คดีเพชรซาอุ
ชื่อภาษาอังกฤษ | Blue Diamond Affair |
---|---|
วันที่ | 2532 |
ประเภท | โจรกรรม |
ผู้เข้าร่วม |
|
ผล |
|
เสียชีวิต | 7[a] |
ลำดับเหตุการณ์ | |
---|---|
2532 | โจรกรรมเครื่องเพชรจากซาอุดีอาระเบีย |
2533 |
|
2537 |
|
2552 |
|
2562 |
|
คดีขโมยเครื่องเพชรราชวงศ์ซะอูดแห่งซาอุดีอาระเบีย หรือ คดีเพชรซาอุ เป็นคดีการขโมยเครื่องเพชรของราชวงศ์ซาอุดีอาระเบีย โดยลูกจ้างชาวไทยในปี 2532 ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างซาอุดีอาระเบียและไทยลดลงเป็นเวลามากกว่า 30 ปี[2]
ตำรวจสามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้อย่างรวดเร็ว แต่ทางการซาอุดีอาระเบียแจ้งว่าเพชรสีน้ำเงินและเครื่องเพชรส่วนใหญ่หายไป ทางการซาอุดีอาระเบียส่งข้าราชการเข้ามาสืบสวนเอง แต่ถูกลักพาตัวไม่ก็ลอบฆ่า เรื่องที่อยู่ของเพชรปัจจุบันและผู้ก่อเหตุฆ่านักการทูตชาวซาอุดีอาระเบียยังเป็นปริศนา ชุดสืบสวนของพลตำรวจโท ชลอ เกิดเทศ ถูกพิพากษาลงโทษในหลายคดี เช่น อุ้มฆ่าภรรยาและลูกของพ่อค้าเพชร และยักยอกของกลาง
สาเหตุ
[แก้]คดีดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นจากการที่นายเกรียงไกร เตชะโม่ง ซึ่งเป็นแรงงานชาวไทยที่ได้เดินทางไปทำงานยังประเทศซาอุดีอาระเบีย และถูกจัดให้เข้าไปทำงานเป็นพนักงานทำความสะอาดภายในพระราชวังของกษัตริย์ซาอุดีอาระเบีย[3] เขาเริ่มการโจรกรรมในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2532 เมื่อนายเกรียงไกรเมื่อเข้าไปทำงานในพระราชวังจึงได้เห็นช่องทางในการขโมยเครื่องเพชรดังกล่าว เพราะเครื่องเพชรเหล่านั้นมีจำนวนมากและถูกวางไว้อย่างไม่เป็นที่เป็นทาง แม้แต่ตู้นิรภัยก็ยังถูกเปิดทิ้งเอาไว้[4]
นายเกรียงไกรอาศัยช่วงเวลาที่เจ้าชายฟัยศ็อล บิน ฟะฮัด บิน อับดุล อะซีซ (Prince Faisal Bin Fahud Bin Abdul Aziz) แปรพระราชฐานไปพักผ่อนในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในเดือนธันวาคม 2532 ทำการขโมยเครื่องเพชร 91 กิโลกรัม (200 ปอนด์)[5]:185 ซึ่งรวมไปถึงเพชรน้ำเงินกับอัญมณีอื่น ๆ รวม 50 กะรัต[6] โดยแอบนำถุงกระสอบขนาดใหญ่เข้าไปในพระราชวัง ซ่อนตัวอยู่ภายในพระราชวังจนถึงเวลากลางคืน แล้วจึงทำการขโมยเครื่องเพชรใส่ถุงกระสอบแล้วโยนถุงกระสอบลงมาออกนอกกำแพงพระราชวัง เมื่อได้เครื่องเพชรมาแล้ว นายเกรียงไกรใช้วิธีส่งเครื่องเพชรกลับมายังประเทศไทยล่วงหน้า ด้วยบริการขนส่งพัสดุทางอากาศ โดยปะปนกับเสื้อผ้าและเครื่องใช้ส่วนตัว ซึ่งด่านศุลกากรของทั้งสองประเทศไม่สามารถตรวจพบ เมื่อทำการโจรกรรมเรียบร้อยแล้ว เกรียงไกรได้เดินทางกลับประเทศไทยทันที ก่อนที่เจ้าชายฟัยศ็อลจะเสด็จกลับมายังพระราชวัง ทั้งที่เหลือเวลาทำงานตามสัญญาอีก 2 เดือน
โดยเครื่องเพชรดังกล่าวถูกนำมายังจังหวัดลำปาง[7][8] เนื่องจากเครื่องเพชรเหล่านั้นแยกยาก เขาจึงขายมันเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย โดยเครื่องเพชรส่วนใหญ่ถูกขายให้กับช่างทำเพชรพลอยชาวกรุงเทพ สันติ ศรีธนะขัณฑ์[9] หลังจากนั้นไม่นานรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย ประสานมายังรัฐบาลไทย ขอให้ติดตามเครื่องเพชรประจำราชวงศ์ส่งคืน
การสืบสวน
[แก้]การสืบสวน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การจับกุมผู้ต้องหา
