ข้ามไปเนื้อหา

ความไม่ลงรอยกันทางประชาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในสาขาจิตวิทยา ความไม่ลงรอยกันทางประชาน (อังกฤษ: cognitive dissonance) เป็นความตึงเครียดทางจิตใจ (mental stress) หรือความไม่สบายใจของบุคคลเมื่อประสบกับเหตุการณ์ หรือได้รับข้อมูลใหม่ที่ขัดแย้งกับความเชื่อ แนวคิด หรือค่านิยมที่มีอยู่เดิมของตน ซึ่งตามทฤษฎีความขัดแย้งทางความคิด ผู้ที่เกิดความขัดแย้งทางจิตใจเช่นนี้จะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อเปลี่ยนให้มีความสอดคล้องกันเพื่อลดความตึงเครียดของตนลง [1][2]

ทฤษฎีความขัดแย้งทางความคิดที่คิดค้นโดย ศ.ดร.ลีออน เฟสติงเกอร์ นี้ พุ่งความสนใจไปที่ความพยายามของมนุษย์ เพื่อให้มีความกลมกลืนกันทางใจ ดังนั้น บุคคลที่ประสบกับความไม่กลมกลืนกัน คือ ความไม่ลงรอยกันทางประชาน มักจะรู้สึกไม่สบายใจ และเกิดแรงจูงใจที่จะลดระดับความไม่ลงรอยกัน และหลีกเลี่ยงทั้งสถานการณ์และข้อมูลที่จะเพิ่มความไม่ลงรอยกันนั้น[1]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Festinger, L (1957). A Theory of Cognitive Dissonance. California: Stanford University Press.
  2. Festinger, L. (1962). "Cognitive dissonance". Scientific American. 207 (4): 93–107. doi:10.1038/scientificamerican1062-93.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
Videos