ข้ามไปเนื้อหา

ชาวญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คนญี่ปุ่น)
ชาวญี่ปุ่น
ประชากรทั้งหมด
ป. 129 ล้านคน
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 ญี่ปุ่น 125 ล้านคน[1]
ชาวญี่ปุ่นพลัดถื่นโดยหลักอาศัยใน:[2]
 บราซิล2,000,000[3]
 สหรัฐ1,469,637[4]
 จีน140,134[5]note
 ฟิลิปปินส์120,000[6][7]
 แคนาดา109,740[8]
 เปรู103,949[9]
 ออสเตรเลีย89,133[10] (2015)
 เม็กซิโก76,000[11]
 ไทย82,574[12] (2021)
 สหราชอาณาจักร66,000[13] (2019)
 อาร์เจนตินา65,000[14][15]
 เยอรมนี44,770[16] (2019)
 ฝรั่งเศส40,500[17] (2019)
 สิงคโปร์36,963[18] (2015)
 เกาหลีใต้36,708[10]note (2014)
 ฮ่องกง27,429[5] (2015)
 มาเลเซีย22,000[19] (2014)
 ไต้หวัน20,373[10]
 ไมโครนีเซีย20,000[20]
 นิวซีแลนด์17,991[10]note (2015)
 อินโดนีเซีย16,296[10] (2013)
 โบลิเวีย14,000[21]
 เวียดนาม13,547[22] (2014)
 อิตาลี13,299[10]note (2015)
 สวิตเซอร์แลนด์10,166[10]note (2014)
 อินเดีย8,655[23] (2015)
 สเปน8,080[10]note (2015)
ธงของนิวแคลิโดเนีย นิวแคลิโดเนีย8,000[24]
 เนเธอร์แลนด์7,550[10] (2015)
 ปารากวัย7,000[25]
 เบลเยียม6,232[10] (2015)
 หมู่เกาะมาร์แชลล์6,000[26]
 ปาเลา5,000[27]
 มาเก๊า4,200[28]
 อุรุกวัย3,456[29]
 รัสเซีย2,137[30]
 กรีซ1,100[31]
 ไอร์แลนด์1,000[ต้องการอ้างอิง]
 โปรตุเกส1,000[ต้องการอ้างอิง]
 เดนมาร์ก1,000[ต้องการอ้างอิง]
 ฟินแลนด์1,000[ต้องการอ้างอิง]
 โรมาเนีย337 (2019)[32] note
ภาษา
ญี่ปุ่น
ศาสนา
ส่วนใหญ่ไม่นับถือศาสนา
ตามธรรมเนียมคือชินโต, พุทธนิกายมหายานและลัทธิชินโต,
ส่วนน้อยนับถือคริสต์, ศาสนาใหม่ของญี่ปุ่น และศาสนาอื่น ๆ[33]
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ชาวไอนุ · ชาวรีวกีว

^ หมายเหตุ: สำหรับประเทศนี้ นับเฉพาะบุคคลสัญชาติญี่ปุ่นที่อาศัยในประเทศถาวร แต่ไม่นับรวมผู้ที่มีเชื้อสายญี่ปุ่น และจำนวนบุคคลที่มีเชื้อสายญี่ปุ่นนั้นไม่เป็นที่ทราบ

ชาวญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本人โรมาจิNihon-jin) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะญี่ปุ่นและประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน[34][35][36][37] ซึ่งเป็นประชากรร้อยละ 98.1 ของประเทศ[38] ส่วนทั่วโลกมีผู้มีเชื้อสายญี่ปุ่นประมาณ 129 ล้านคน ในจำนวนนี้ ประมาณ 125 ล้านคนเป็นพลเมืองญี่ปุ่น[1] ผู้ที่มีเชื้อสายญี่ปุ่นอาศัยนอกประเทศญี่ปุ่นถูกเรียกเป็น นิกเกจิง (日系人?) (ชาวญี่ปุ่นพลัดถิ่น) คำว่า เชื้อชาติญี่ปุ่น ใช้เรียกชาวญี่ปุ่นแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะยามาโตะ[39] ชาวญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก

ในบางบริบท "ชาวญี่ปุ่น" อาจใช้เพื่ออ้างถึง ชาวยามาโตะจากญี่ปุ่นแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะในบริบทอื่นๆ อาจรวมถึงกลุ่มอื่นๆที่มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะญี่ปุ่นรวมถึงชาวริวกิวซึ่งมีความสัมพันธ์กับตระกูลยามาโตะ แต่ก็มักถูกมองว่าแตกต่างและชาวไอนุ[39]

ประวัติ

[แก้]

ทฤษฎีเกี่ยวกับต้นกำเนิดชาวญี่ปุ่น

[แก้]
ชาโคกิโดกุ (遮光器土偶) (1,000–400 ปีก่อนคริสตกาล) รูปปั้นอารยธรรมยามาโตะ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโตเกียว
เกาะญี่ปุ่นเกิดขึ้นตามตำนานอิซะนะงิและอิซะนะมิ

หลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่าผู้คนในยุคหินอาศัยอยู่ในหมู่เกาะญี่ปุ่นในยุคหินเก่าเมื่อ 39,000 ถึง 21,000 ปีก่อน[40][41] ต่อมาญี่ปุ่นได้เชื่อมต่อกับแผ่นดินใหญ่เอเชีย ด้วยสะพานบกอย่างน้อยหนึ่งแห่ง และชาวนักล่าสัตว์และรวบรวมอาหารเร่ร่อนได้ข้ามมายังญี่ปุ่น เมื่อมีการขุดพบเครื่องมือหินเหล็กไฟและอุปกรณ์กระดูกของยุคนี้ในเกาะญี่ปุ่น[42][43]

ในศตวรรษที่ 18 อาราอิ ฮาคุเซกินักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเสนอแนวคิดว่า เครื่องมือหินโบราณในญี่ปุ่นถูกทิ้งไว้กลุ่มชนพื้นเมืองจากจีนและเกาหลี (นักวิชาการบางคนเสนอว่าพวกเขาเป็นชาวไอนุหรือชาวตุงกุสิก) ต่อมาฟิลลิพ ฟรันทซ์ ฟ็อน ซีบ็อลท์ได้โต้แย้งว่าชาวไอนุเป็นชนพื้นเมืองในภาคเหนือของญี่ปุ่น[44] อิฮะ ฟุยุนักวิชาการญี่ปุ่นเสนอว่าชาวญี่ปุ่นและชาวริวกิวมีต้นกำเนิดทางชาติพันธุ์เดียวกัน โดยอิงจากการวิจัยของเขาในปี ค.ศ. 1906 เกี่ยวกับภาษาริวกิว[45] ในยุคไทโช นักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยใหม่ โทริอิ ริวโซอ้างว่าชาวยามาโตะใช้เครื่องปั้นดินเผาแบบยาโยอิและชาวไอนุใช้เครื่องปั้นดินเผาแบบโจมง[44]

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 โคทงโด ฮาเซเบะและฮิซาชิ ซูซูกิอ้างว่าต้นกำเนิดของชาวญี่ปุ่นไม่ได้มาจากผู้มาใหม่ในยุคยาโยอิ (300 ปีก่อนคริสตกาล – 300 ปีหลังคริสตกาล) แต่มาจากผู้คนในยุคโจมง[46] อย่างไรก็ตาม คาซูโระ ฮานิฮาระได้ประกาศทฤษฎีการผสมผสานทางเชื้อชาติใหม่ในปี ค.ศ. 1984[47] ตามแนวคิดของฮานิฮาระ เชื้อสายญี่ปุ่นสมัยใหม่เริ่มต้นจากชาวโจมงซึ่งอพยพเข้ามาในหมู่เกาะญี่ปุ่นในช่วงยุคหินเก่า ตามด้วยคลื่นการอพยพครั้งที่สองจากเอเชียตะวันออกมายังญี่ปุ่นในช่วงยุคยาโยอิ (300 ปีก่อนคริสตกาล) หลังจากการขยายตัวของประชากรในช่วงยุคหินใหม่ ผู้มาใหม่เหล่านี้จึงได้เดินทางมายังหมู่เกาะญี่ปุ่นในช่วงใดช่วงหนึ่งในช่วงยุคยาโยอิ ส่งผลให้การแทนที่นักล่าสัตว์และรวบรวมอาหารเป็นเรื่องปกติในพื้นที่เกาะคิวชู,ชิโกกุและฮอนชูทางตอนใต้ แต่ไม่ได้แพร่หลายในหมู่เกาะริวกิวและฮอกไกโดที่อยู่ห่างไกลออกไปและชาวริวกิวและไอนุก็มีลักษณะที่ผสมผสานกัน

