ข้ามไปเนื้อหา

คีธ แฮริง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คีธ แฮริง
แฮริงในปีค.ศ. 1988
เกิดคีธ อัลเลน แฮริง
4 พฤษภาคม ค.ศ. 1958(1958-05-04)
รีดดิง , รัฐเพนซิลเวเนีย, สหรัฐ
เสียชีวิตกุมภาพันธ์ 16, 1990(1990-02-16) (31 ปี)
นครนิวยอร์ก, สหรัฐ
สาเหตุเสียชีวิตภาวะแทรกซ้อนจากโรคเอดส์
การศึกษา
  • ดิไอวีสคูลออฟวิชวลอาร์ตส์
  • สคูลออฟวิชวลอาร์ตส์นครนิวยอร์ก
ผลงานเด่น
  • คีธ แฮริง มูรัล (1984)
  • แครกอิสแวก (1986)
  • ทาวเวอร์ (1987)
  • โตโดส ฆุนโตส โปเดโมส ปาราร์ เอล ซิดา (1989)
  • ตุตโตมอนโด (1989)
ขบวนการ
เว็บไซต์www.haring.com แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
ลายมือชื่อ
ตุตโตมอนโด (1989) ณ ผนังกำแพงบริเวณโบสถ์ซานอันโตนีโออาบาเต ในเมืองปิซา, ประเทศอิตาลี

คีธ อัลเลน แฮริง (อังกฤษ: Keith Allen Haring; 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1958 – 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990) เป็นศิลปินชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นงานศิลปะประชานิยมที่เกิดจากกลุ่มวัฒนธรรมย่อยรอยขูดขีดเขียนในนครนิวยอร์กช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980[1] รูปภาพแอนิเมชันของเขา "กลายเป็นภาษาภาพที่ได้การยอมรับอย่างกว้างขวาง"[2] ผลงานส่วนใหญ่ของเขามีทั้งการพาดพิงถึงเรื่องเพศซึ่งนำไปสู่การเคลื่อนไหวของสังคมในการใช้รูปภาพสนับสนุนเรื่องการร่วมเพศอย่างปลอดภัย และการรับรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์[3] นอกจากนี้ผลงานของเขายังได้ถูกจัดแสดงในงานนิทรรศการศิลปะมากมาย ซึ่งเขาได้มีส่วนร่วมในการแสดงผลงานทั้งในระดับประเทศ และในระดับนานาชาติ อาทิ ดอคูเมนทา ในคัสเซิล, งานนิทรรศการศิลปะวิตนีย์ ในนครนิวยอร์ก, งานนิทรรศการศิลปะเซาเปาลู และงานนิทรรศการศิลปะเวนิส โดยพิพิธภัณฑ์วิตนีย์ได้จัดแสดงนิทรรศการศิลปะของผลงานแฮริงอีกครั้งในปี ค.ศ. 1997

ความนิยมของแฮริงได้พัฒนาขึ้นจากการที่เขาได้ไปวาดภาพในรถไฟใต้ดินนครนิวยอร์กโดยใช้ชอล์กวาดร่างทั้งในรูปแบบของรูปทรงที่หลากหลาย, รูปสุนัข และรูปภาพแบบสมัยใหม่บนพื้นที่สีดำที่วางเปล่า[4] หลังจากที่เขาเริ่มได้รับการยอมรับจากสาธารณชนมากขึ้น แฮริงก็ได้เริ่มสร้างสรรค์ผลงานสีสันขนาดใหญ่บนกำแพงเป็นจำนวนมาก[4] เขาได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะในที่สาธารณะมากกว่า 50 ชิ้นในช่วงปีค.ศ. 1982 ถึง 1989 ผลงานหลายชิ้นที่เขาสร้างขึ้นได้ถูกบริจาคไปให้กับโรงพยาบาล, ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก และโรงเรียน ในปีค.ศ.1986 แฮริงได้ทำการเปิดกิจการป็อปช็อปเพื่อเป็นการขยายผลงานของเขา ซึ่งผลงานในช่วงหลังของเขามักจะสื่อถึงประเด็นทางการเมือง และสังคมเป็นส่วนใหญ่ ทั้งในประเด็นการต่อต้านโคเคน, ประเด็นการต่อต้านการถือผิว, การร่วมเพศอย่างปลอดภัย, รักร่วมเพศ และโรคเอดส์ ซึ่งผ่านการยึดถือของเขาเอง[5]

