คลองสวนพลู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คลองสวนพลู หรือ คลองไผ่ลิง เป็นคลองหนึ่งในเขตเทศบาลเมืองอโยธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นคลองที่อยู่นอกเกาะเมือง ในอดีตถือเป็นชุมชนชาวจีนขนาดใหญ่มาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา และเคยมีชื่อเสียงจากการเป็นแหล่งผลิตขนมไทยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ประวัติ[แก้]

คลองสวนพลู หรือ คลองไผ่ลิง คือแม่น้ำป่าสักสายเก่าที่ปัจจุบันได้แปรสภาพเป็นคลองระยะสั้นต่อจากคลองหันตรา ที่ไหลลงแม่น้ำป่าสักบริเวณหน้าวัดเกาะแก้ว ในอดีตบริเวณดังกล่าวเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวจีนมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาตอนต้น ที่ส่วนใหญ่จะเป็นจีนแต้จิ๋วที่ส่วนใหญ่เป็นไพร่และชาวนา[1] ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงมีเชื้อสายจีนแต้จิ๋วและเสด็จพระราชสมภพ ณ ย่านวัดเกาะแก้วริมคลองสวนพลูนี้เอง[1][2] แต่ในช่วงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองอันเป็นช่วงเวลาแห่งความโกลาหล พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ ระบุว่าในปี พ.ศ. 2309 ค่ายจีนคลองสวนพลู 400 คนเศษที่ต่อสู้กับพม่านั้นได้ทำลายมณฑปของพระพุทธบาทที่สระบุรีแล้วนำของมีค่าติดไปเสียด้วย[3]

ช่วงทศวรรษ 2500-2520 คลองสวนพลูเป็นแหล่งทำขนมไทย บ้านแต่ละหลังจะมีเพิงทำขนมไทยอยู่ริมตลิ่ง แล้วจะมีพ่อค้าเรือเร่รับไปขายตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา แต่ปัจจุบันเหลืออยู่ไม่กี่หลังที่ยังทำขนมไทยดั้งเดิมขายอยู่[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 กำพล จำปาพันธ์ (9 เมษายน 2557). "เคารพและเข้าใจประวัติศาสตร์อโยธยา-อยุธยา หยุดรื้อสุสานจีนที่วัดพนัญเชิง". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 กำพล จำปาพันธ์. อยุธยา จากสังคมเมืองท่านานาชาติ สู่มรดกโลก. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, 2559. หน้า 30
  3. สุจิตต์ วงษ์เทศ (28 มีนาคม 2560). "พม่าอังวะไม่ได้เผาทำลายอยุธยาทั้งหมด อยุธยาเป็นซากด้วยฝีมือคนพื้นเมืองและไทยจีน". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)