มาร์ก เจ. ฮัดสัน นักมานุษยวิทยาอ้างว่าภาพลักษณ์ทางชาติพันธุ์หลักของชาวญี่ปุ่นเกิดขึ้นทางชีววิทยาและภาษาตั้งแต่ 400 ปีก่อนคริสตกาลถึง 1,200 ปีหลังคริสตกาล[46] ทฤษฎีที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดในปัจจุบันคือ ชาวญี่ปุ่นในปัจจุบันก่อตัวขึ้นจากทั้งเกษตรกรผู้ปลูกข้าวสายพันธุ์ยาโยอิและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในยุคโจมง[48] อย่างไรก็ตามจากการศึกษาเมื่อเร็วๆนี้บางกรณีได้โต้แย้งว่าชาวโจมงมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากกว่าที่คาดไว้ในตอนแรก[49] หรือคนญี่ปุ่นอาจจะมีร่องรอยทางพันธุกรรมที่สำคัญจากกลุ่มประชากรโบราณสามกลุ่ม แทนที่จะเป็นเพียงสองกลุ่มเท่านั้น[50][51]

ยุคโจมงและยุคยาโยอิ

[แก้]

เครื่องปั้นดินเผาที่เก่าแก่ที่สุดในโลกบางชิ้นได้รับการพัฒนาโดยชาวโจมงในยุคหินเก่าตอนบน ซึ่งมีอายุย้อนกลับไปได้ถึง 16,000 ปี ชื่อ "โจมง" (縄文 โจมง) หมายถึง "ลวดลายเชือกประทับ" และมาจากเครื่องหมายลักษณะเฉพาะที่พบในเครื่องปั้นดินเผา ชาวโจมงส่วนใหญ่เป็นนักล่าสัตว์และเก็บของป่า แต่ยังทำการเกษตรในยุคแรกๆ เช่น การปลูกถั่วอะซึกิ มีแหล่งโบราณคดีโจมงตั้งแต่กลางถึงปลายอย่างน้อยหนึ่งแห่ง (ญี่ปุ่น: Minami Mizoteโรมาจิ南溝手, (ประมาณ 1200–1000 ปีก่อนคริสตกาล) มีการปลูกข้าวแบบดั้งเดิม การเกษตรโดยอาศัยปลาและถั่วเป็นหลักสำหรับอาหาร รากเหง้าทางชาติพันธุ์ของประชากรในยุคโจมงมีความหลากหลาย และสามารถสืบย้อนไปจนถึง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โบราณ, ที่ราบสูงทิเบต, ไต้หวันโบราณและไซบีเรีย[48][52][53]

เมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล ชาวยาโยอิซึ่งมีต้นกำเนิดจากเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือได้เข้ามายังหมู่เกาะญี่ปุ่นและอพยพหรือรวมเข้ากับยุคโจมง ชาวยาโยอิได้นำเอาการทำนาข้าวและเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างการทำสำริดและเหล็กมาสู่ญี่ปุ่น ระบบการทำนาข้าวที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นทำให้ชุมชนสามารถรองรับประชากรได้มากขึ้นและกระจายตัวออกไปตามกาลเวลา ซึ่งกลายมาเป็นพื้นฐานของสถาบันที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้นและประกาศถึงอารยธรรมใหม่ของยุคโคฟุงที่ตามมา