ด้านชีวิตส่วนตัวแฮริงได้ออกมาเปิดเผยว่าเขาเป็นเกย์[6] แฮริงได้เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990[7][8] ในปีค.ศ. 2014 ชื่อของเขาได้ถูกจารึกลงในถนนเกียรติยศสายรุ้ง ณ ซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็นถนนที่รวบรวมรายชื่อของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่มีส่วนสำคัญในสายอาชีพของตนเอง[9][10][11] ในปีค.ศ. 2019 เขาได้รับการจารึกชื่อให้เป็น 1 ใน 50 ของชาวอเมริกันที่เป็น "ผู้ริเริ่ม, ผู้บุกเบิก และวีรบุรุษ" บนกำแพงเกียรติยศแอลจีบีทีคิวแห่งชาติซึ่งอยู่ภายในอนุสาวรีย์แห่งชาติสโตนวอลล์ ณ สโตนวอลล์อินน์, นครนิวยอร์ก[12][13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Blinderman 1990, p. 1-12.
  2. Haggerty, George (November 5, 2013). Encyclopedia of Gay Histories and Cultures. Taylor & Francis. pp. 425–. ISBN 978-1-135-58513-6. สืบค้นเมื่อ September 7, 2014.
  3. Blinderman 1990, p. 16-17.
  4. 4.0 4.1 Holmes, Julia (October 1, 2002). 100 New Yorkers: A Guide To Illustrious Lives & Locations. Little Bookroom. pp. 98–99. ISBN 978-1-892145-31-4. สืบค้นเมื่อ September 7, 2014.
  5. Hamilton, Denise (December 1, 1989). "Artist With AIDS Races the Clock to Spread His Message: Art: The painter, who started his career by scrawling graffiti on subway cars, was at Art Center to paint a mural for 'A Day Without Art.'". Los Angeles Times.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. Steele, Tom (May 2005). "Keith Haring". Out: 46.
  7. Young, Michelle (September 17, 2020). "See Inside Keith Haring's Last Apartment in NYC". Untapped New York (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ May 5, 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. Yarrow, Andrew L. (February 17, 1990). "Keith Haring, artist, Dies at 31; Career Began in Subway Graffiti". The New York Times. สืบค้นเมื่อ May 25, 2010.
  9. Shelter, Scott (March 14, 2016). "The Rainbow Honor Walk: San Francisco's LGBT Walk of Fame". Quirky Travel Guy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ July 28, 2019.
  10. "Castro's Rainbow Honor Walk Dedicated Today". SFist. September 2, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 10, 2019. สืบค้นเมื่อ August 13, 2019.
  11. Carnivele, Gary (July 2, 2016). "Second LGBT Honorees Selected for San Francisco's Rainbow Honor Walk". We The People. สืบค้นเมื่อ August 12, 2019.
  12. Glasses-Baker, Becca (June 27, 2019). "National LGBTQ Wall of Honor unveiled at Stonewall Inn". www.metro.us. สืบค้นเมื่อ June 28, 2019.
  13. Rawles, Timothy (June 19, 2019). "National LGBTQ Wall of Honor to be unveiled at historic Stonewall Inn". San Diego Gay and Lesbian News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ June 21, 2019.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Blinderman, Barry (1990). Keith Haring: Future Primeval. University Galleries, Illinois State University. ISBN 978-1-55859-378-7.
  • Gruen, John (1991). Keith Haring: The Authorized Biography. Simon & Schuster. ISBN 978-0-671-78150-7.

หนังสือเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]