าน ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม (ภายหลังท่านมีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสิทธิสารโสภณ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๑) เป็นพระราชาคณะองค์แรกของวัดอาวุธฯ ท่านเป็นเจ้าอาวาสปกครอง ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๓ - พ.ศ.๒๕๑๗ เป็นเวลารวม ๓๕ ปี ท่านก็มรณภาพ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒนมหาเถร) วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ตั้งให้พระมหาสุเทพ ฐิโตภาโส ซึ่งเป็นพระลูกวัดรักษาการแทนเจ้าอาวาสอยู่เป็นเวลา ๑ ปีเศษ ก็พ้นจากตำแหน่ง

ปี พ.ศ.๒๕๑๘ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสน์ วาสนมหาเถร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ได้ทรงแต่งตั้งให้ พระอริยคุณาภรณ์ (สุบิน เขมิโย ป.ธ.๙) วัดเครือวัลย์วรวิหาร มาเป็นเจ้าอาวาสปกครองสืบต่อมา เป็นเวลา ๑๑ เดือน ก็ย้ายกลับไปรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์ฯ เนื่องจากเจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์ฯได้มรณภาพลง (ต่อมาท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์ฯและได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชปัญญากวีเลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพสารเวที ในปี ๒๕๓๕)

ต่อมา วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๙ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสนมหาเถร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม จึงได้ทรงประทานแต่งตั้ง พระอมราภิรักขิต (จันทร์ จนฺโท ป.ธ. ๖) วัดเทพศิรินทราวาส อายุ ๖๒ ปี พรรษา ๔๒ มาเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดอาวุธวิกสิตาราม นับตั้งแต่เปลี่ยนเป็นวัดในสังกัด “ธรรมยุต” และเปลี่ยนชื่อเป็นวัดอาวุธวิกสิตาราม ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๔๑-๒๕๓๖ มีเจ้าอาวาสปกครองวัดมาแล้ว ๗ รูป ดังนี้

๑. พระสมุห์เฉย ๒. พระอาจารย์ปิ๋ว ๓. พระปลัดเรือง ๔. พระครูสังฆรักษ์ สงวน โฆสโก (ภายหลังเลื่อนเป็นพระสิทธิสารโสภณ) ๕. พระมหาสุเทพ ฐิโตภาโส ๖. พระอริยคุณาภรณ์ (สุบิน ป.ธ. ๙ พระเทพสารเวที ในปัจจุบัน) ๗. พระอมราภิรักขิต (จันทร์ จนฺโท ป.ธ. ๖)

พระอมราภิรักขิต (จันทร์ จนฺโท) หลังจากได้รับแต่งตั้งให้มาปกครองเป็นเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม ท่านก็ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ตามลำดับ คือ

- ๕ ธันวาคม ๒๕๒๑ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ ชั้นราชที่พระราชมุนี

- ๕ ธันวาคม ๒๕๓๓ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ ชั้นเทพที่พระเทพเมธากร

นับตั้งแต่ท่านได้มาปกครองวัดอาวุธวิกสิตาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ ท่านก็ได้เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่อจากที่ยังค้างอยู่ เช่น พ.ศ.๒๕๑๙ ท่านก็ได้เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่อจากที่ยังค้างอยู่ เช่น พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นประธานกรรมการก่อสร้างศาลาบำเพ็ญกุศล ๑ หลัง พ.ศ.๒๕๒๐ เป็นประธานกรรมการก่อสร้างฌาปนสถาน (เมรุ) ลักษณะทรงไทยประยุกต์ก่ออิฐถือปูน สิ้นค่าก่อสร้างเป็นเงิน ๙๙๐,๐๐๐ บาท ดำเนินการก่อสร้างกำแพงรอบวัด สร้างศาลาการเปรียญกุฏิสงฆ์ปรับพื้นที่บริเวณวัด จัดหาดินทรายมาถมพื้นที่บริเวณวัดเพื่อยกระดับพื้นดินให้สูงขึ้นร่วม ๒ เมตร เพื่อให้พ้นจากสภาพน้ำท่วมขัง ได้ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถใหม่ (ซึ่งได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์โดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฐายี) สมเด็จพระสังฆราช วัดมกุฎกษัตริยาราม สมัยยังดำรงสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์) ที่ยังค้างอยู่จนแล้วเสร็จสิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๑๔,๖๗๔,๔๐๐ บาท สร้างหอสมุดสงฆ์เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ๓ ชั้น ทำป้ายวัด สร้างซุ้มประตูกำแพงแก้วรอบอุโบสถใหม่ สร้างห้องน้ำ ห้องเวจกุฏิ เป็นต้น