ประชากรโดยประมาณของประเทศญี่ปุ่นในช่วงปลายยุคโจมงมีประมาณ 800,000 คน เมื่อเทียบกับประมาณ 3 ล้านคนในยุคนาระ เมื่อพิจารณาถึงอัตราการเติบโตของสังคมการล่าสัตว์และเกษตรกรรมแล้ว คำนวณได้ว่ามีผู้อพยพประมาณ 1.5 ล้านคนย้ายเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นในช่วงเวลาดังกล่าว จากการศึกษาหลายชิ้นพบว่าชาวยาโยอิได้สร้าง "สังคมลำดับชั้นของญี่ปุ่น" ขึ้นมา[54][55]


อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "World Factbook: Japan". CIA. สืบค้นเมื่อ January 15, 2011.[ลิงก์เสีย]
  2. MOFA 国・地域. Mofa.go.jp. สืบค้นเมื่อ February 8, 2017.
  3. "Japan-Brazil Relations (Basic Data)". Ministry of Foreign Affairs of Japan. สืบค้นเมื่อ 14 July 2016.
  4. Bureau, U.S. Census. "American FactFinder - Results". Factfinder2.census.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 12, 2016. สืบค้นเมื่อ December 12, 2017.
  5. 5.0 5.1 海外在留邦人数調査統計 [Annual Report of Statistics on Japanese Nationals Overseas] (PDF). Ministry of Foreign Affairs of Japan (ภาษาญี่ปุ่น). October 1, 2010.
  6. Agnote, Dario (October 11, 2006). "A glimmer of hope for castoffs". The Japan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 7, 2011. สืบค้นเมื่อ August 9, 2016.
  7. Ohno, Shun (2006). "The Intermarried issei and mestizo nisei in the Philippines". ใน Adachi, Nobuko (บ.ก.). Japanese diasporas: Unsung pasts, conflicting presents, and uncertain futures. p. 97. ISBN 978-1-135-98723-7.
  8. Canada, Government of Canada, Statistics (May 8, 2013). "2011 National Household Survey: Data tables – Ethnic Origin (264), Single and Multiple Ethnic Origin Responses (3), Generation Status (4), Age Groups (10) and Sex (3) for the Population in Private Households of Canada, Provinces, Territories, Census Metropolitan Areas and Census Agglomerations, 2011 National Household Survey". 12.statcan.gc.ca. สืบค้นเมื่อ December 12, 2017.
  9. "Japan-Peru Relations (Basic Data)". Ministry of Foreign Affairs of Japan. สืบค้นเมื่อ December 12, 2017.
  10. 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09 "Annual Report of Statistics on Japanese Nationals Overseas" (PDF). Ministry of Foreign Affairs of Japan. สืบค้นเมื่อ May 30, 2016.
  11. "Japan-Mexico Relations". Ministry of Foreign Affairs of Japan. สืบค้นเมื่อ 2018. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  12. MOFA 2016 タイ王国. Mofa.go.jp. สืบค้นเมื่อ January 22, 2018.
  13. "Total number of residents from Japan living in the United Kingdom from 2013 to 2019". statista.com. สืบค้นเมื่อ April 25, 2021.
  14. "Japan-Argentine Relations". Ministry of Foreign Affairs of Japan.
  15. "Argentina inicia una nueva etapa en su relación con Japón". Telam.com.ar. สืบค้นเมื่อ November 21, 2016.
  16. "Total number of residents from Japan living in Germany from 2013 to 2019". statista.com. สืบค้นเมื่อ April 25, 2021.
  17. "Total number of residents from Japan living in France from 2013 to 2019". statista.com. สืบค้นเมื่อ April 25, 2021.
  18. "Japan-Singapore Relations". Ministry of Foreign Affairs of Japan. สืบค้นเมื่อ December 12, 2017.
  19. "Japan-Malaysia Relations (Basic Data)". Ministry of Foreign Affairs, Japan. September 7, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 25, 2016. สืบค้นเมื่อ June 26, 2016.
