ตัวคูณร่วมน้อย
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ในวิชาคณิตศาสตร์ เลขคณิต และทฤษฎีจำนวน ตัวคูณร่วมน้อย หรือ ค.ร.น. หมายถึงจำนวนจริงที่น้อยที่สุด ที่จำนวนจริงอื่น ๆ ที่มีค่าน้อยกว่า ตั้งแต่ 2 จำนวนขึ้นไปสามารถคูณจำนวนใด ๆ แล้วได้ผลลัพธ์ตรงกับ ค.ร.น. หรือตามบทนิยามจะได้ว่าจำนวนเต็มสองจำนวน a และ b เขียนด้วยสัญลักษณ์ LCM(a, b) เป็นจำนวนเต็มบวกที่น้อยที่สุดที่หารด้วย a และ b ลงตัว[1] เนื่องจากไม่นิยามการหารด้วยศูนย์ นิยามนี้จึงหมายถึงกรณีที่ a และ b ไม่ใช่ 0 เท่านั้น.[2] อย่างไรก็ตาม นักเขียนบางคนนิยาม LCM(a,0) เป็น a ใด ๆ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของการคูณร่วมน้อยเป็นซูพรีมัมหรือขอบบนน้อยสุดในแลตทิซของการหาร
ค.ร.น. เป็นที่คุ้นเคยในวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษา โดยต้องกำหนดก่อนบวก ลบ หรือเปรียบเทียบเศษส่วน ค.ร.น. ของจำนวนเต็มมากกว่าสองจำนวนก็มีนิยามว่า คือจำนวนเต็มบวกที่น้อยที่สุดที่หารด้วยแต่ละจำนวนลงตัว
ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)
[แก้]ตัวคูณร่วมน้อยของจำนวนใดๆ ตั้งแต่ 2 จำนวนขึ้นไป หมายถึง จำนวนที่น้อยที่สุดที่จำนวนเหล่านั้นมาหารได้ลงตัว หรือจำนวนที่น้อยที่สุดที่มีจำนวนเหล่านั้นเป็นตัวประกอบ
วิธีการหา ค.ร.น.
[แก้]- 1.โดยการแยกตัวประกอบ มีวิธีการดังนี้
- แยกตัวประกอบของจำนวนทุกจำนวนที่ต้องการหา ค.ร.น.
- เลือกตัวประกอบตัวที่ซ้ำกันมาเพียงตัวเดียว
- เลือกตัวประกอบตัวที่ไม่ซ้ำกันมาทุกตัว
- นำจำนวนที่เลือกมาจากข้อ 2 และ 3 มาคูณกันทั้งหมด เป็นค่าของ ค.ร.น.
- ตัวอย่าง จงหา ค.ร.น. ของ 10, 24 และ 30
- วิธีทำ
- 10 = 2 x 5
- 24 = 2 x 3 x 2 x 2
- 30 = 2 x 3 x 5
- ค.ร.น. = 5 x 2 x 3 x 2 x 2 = 120
- 2. การหารสั้น มีวิธีการดังนี้
- นำจำนวนทั้งหมดที่ต้องการหา ค.ร.น. มาตั้งเรียงกัน
- หาจำนวนเฉพาะที่สามารถหารจำนวนทั้งหมดได้ลงตัว หรือหารลงตัวอย่างน้อย 2 จำนวน จำนวนใดหารไม่ได้ให้ดึงลงมา
- ให้ทำซ้ำข้อ 2 จนกว่าจะหารอีกไม่ได้
- นำตัวหารทั้งหมดและผลลัพธ์สุดท้ายมาคูณกัน ผลคูณคือค่าของ ค.ร.น.
- ตัวอย่าง จงหา ค.ร.น. ของ 10, 24 และ 30
- วิธีทำ
- 2) 10 24 30
- 5) 5 12 15
- 3) 1 12 3
- 1 4 1
- ค.ร.น. = 2 x 5 x 3 x 1 x 4 x 1 = 120
ประโยชน์ของ ค.ร.น.
[แก้]- ใช้ในการหาผลบวกและผลลบของเศษส่วน โดยทำตัวส่วนให้เท่ากัน
- ใช้ในการคำนวณงานบางอย่างที่ใช้เวลาต่างกัน และหาเวลาที่จะทำพร้อมกันในครั้งต่อไป
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Hardy & Wright, § 5.1, p. 48
- ↑ Long (1972, p. 39)