คิริสมาส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกาะคิริสมาส
(เกาะคริสต์มาส)
ภาพถ่ายจากสถานีอวกาศนานาชาติ
แผนที่หมู่เกาะไลน์
คิริสมาสตั้งอยู่ในคิริบาส
คิริสมาส
คิริสมาส
คิริสมาสตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก
คิริสมาส
คิริสมาส
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ
พิกัด01°51′00″N 157°24′00″W / 1.85000°N 157.40000°W / 1.85000; -157.40000พิกัดภูมิศาสตร์: 01°51′00″N 157°24′00″W / 1.85000°N 157.40000°W / 1.85000; -157.40000
กลุ่มเกาะหมู่เกาะไลน์
พื้นที่388.39 ตารางกิโลเมตร (149.96 ตารางไมล์)
ระดับสูงสุด13 ม. (43 ฟุต)
จุดสูงสุดJoe's Hill
การปกครอง
สภาเกาะคิริสมาส
ที่อยู่อาศัยใหญ่สุดตับวาเกอา (pop. 3,547)
ประชากรศาสตร์
ประชากร7,380 (สำมะโน 2020)
ความหนาแน่น16.6/กม.2 (43/ตารางไมล์)
ภาษากิลเบิร์ต
กลุ่มชาติพันธุ์I-Kiribati
ข้อมูลอื่น ๆ
เขตเวลา

เกาะคิริสมาส (อังกฤษ: Kiritimati) หรือ เกาะคริสต์มาส (อังกฤษ: Christmas Island) เป็นเกาะในประเทศคิริบาส ซึ่งเป็นเกาะหนึ่งในหมู่เกาะไลน์ ตั้งอยู่ตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก เกาะคิริสมาสเป็นอะทอลล์ที่ใหญ่ที่สุดตามขนาดพื้นดินที่ประมาณ 388 ตารางกิโลเมตร (150 ตารางไมล์)[1] โดยมีลากูนที่มีขนาดเกือบเท่ากัน อะทอลล์นี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 150 กิโลเมตร (93 ไมล์) ในขณะที่ชายฝั่งลากูนขยายไปถึง 48 กิโลเมตร (30 ไมล์)[2] คิริสมาสประกอบไปด้วยพื้นดินของประเทศคิริบาสมากกว่า 70% โดยประเทศนี้เป็นประเทศที่มีอะทอลล์และเกาะในนี้รวม 33 แห่ง[3]

เกาะตั้งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 232 กิโลเมตร อยู่ห่างจากซิดนีย์ 6,700 กม. (4,200 ไมล์) และอยู่ห่างจากซานฟรานซิสโก 5,360 กม. (3,330 ไมล์) บนเส้นเวลา UTC+14 เป็นสถานที่ที่มีคนอยู่อาศัยแห่งแรกที่ขึ้นปีใหม่ที่แรกของโลก

กัปตันเจมส์ คุก นักเดินเรือและนักสำรวจชาวอังกฤษเป็นผู้ค้นพบเกาะนี้เมื่อ ค.ศ. 1777 ต่อมาผนวกเข้ากับอาณานิคมหมู่เกาะกิลเบิร์ตและเอลลิซเมื่อ ค.ศ. 1919 และกลายเป็นส่วนหนึ่งของคิริบาตีซึ่งได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1979

อ้างอิง[แก้]

  1. Scott, Derek A., บ.ก. (1993). "Teeb'aki, Republic of Kiribati" (PDF). A Directory of Wetlands in Oceania (Report). [i] Slimbridge, UK; [ii] Kuala Lumpur, Malaysia: [i] International Waterfowl and Wetlands Research Bureau; [ii] Asian Wetland Bureau. pp. 199–228. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 30 August 2018.
  2. Streets, Thomas H. (1877). "Some Account of the Natural History of the Fanning Group of Islands". American Naturalist. 11 (2): 65–72. doi:10.1086/271824. JSTOR 2448050.
  3. "20. Kiritimati" (PDF). Office of Te Beretitenti - Republic of Kiribati Island Report Series. 2012. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2016. สืบค้นเมื่อ 28 April 2015.