[แก้]อธิบดีกรมตำรวจ พลตำรวจเอกประทิน สันติประภพ มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบพื้นที่ในเขตภาคเหนือ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ ออกติดตามเครื่องเพชรคืนให้แก่รัฐบาลซาอุดีอาระเบีย หลังจากนั้นเมื่อนายเกรียงไกร ถูกชุดสืบสวนของ พล.ต.ท.ชลอ จับกุมและนำตัวมาสอบสวนจนยอมรับสารภาพ และให้การถึงบุคคลที่รับซื้อเครื่องเพชรไป เนื่องจากเกรงว่าจะถูกจับส่งไปดำเนินคดีที่ซาอุฯ ซึ่งมีโทษเพียงสถานเดียว คือ "แขวนคอ" ทำให้ศาลพิพากษาตัดสินจำคุกนายเกรียงไกร เตชะโม่งในข้อหาลักทรัพย์ 7 ปี จำเลยรับสารภาพลดโทษเหลือ 3 ปี 6 เดือน
ทางการไทยส่งตัวแทนไปคืนเครื่องเพชร แต่ทางการซาอุดีอาระเบียพบว่าเพชรสีน้ำเงินหายไป และเครื่องเพชรประมาณครึ่งหนึ่งเป็นของปลอม[10] นอกจากนี้ มีข่าวลือในสื่อไทยว่าภาพถ่ายในงานเลี้ยงการกุศลพบว่าภรรยาของข้าราชการหลายคนสวมสร้อยคอเพชรที่คล้ายกับเครื่องเพชรที่ถูกโจรกรรมจากซาอุดีอาระเบีย ทำให้ซาอุดีอาระเบียสงสัยว่าตำรวจไทยยักยอกเครื่องเพชรเอาไว้เอง[11]
การตามหาเครื่องเพชรของจริง และคดีฆ่าชาวซาอุ
[แก้]การย้อนรอยตามหาเพชรฯ โดยคณะทำงานของ พล.ต.ท.ชลอ เริ่มต้นที่กลุ่มญาติของ พล.ต.อ.แสวง ธีระสวัสดิ์ อ.ตร. แต่ภายหลังเมื่อมีการตรวจสอบไม่พบว่ามีมูลความจริง นอกจากนี้ นักการเมือง ตลอดจนคุณหญิง คุณนาย และ "คนมีสี" หลายคนก็ถูกกล่าวหาว่ามีการจัด "ปาร์ตี้เพชรซาอุฯ" ในสโมสรแห่งหนึ่ง ระหว่างนั้น นายโมฮัมหมัด ซาอิค โคจา อุปทูตซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทย ได้ว่าจ้าง "ชุดสืบสวนพิเศษ" เพื่อแกะรอยอย่างลับ ๆ ตามหาเครื่องเพชรราชวงศ์แห่งซาอุดีอาระเบีย
ข้าราชการชาวซาอุดีอาระเบีย[12]
Mohammad al-Ruwaili นักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบียที่ใกล้ชิดกับราชวงศ์ซะอูด เดินทางมายังกรุงเทพมหานครเพื่อสืบสวนด้วยตนเอง เขาหายสาบสูญไปในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2533 และสันนิษฐานว่าถูกฆ่า[13] ก่อนเขาหายตัวไป นักการทูตชาวซาอุดีอาระเบียถูกฆ่าในย่านสีลม เขตบางรัก ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 มีนักการทูตชาวซาอุดีอาระเบียเสียชีวิตเพิ่มอีก 3 คนในย่านยานนาวา[14][15] ซึ่งคดีเหล่านี้ยังไม่ได้ข้อยุติมาจนปัจจุบัน[5]:185 ถึงแม้ไม่มีความเชื่อมโยงว่ารัฐบาลไทยเกี่ยวข้องกับการโจรกรรมเครื่องเพชร แต่ทางการซาอุดีอาระเบียเชื่อว่ารัฐบาลไทยดำเนินการไม่เพียงพอในการไขปริศนาเกี่ยวกับการฆ่านักการทูตซาอุดีอาระเบีย[15]
มีสมมุติฐานหลายประการเกี่ยวกับเหตุการณ์ฆ่าดังกล่าว โมฮัมเหม็ด ซาอิด โคจา (Mohammed Said Khoja) นักการทูตชาวซาอุดีอาระเบีย เชื่อว่ามีนายตำรวจ 18 นายเกี่ยวข้องกับการหายไปของเพชร และเชื่อว่าตำรวจเป็นผู้ลงมือฆ่านักการทูตชาวซาอุดีอาระเบียสามคน[16] ด้านบันทึกการทูตในปี 2553 จากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทยที่เผยแพร่โดยวิกิลีกส์ระบุว่า การฆ่าดังกล่าว "แทบแน่นอน" ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบาดหมางระหว่างซาอุดีอาระเบียกับกลุ่มติดอาวุธเลบานอนฮิซบุลลอฮ์[17]