ในการสร้างอุโบสถหลังใหม่นี้ ได้รับความร่วมมือจากข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนทุกฝ่ายเป็นอย่างดี พลเอกชวลิต - คุณหญิงพันธุ์เครือ ยงใจยุทธ ได้เป็นสมาชิกในการก่อสร้างอุโบสถจนเสร็จแล้ว ในปี พ.ศ.๒๕๒๗ ท่านได้สร้างศาลาการเปรียญถวายวัด ๑ หลัง ชื่อ “ศาลาอรพิน” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ นางอรพิน นววงศ์ (ยงใจยุทธ) บุตรีที่เสียชีวิตไปแล้ว และได้ให้ความอุปถัมภ์แก่วัดอาวุธวิกสิตารามมาโดยตลอด

ในด้านการพัฒนาวัดอาวุธวิกสิตารามนั้น ทางวัดได้รับความอุปถัมภ์ทรายถมที่ภายในวัดทั้งหมดจาก บริษัท พรหมสุวรรณธุรกิจ จำกัด คุณเล็ก - คุณหญิงสุวรรณี สิงห์สมบุญ (พัวไพโรจน์) พร้อมทั้งให้ความอุปถัมภ์วัดอาวุธวิกสิตารามด้วยดีตลอดมา

เป็นศูนย์กลางเสด็จทรงบำเพ็ญพระกุศลถวายเทียนพรรษา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ แลพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ได้เสด็จทรงบำเพ็ญพระกุศลถวายต้นเทียนพรรษา ณ วัดอาวุธฯ เพื่อประทานเทียนพรรษาแด่วัดต่าง ๆ ในเขตบางพลัดและบางวัดในต่างจังหวัดรวม ๒๐ วัด โดยเสด็จทรงบำเพ็ญพระกุศลถวายต้นเทียนพรรษาที่วัดอาวุธฯนี้เป็นประเพณีทุกปี จัดเป็นศูนย์กลางเพื่อให้วัดในละแวกใกล้เคียงและวัดในต่างจังหวัด (บางวัด) ได้มารับเทียนพรรษาจากพระองค์ท่าน เป็นจุดรวมน้ำใจของเหล่าพสกนิกรทั้งมวลที่จะได้มีโอกาสเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ ด้วยความจงรักภักดีอย่างใกล้ชิด มีคณะแม่บ้านทหารบกเป็นประธานฝ่ายฆราวาส และมีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมทั้งลูกเสือชาวบ้านมาเฝ้ารับเสด็จฯเป็นประจำทุกปี โดยเริ่มเสด็จฯ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๔ เป็นต้นมา จนกระทั่งท่านได้มรณภาพ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2536 รวมเวลาที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ 18 ปี ๘. พระครูคุณสารสาทร วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๓๗ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้ทรงแต่งตั้งให้พระครูคุณสารสาทร (ทองดี ฐิตายุโก) รองเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดอาวุธวิกสิตาราม

๙. พระเทพกวี (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๓๙ พระธรรมโสภณ วัดเทพศิรินทราวาส เจ้าคณะภาค ๑,๒,๓ และ๑๒,๑๓ (ธ) ได้มีคำสั่งเจ้าคณะภาคที่ ๑/๒๕๓๙ แต่งตั้งให้พระเทพกวี (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) อายุ ๖๐ ปี พรรษา ๔๐ ป.ธ.๙ วัดบวรนิเวศวิหาร เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร-สมุทรปราการ (ธ) ดำรงตำแหน่งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม พระอารามหลวง ตั้ง ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๓๙ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ สมเด็จพระญาณสังร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก แต่งตั้งพระครูคุณสารสาทร (ทองดี ฐิตายุโก) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสรูปเดิม เป็นรองเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม พระอารามหลวง