  20. "Letter from Ambassador of FSM to Japan, Micronesia Registration Advisors, Inc" (PDF). Embassy of the Federated States of Micronesia. February 24, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-04-12. สืบค้นเมื่อ May 30, 2016.
  21. 多汗症【薬局にある市販の薬】病院に行かず汗止め薬で改善. Fenaboja.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-06. สืบค้นเมื่อ December 12, 2017.
  22. ベトナム社会主義共和国(Socialist Republic of Viet Nam). Mofa.go.jp. สืบค้นเมื่อ December 12, 2017.
  23. インド(India). Mofa.go.jp. สืบค้นเมื่อ December 12, 2017.
  24. (PDF). October 14, 2008 https://web.archive.org/web/20081014081506/http://www.newcaledonia.co.nz/downloads/newcal-weekly-08-08-22.pdf. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 14, 2008. สืบค้นเมื่อ December 12, 2017. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  25. "Japan-Paraguay Relations". Ministry of Foreign Affairs of Japan. March 24, 2015. สืบค้นเมื่อ May 30, 2016.
  26. "Pacific Islands President, Bainbridge Lawmakers Find Common Ground » Kitsap Sun". July 16, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ December 12, 2017.
  27. "Japan-United Arab Emirates Relations". Ministry of Foreign Affairs of Japan. สืบค้นเมื่อ December 12, 2017.
  28. "Macau Population Census". Census Bureau of Macau. May 2012. สืบค้นเมื่อ July 22, 2016.
  29. ウルグアイ東方共和国 (Oriental Republic of Uruguay) 基礎データ [Oriental Republic of Uruguay basic data] (ภาษาญี่ปุ่น). Ministry of Foreign Affairs of Japan. July 20, 2011. สืบค้นเมื่อ May 30, 2016.
  30. "Annual Report of Statistics on Japanese Nationals Overseas" (PDF).
  31. [1]
  32. "History of Japanese companies expanding into Romania".
  33. "International Religious Freedom Report 2006". Bureau of Democracy, Human Rights, and Labor. U.S. Department of State. September 15, 2006. สืบค้นเมื่อ December 4, 2007.{{cite web}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  34. "Japan - People". Encyclopædia Britannica.
  35. "Japan. B. Ethnic Groups". Encarta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 22, 2008.
  36. "人類学上は,旧石器時代あるいは縄文時代以来,現在の北海道〜沖縄諸島(南西諸島)に住んだ集団を祖先にもつ人々。" ( 日本人. マイペディア. 平凡社.)
  37. "日本民族という意味で、文化を基準に人間を分類したときのグループである。また、文化のなかで言語はとくに重要なので、日本民族は日本語を母語としてもちいる人々とほぼ考えてよい。" ( 日本人. エンカルタ. Microsoft.)
  38. "Japan Ethnic groups - Demographics". www.indexmundi.com. สืบค้นเมื่อ December 12, 2017.
  39. 39.0 39.1 Minahan, James B. (2014), Ethnic Groups of North, East, and Central Asia: An Encyclopedia, ABC-CLIO, pp. 231–233, ISBN 978-1-61069-018-8 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Minahan" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  40. Global archaeological evidence for proboscidean overkill เก็บถาวร มิถุนายน 26, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน in PNAS online; Page 3 (page No.6233), Table 1. The known global sample of proboscidean kill/scavenge sites :Lake Nojiri Japan 33-39 ka (ka: thousand years).
  41. "Prehistoric Times". Web Site Shinshu. Nagano Prefecture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 31, 2010. สืบค้นเมื่อ January 22, 2011.
  42. 野尻湖人の世界. May 19, 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 19, 2000. สืบค้นเมื่อ December 12, 2017.
