คาบสมุทรชิเรโตโกะ
คาบสมุทรชิเรโตโกะ (ญี่ปุ่น: 知床半島; โรมาจิ: shiretokohantō; ทับศัพท์: ชิเรโตโกะฮันโต) อยู่ที่ด้านตะวันออกสุดของเกาะฮกไกโด ญี่ปุ่น ยื่นออกไปในทะเลโอค็อตสค์ มีช่องแคบเนมูโระกั้นระหว่างคาบสมุทรกับเกาะคูนาชีร์ของรัสเซีย ชื่อชิเรโตโกะมีที่มาจากคำในภาษาไอนุคำว่า sir etok หมายถึง "จุดสุดขอบแผ่นดิน" หรือ "จุดที่แผ่นดินยื่นออกไป" บนคาบสมุทรเป็นที่ตั้งของเมืองราอูซุและชาริ
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ในการประชุมคณะกรรมมรดกโลกที่จัดขึ้นที่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ คณะกรรมการได้ประกาศให้คาบสมุทรชิเรโตโกะเป็นมรดกโลก ภายใต้ชื่อ ชิเรโตโกะ และได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการในวันที่ 17 กรกฎาคม ด้วยลักษณะพิเศษของคาบสมุทรแห่งนี้ที่เป็นจุดที่อยู่ทิศใต้สุดในซีกโลกเหนือที่ทะเลจะจับตัวเป็นน้ำแข็งได้โดยปกติ[1]
ภูมิศาสตร์
[แก้]บนคาบสมุทรมีกลุ่มภูเขาไฟเรียงตัวตลอดแนวตั้งแต่แหลมชิเรโตโกะที่ปลายสุดของคาบสมุทร ตัวอย่างเช่น ภูเขาชิเรโตโกะ ภูเขาอูนาเบ็ตสึ และภูเขาอิโอ เขตภูเขาไฟนี้มีอนเซ็งอยู่มากมาย อย่างเช่น เซเซกิอนเซ็ง และอิวาโอเบ็ตสึอนเซ็ง เป็นต้น ความหลากหลายของอนเซ็งทำให้คาบสมุทรแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง
พรรณพืชและสัตว์ประจำถิ่น
[แก้]คาบสมุทรชิเรโตโกะเป็นถิ่นของพืชพวกสนและพืชใบกว้างหลายชนิด อย่างเช่น Quercus mongolica สัตว์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ได้แก่ Red Foxes, Amur brown bears, Sika Deer ที่พบได้มากคือ Sea eagle และตามชายฝั่งจะมีแมวน้ำและ cetaceans
Conservation efforts
[แก้]ใน พ.ศ. 2507 (1964) พื้นที่ส่วนใหญ่ของคาบสมุทรได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติชิเรโตโกะ เพื่ออนุรักษ์สัตว์ป่าและความงดงามของธรรมชาติอันบริสุทธิ์ในคาบสมุทร นับแต่นั้นบริเวณอุทยานจะมีกฎที่เข้มงวดเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ และไม่อนุญาตให้เข้าภายในอุทยาน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Shiretoko Peninsula". NASA Earth Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-08. สืบค้นเมื่อ 2008-07-09.