๑๐. พระมงคลธรรมวัฒน์ (ทองดี ฐิตายุโก) ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตารามอีกครั้งเมื่อปี ๒๕๔๒ จนถึงปัจจุบัน ได้รับพระราชทินนนามที่ พระเทพปัญญามุนี

เป็นที่ตั้ง “ฌาปนสถานกองทัพบก” ในปี พ.ศ.๒๕๓๒ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ผบ.ทบ. ได้ขออนุญาตจากทางวัดอาวุธฯ เพื่อขอปรับปรุงฌาปนสถานของวัด เทพื้นสนามบริเวณวัดให้เป็นสนามคอนกรีต ถมที่ให้พ้นจากน้ำท่วมขัง ซ่อมแซมศาลาบำเพ็ญกุศล โดยได้รับความเห็นชอบจากทางวัด อนุมัติให้จัดเป็น “ฌาปนสถานกองทัพบก” ต่อไป เอบริการสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์กองทัพบก หรือข้าราชการทหารที่อยู่ย่านฝั่งธนบุรี ให้ได้รับความสะดวกในการจัดฌาปนกิจศพ ตลอดถึงเพื่อบริการประชาชนทั่วไปให้ได้รับความสะดวกขึ้น ในเรื่องการจัดการฌาปนกิจศพ ความหมายของตราวัดอาวุธวิกสิตาราม

เลข ๕ หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ซึ่งพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเลกล้าฯ พระราชทานนามวัดว่า "วัดอาวุธวิกสิตาราม"

กระบี่ และช่อชัยพฤกษ์ หมายถึง พันเอกพระยาอาวุธภัณฑ์เผด็จ (ท้วม) เจ้ากรมครังแสง ในรัชกาลที่ ๕ ผู้นำในการบูรณปฏสังขรณ์วัด กระบี่ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๒ ประการ คือ แหลม คม ในการศึกษา หมายถึง ปัญหา ช่อชัยพฤกษ์ หมายถึง สามัคคีธรรมของคณะสงฆ์วัดอาวุธวิกสิตาราม

วงรัศมี หมายถึง พระเดชานุภาพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระฆัง หมายถึง กิตติศัพท์ กิตติคุณของวัดที่ขจรขจายไปทุกสารทิศดุจเสียงระฆังที่ก้องกัลวาล

ประวัติพระเทพปัญญามุนี (ทองดี ฐิตายุโก) เจ้าอาวาส เจ้าสำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม[แก้]

คอลัมน์ มงคลข่าวสด

วันที่ 5 ธันวาคม 2552 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์พระเถระฝ่ายธรรมยุต ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นเทพรวม 3 รูป

พระราชปริยัติวิมล วัดอาวุธวิกสิตาราม เป็น 1 ใน 3 พระเถระที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระเทพปัญญามุนี"

"พระเทพปัญญามุนี" เป็นพระเถระชั้นผู้ ใหญ่อีกรูป ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา โดยเฉพาะชาวชุมชนบางพลัด

อาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นพระนักปราชญ์ พระนักเทศน์ และพระนักการศึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลและส่งเสริมกิจการสำนักเรียนพระปริยัติธรรมวัดอาวุธวิกสิตาราม

จนทำให้เป็นสำนักเรียนของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต มีความโดดเด่น มีผู้สอบได้แผนกธรรมและแผนกบาลีติดอันดับต้นๆ ของประเทศไทย

ปัจจุบัน พระเทพปัญญามุนี (ทองดี ฐิตายุโก) สิริอายุ 78 พรรษา 58 (2554)

อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า ทองดี สู่เสน เกิดเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2476 ที่บ้านเลขที่ 9 หมู่ที่ 9 ต.ชีทวน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายแก้วและนางแสน สู่เสน