  43. "野尻湖発掘調査団ホームページ". July 27, 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 27, 2004.
  44. 44.0 44.1 Imamura, Keiji (2000). "Archaeological Research of the Jomon Period in the 21st Century". The University Museum, The University of Tokyo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 27, 2011. สืบค้นเมื่อ December 29, 2010.
  45. 伊波普猷の卒論発見 思想骨格 鮮明に (ภาษาญี่ปุ่น). Ryūkyū Shimpō. July 25, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 22, 2011. สืบค้นเมื่อ March 7, 2011.
  46. 46.0 46.1 Nanta, Arnaud (2008). "Physical Anthropology and the Reconstruction of Japanese Identity in Postcolonial Japan". Social Science Japan Journal. 11 (1): 29–47. doi:10.1093/ssjj/jyn019.
  47. Hanihara, K (1991). "Dual structure model for the population history of the Japanese". Japan Review. 2: 1–33.
  48. 48.0 48.1 Boer, Elisabeth de; Yang, Melinda A.; Kawagoe, Aileen; Barnes, Gina L. (2020). "Japan considered from the hypothesis of farmer/language spread". Evolutionary Human Sciences (ภาษาอังกฤษ). 2: e13. doi:10.1017/ehs.2020.7. ISSN 2513-843X. PMC 10427481. PMID 37588377.
  49. Lee, Hasegawa, Sean, Toshikazu (April 2013). "Evolution of the Ainu Language in Space and Time". PLOS ONE. 8 (4): e62243. Bibcode:2013PLoSO...862243L. doi:10.1371/journal.pone.0062243. PMC 3637396. PMID 23638014. S2CID 8370300.
  50. Dunham, W. (18 September 2021). "Study rewrites understanding of modern Japan's genetic ancestry". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 9, 2021. สืบค้นเมื่อ October 9, 2021.
  51. Cooke, N. P.; Mattiangeli, V.; Cassidy, L. M.; Okazaki, K.; Stokes, C. A.; Onbe, S.; Hatakeyama, S.; Machida, K.; Kasai, K.; Tomioka, N.; Matsumoto, A.; Ito, M.; Kojima, Y.; Bradley, D. G.; Gakuhari, T.; Nakagome, S. (17 September 2021). "Ancient genomics reveals tripartite origins of Japanese populations". Science Advances. 7 (38): eabh2419. Bibcode:2021SciA....7.2419C. doi:10.1126/sciadv.abh2419. PMC 8448447. PMID 34533991.
  52. Watanabe, Yusuke; Ohashi, Jun (2021-03-08). "Comprehensive analysis of Japanese archipelago population history by detecting ancestry-marker polymorphisms without using ancient DNA data". bioRxiv (ภาษาอังกฤษ): 2020.12.07.414037. doi:10.1101/2020.12.07.414037. S2CID 229293389. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2021. สืบค้นเมื่อ April 13, 2021.
  53. Yang, Melinda A.; Fan, Xuechun; Sun, Bo; Chen, Chungyu; Lang, Jianfeng; Ko, Ying-Chin; Tsang, Cheng-hwa; Chiu, Hunglin; Wang, Tianyi; Bao, Qingchuan; Wu, Xiaohong (2020-07-17). "Ancient DNA indicates human population shifts and admixture in northern and southern China". Science (ภาษาอังกฤษ). 369 (6501): 282–288. Bibcode:2020Sci...369..282Y. doi:10.1126/science.aba0909. ISSN 0036-8075. PMID 32409524. S2CID 218649510. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 23, 2023. สืบค้นเมื่อ June 30, 2022.
  54. Kumar, Ann (2009). Globalizing the Prehistory of Japan: Language, Genes, and Civilization. Oxford: Routledge.
  55. Farris, William Wayne (1996). "Ancient Japan's Korean Connection". Korean Studies. 20: 1–22. ISSN 0145-840X. JSTOR 23719600. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 22, 2022. สืบค้นเมื่อ June 13, 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]