บทสัมภาษณ์ในเวลาต่อมา เกรียงไกรไม่สามารถระบุได้ว่าเพชรสีน้ำเงินขณะนี้อยู่ที่ใด และว่า "ถ้าเรื่องไม่เกี่ยวข้องกับผู้มีอำนาจในประเทศไทย เรื่องก็จะไม่ใหญ่ขนาดนี้"[17] ในปี 2563 ไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กว่า "สร้อยพระศอของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเป็นไพลินสีน้ำเงินไม่ใช่เพชรสีน้ำเงินเครื่องเพชรราชวงศ์ซาอุ"[18] ทั้งนี้ สร้อยพระศอไพลินสีน้ำเงิน (Blue Sapphire) องค์นี้ประดับโดยเพชรไพลินสีน้ำเงินเม็ด ขนาด 109.57 กะรัต จี้ไพลินสีน้ำเงินองค์นี้เป็นฝีมือการออกแบบและประดิษฐ์จากบริษัท อัญมณี Van Cleef & Arpels จากประเทศฝรั่งเศส เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2506 แต่เหตุการณ์โจรกรรมเครื่องเพชรราชวงศ์ซาอุดีอาระเบียนั้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2532 [19]
คดีความของชุดสืบสวน
[แก้]พลตำรวจโท ชลอ เกิดเทศ กลับมาทำคดีนี้อีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ได้ทุกวิถีทางในการนำเพชรที่เหลือกลับคืนมาให้ได้ จากคำให้การของนายเกรียงไกร ที่บอกว่า ได้โจรกรรมเครื่องเพชรของเจ้าชายไฟซาล แล้วนำเข้ามาขายในประเทศไทย โดยขายให้สันติ ศรีธนะขัณฑ์ เสี่ยเจ้าของร้านเพชร แต่เขายืนยันว่าคืนให้หมดแล้ว ในปี 2537 ชุดปฏิบัติงานของตำรวจลักพาตัวภรรยาและลูกของสันติเพื่อบีบให้เขาคืนเพชรให้ จนสุดท้ายฆ่าปิดปากทั้งสองโดยจัดฉากให้ดูเหมือนอุบัติเหตุจราจร[20]
ต่อมา ทีมสอบสวนชุดใหม่กลับสืบพบว่าเป็นการอุ้มฆ่า จึงได้ทำการจับกุมตัว พล.ต.ท.ชลอ และลูกน้องทั้ง 9 คน มาดำเนินการทางกฎหมาย พล.ต.ท. ชลอถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานออกคำสั่งฆ่าสองแม่ลูกในปี พ.ศ. 2538[21] และในที่สุดศาลอุทธรณ์ก็ได้พิพากษาให้ประหารชีวิต พล.ต.ท.ชลอ และศาลฎีกาก็ได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ยืนตามศาลอุทธรณ์ให้ประหารชีวิต[22] ต่อมาเขาได้รับการลดโทษเหลือจำคุก 50 ปีในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช[23] ตำรวจอีกหกนายถูกพิพากษาว่ามีความผิดด้วย[24] และได้รับพระราชทานอภัยโทษในปี 2558[25] ตำรวจนายหนึ่งในชุดทำงานยังถูกพิพากษาลงโทษฐานยักยอกเงินของกลางในปี 2557[26]
ในวันที่ 22 มีนาคม 2562 ศาลฎีกาพิพากษาปล่อยตัวนายตำรวจห้านายในคดีลักพาตัวและฆ่านักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบีย Mohammad al-Ruwaili[14][27]
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
[แก้]ซาอุดีอาระเบียยกเลิกการตรวจลงตราทำงานให้กับคนไทย และประกาศเตือนคนในประเทศไม่ให้เดินทางมายังกรุงเทพมหานคร ทำให้จำนวนคนงานไทยในซาอุดีอาระเบียลดลงจาก 150,000 คน ในปี พ.ศ. 2532 เหลือเพียง 10,000 คน ในปี พ.ศ. 2549
ความสัมพันธ์ดังกล่าวค่อยกลับมาเป็นปกติในปี 2565 ซึ่งมีการเยือนระดับผู้นำรัฐบาลครั้งแรกในรอบ 30 ปีหลังการลดความสัมพันธ์[28][29] ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า ทางการซาอุดีอาระเบียไม่ได้ติดใจเรื่องไม่ได้เครื่องเพชรสีน้ำเงินคืน มากเท่ากับการอุ้มฆ่าเชื้อพระวงศ์ในประเทศไทย และการพยายามฟื้นฟูความสัมพันธ์ในปี 2565 มาจากวิสัยทัศน์ของซาอุดีอาระเบียเองที่ต้องการสานสัมพันธ์กับทุกประเทศ[30]
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ นักการทูตชาวซาอุดีอาระเบีย 5 คนและภรรยาและลูกของสันติ ศรีธนะขัณฑ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เปิดแฟ้มตำนาน "สีกากีโหด" ประวัติศาสตร์อัปยศของตำรวจไทย".