เมื่อครั้งวัยเยาว์ มีศักดิ์เป็นหลานของพระอาจารย์กัน อดีตเจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีวิไล เป็นเด็กที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ร่าเริง และชอบสนุกสนาน แต่มีจิตใจใฝ่ในธรรม ชอบฟังเทศน์ ชอบไปทำบุญถวายภัตตาหารเช้ากับคุณยายแตงที่วัดเป็นประจำ

เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แล้ว จึงเข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดทุ่งศรีวิไล ต.ชีทวน มีพระครูคัมภีรวุฒาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์

ระหว่างนั้นได้ปฏิบัติกิจอุปัฏฐากรับใช้พระอุปัชฌาย์ และเรียนภาษาขอม จนสามารถอ่านออกเขียนได้

ด้วยความเป็นผู้มีอุปนิสัยใฝ่ในการศึกษาหาความรู้และพัฒนาขัดเกลาตนเอง จึงได้กราบเจ้าอาวาส เพื่อขออนุญาตไปเรียนต่อในเมืองอุบลราชธานี

ได้สังกัดที่วัดสุทัศนาราม สามารถสอบได้นักธรรมชั้นโท และนักธรรมชั้นเอกตามลำดับ

เมื่ออายุได้ 21 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดสุทัศนาราม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี มีพระศรีธรรมวงศาจารย์ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสังวรศีลขันธ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูใบฎีกานิล เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เนื่องจากยังใฝ่ใจการศึกษาอยู่ พ.ศ.2498 ได้กราบเรียนขอคำปรึกษาจากพระครูสังวรศีลขันธ์ ซึ่งท่านแนะนำให้ไปอยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์ กรุง เทพฯ ถวายตัวรับใช้พระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ซึ่งท่านมีเมตตารับไว้

พ.ศ.2503 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก

ต่อมาจึงตัดสินใจย้ายไปจำพรรษาที่วัดสัมประทวน อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม แต่อยู่ได้เพียงไม่นาน ท่านได้ย้ายกลับมาอยู่ที่กรุงเทพฯ ที่วัดอาวุธวิกสิตาราม

ขณะที่อยู่ที่วัดอาวุธวิกสิตารามนี้ เป็นที่รู้จักของประชาชนจำนวนมาก ได้รับภาระในงานสำคัญต่างๆ เป็นอันมาก เช่น เป็นแผนกสงเคราะห์ร่วมกับทางราชการ เป็นพิธีกร ประชา สัมพันธ์ในพิธีกรรมการกุศลต่างๆ เป็นผู้ประ สานงานหลักกับหน่วยงานและบุคคลต่างๆ ในการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ ติดต่อบุคคลในหน่วยราชการ นักการเมือง สำนักพระราชวัง และประชาชนทั่วไป มาทำบุญในวัดอาวุธวิกสิ ตาราม

นอกจากนี้ ยังได้ช่วยเจ้าอาวาสในการพัฒนาวัดอาวุธวิกสิตารามมาโดยลำดับ ต่อมาได้มีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เริ่มต้นจากการดำรงตำแหน่งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมประจำสำนักศึกษาวัดอาวุธวิกสิตาราม และได้รับความไว้วางใจจากเจ้าอาวาสมาโดยตลอด ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางการศึกษา ทั้งภายในวัดอาวุธวิกสิตารามและคณะสงฆ์ส่วนกลาง ดังนี้

พ.ศ.2504 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมประจำสำนักศึกษาวัดอาวุธวิกสิตาราม พ.ศ.2506 เป็นกรรมการตรวจข้อสอบในสำนักศึกษาวัดอาวุธวิกสิตาราม

พ.ศ.2516 เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง พ.ศ.2537 เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม

ในระหว่างปี พ.ศ.2530 เห็นความลำบากของพระภิกษุสามเณรวัดอาวุธวิกสิตาราม ที่ต้องเดินทางไปศึกษาในสำนักเรียนแห่งอื่น เช่น วัดเทพศิรินทราวาส วัดนรนาถสุนทริการาม วัดสามพระยา เป็นต้น จึงมีความดำริร่วมกับเจ้าอาวาส เพื่อจัดตั้งสำนักศึกษา และขอยกฐานะจากสำนักศึกษาเป็นสำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตารามจนประสบความสำเร็จ

ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2520 เป็นรองเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม พ.ศ. 2535 เป็นเจ้าคณะแขวงกัลยาณมิตร ธนบุรี (ธรรมยุต) พ.ศ.2538 เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2541 เป็นกรรมการที่ปรึกษาสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต)

พ.ศ.2542 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2512 เป็นพระปลัด ฐานานุกรมในพระสิทธิสารโสภณ อดีตเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม พ.ศ.2520 เป็นพระครูธรรมศาสนอุโฆษ ฐานานุกรมในพระพรหมมุนี (สนั่น) อดีตเจ้าอาวาสวัดนรนาถ สุนทริการาม

พ.ศ.2523 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นตรี ในราชทินนาม พระครูคุณสารสาทร พ.ศ.2536 ได้รับพระ ราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามเดิม

พ.ศ.2542 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระมงคลธรรมวัฒน์ พ.ศ.2547 ได้รับพระราช ทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชปริยัติวิมล

ล่าสุด วันที่ 5 ธันวาคม 2552 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพปัญญามุนี

ทุกวันนี้ พระเทพปัญญามุนี ยังดำรงวิถีชีวิตส่วนตัวที่เป็นไปอย่างมักน้อยสันโดษ ตั้งแต่เป็นพระลูกวัด มาจนถึงเป็นเจ้าอารามปก ครองวัดอาวุธวิกสิตาราม

ในการบริหารท่านกล้าคิด กล้าทำ เด็ดขาด เด็ดเดี่ยว ทรงไว้ซึ่งสง่าราศีน่าเคารพยำเกรง แต่ในส่วนลึก ท่านเป็นคนอ่อนโยน มีเมตตาปรานี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สอดส่องดูแลความเป็นอยู่ของผู้น้อยอย่างดี จึงเป็นที่เคารพนับถือรักใคร่ของคณะสงฆ์ผู้ใต้ปกครอง

เมษายน 2557[แก้]

สวัสดีและยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียไทย หน้า วัดหนองไก่เถื่อน ที่คุณได้สร้างใหม่นั้นได้ถูกลบไปแล้ว ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าเนื้อหาไม่เป็นสารานุกรม ไม่เหมาะสม ไม่มีสาระ มีเพียงแค่ลิงก์ หรือมีเพียงชื่อบทความเท่านั้น ในกรณีที่คุณต้องการเพียงให้มีบทความดังกล่าวในวิกิพีเดีย คุณสามารถแจ้งได้ที่รายชื่อบทความที่ต้องการ อย่างไรก็ตามการแก้ไขในวิกิพีเดียรวมถึงการสร้างบทความใหม่มาจากอาสาสมัครเท่านั้น ดังนั้นวิธีที่ดีและรวดเร็วที่สุดคือการเข้าร่วมช่วยพัฒนาวิกิพีเดียเอง เช่นการสร้างบทความที่เป็นสารานุกรม มีคุณภาพ และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์เป็นต้น คุณควรศึกษาหน้าเริ่มต้นหากต้องการเรียนรู้การร่วมพัฒนาวิกิพีเดีย หากคุณพบว่านี่เป็นการเข้าใจผิด กรุณาแจ้งที่หน้านี้ --JBot | แจ้งผู้ดูแล - 11:57, 24 เมษายน 2557 (ICT)

เนื่องจากการแก้ไขล่าสุดในหน้า วัดหนองไก่เถื่อน (การแก้ไข) อาจถือว่าเป็นการทดลองเขียน ก่อกวน หรือสแปม รวมถึงการก่อกวนก่อนหน้านี้ทำให้คุณได้ถูกบล็อกจากการแก้ไขชั่วคราว อย่างไรก็ตาม เรายังยินดีต้อนรับการช่วยพัฒนาวิกิพีเดียไทยในทางที่สร้างสรรค์เสมอ หลังจากที่การบล็อกหมดเวลาแล้ว --JBot | แจ้งผู้ดูแล - 12:00, 24 เมษายน 2557 (ICT)