กาฬาวกหัตถี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กาฬาวกหัตถี หรือ กาลวกหัตถี เป็นสัตว์หิมพานต์ตระกูลช้าง ลักษณะภายนอกเป็นช้างที่มีกายสีดำเหมือนสีปีกกา สีตาและสีเล็บเหมือนสีตัว[1] กาฬาวกหัตถี เป็นประติมากรรม “คชสาร” หรือ “ช้าง” อีกองค์ประกอบหนึ่งที่ตั้งอยู่บริเวณสระอโนดาตทางทิศเหนือของพระเมรุมาศ[2] ซึ่งประติมากรรมของสัตว์หิมพานต์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อประดับตกแต่งในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ความหมายของชื่อ[แก้]

กาฬาวกหัตถี [-วะกะ-] คือช้างที่พระพรหมสร้างขึ้น เป็นช้างตระกูลพรหมพงศ์ ชาติพราหมณ์[3] ซึ่งพรหมพงศ์ประกอบด้วย 10 ตระกูล ได้แก่ กาฬาวกหัตถี, คังไคยหัตถี, ปัณฑรหัตถี, ตามพหัตถี, ปิงคลหัตถี, คันธหัตถี, มงคลหัตถี, เหมหัตถี, อุโบสถหัตถี และฉัททันตหัตถี[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ตระกูลช้าง". ฐานข้อมูลพระเมรุมาศ และเครื่องประกอบพระเมรุมาศ. กรมศิลปากร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-01. สืบค้นเมื่อ 2022-10-20.
  2. รัชษนนท์ เนาว์สุวรรณ (21 มิถุนายน 2017). "ช้างมงคล 10 ตระกูล". กรุงเทพธุรกิจ.
  3. "เอกสารประกอบ: พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม ร.ศ. 110". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 สิงหาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2018.
  4. "พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔". สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.