คันธหัตถี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คันธหัตถี เป็นสัตว์หิมพานต์ตระกูลช้าง ลักษณะภายนอกช้างตระกูลคันธหัตถี เป็นช้างที่มีร่างสูงใหญ่ ผิวตัวดังไม้กฤษณา กลิ่นตัวและมูตรคูตหอมหวนชื่นใจ [1] คันธหัตถี เรียกได้ว่าเป็นประติมากรรม “ คชสาร หรือ ช้าง ” อีกองค์ประกอบหนึ่งที่ประดับอยู่บริเวณสระอโนดาตทางทิศเหนือของพระเมรุมาศ [2]ซึ่งประติมากรรมของสัตว์หิมพานต์ถูกสร้างขึ้นมาพื่อประดับตกแต่งพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ความหมายของชื่อ[แก้]

คันธหัตถี น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี ๒. คังไคยหัตถี ๓. ปัณฑรหัตถี ๔. ตามพหัตถี ๕. ปิงคลหัตถี ๖. คันธหัตถี ๗. มงคลหัตถี ๘. เหมหัตถี ๙. อุโบสถหัตถี ๑๐. ฉัททันต์หัตถี [3] ซึ่งเป็นช้าง ที่พระพรหมได้สร้างขึ้น ช้างตระกูลพรหมพงศ์ เป็นชาติพราหมณ์ มี ๑๐ หมู่ [4]

==ลักษณะพิเศษ== คันธหัตถี ช้างตระกูลคันธหัตถีนี้ว่ามีกำลังมากเหมือนกัน แต่ยังน้อยกว่าช้างมงคลหัตถี


อัลบั้มภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://phramerumas.finearts.go.th/DataPdf/index.php?itemID=65/[ลิงก์เสีย] ตระกูลช้าง]
  2. ช้างมงคล 10 ตระกูล
  3. ฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.๒๕๕๔
  4. "เอกสารประกอบ:พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยามร.ศ.110". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-24. สืบค้นเมื่อ 2018-06-09.