- ↑ Shay, Christopher (2010-03-07). "Thailand's Blue Diamond Heist: Still a Sore Point". Time. สืบค้นเมื่อ 14 Feb 2015.
- ↑ Mccarthy, Terry (25 September 1994). "Saudi gems theft leaves deadly trail in Thailand". The Independent. London.
- ↑ "วันนี้ในอดีต 6 ส.ค. 2532 'เกรียงไกร เตชะโม่ง' ขโมยเพชรซาอุฯ". คมชัดลึก. กรุงเทพมหานคร. 6 สิงหาคม 2560.
- ↑ 5.0 5.1 McClincy, Meghan A. (Apr 2012). "A Blue Thai Affair: The Blue Diamond Affair's Illustration of the Royal Thai Police Force's Standards of Corruption". Penn State Journal of Law & International Affairs. 1 (1): 182–201. สืบค้นเมื่อ 14 Feb 2015.
- ↑ Murdoch, Lindsay (1 April 2014). "Thai court throws out murder charges in 'Blue Diamond Affair'". Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 4 June 2020.
- ↑ Thai Foreign Minister to reopen Saudi gems scandal case
- ↑ Hughes, Roland; Yongcharoenchai, Chaiyot (28 September 2019). "Blue Diamond Affair: The mystery of the stolen Saudi jewels". BBC News. สืบค้นเมื่อ 28 September 2019.
- ↑ Marshall, Andrew (22 September 2010). "The curse of the blue diamond". Thomson Reuters Foundation News. Reuters. สืบค้นเมื่อ 4 June 2020.
- ↑ "The Thai police: A law unto themselves". The Economist. 2008-04-17. สืบค้นเมื่อ 14 Feb 2015.
- ↑ Ramsey, Adam (2015-10-02). "Assassinations, Curses, and Stolen Jewels: The 'Blue Diamond Affair' Is Still Darkening Saudi-Thai Relations". Vice News. สืบค้นเมื่อ 13 October 2018.
- ↑ "Assassinations, Curses, and Stolen Jewels: The 'Blue Diamond Affair' Is Still Darkening Saudi-Thai Relations". Vice (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 10 March 2021.
- ↑ "Court stands by ex-policeman's acquittal". Bangkok Post. 2016-05-04. สืบค้นเมื่อ 4 May 2016.
- ↑ 14.0 14.1 "Former Bangkok cops cleared of murder of Saudi businessman". Bangkok Post. 2019-03-22. สืบค้นเมื่อ 2019-03-24.
- ↑ 15.0 15.1 "Thai Blue Diamond Affair: Kingdom demands justice". Arab News. 2014-07-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-05. สืบค้นเมื่อ 14 February 2015.
- ↑ Shenon, Philip (19 September 1994). "Saudi Envoy Helps Expose a Thai Crime Group: The Police (Published 1994)". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 10 March 2021.
- ↑ 17.0 17.1 "Blue Diamond Affair: The mystery of the stolen Saudi jewels". BBC News. 27 September 2019. สืบค้นเมื่อ 10 March 2021.
- ↑ "'ไพศาล'เปิดเบื้องลึกปมเพชรซาอุฯ ซัดเลิกโกหกเด็กป้ายสีสถาบันได้แล้ว". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 March 2021.
- ↑ {{ |url=https://www.khaosaan.com/57284/}}
- ↑ "30 ปีคดีเพชรซาอุ เปิดใจนักโจรกรรม ผู้เขย่าสัมพันธ์ 2 ประเทศ". BBC ไทย. 25 September 2019. สืบค้นเมื่อ 10 March 2021.
- ↑ The Economist: A law unto themselves
- ↑ "ศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต 'ชลอ เกิดเทศ'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-24. สืบค้นเมื่อ 2009-10-27.
- ↑ Laohong, King-oua (2013-10-26). "Saudi gem killer Chalor freed". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 14 Feb 2015.
- ↑ Ngamkham, Wassayos (12 October 2018). "Ex-cop linked to Saudi gems case held in slaying". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 13 October 2018.
- ↑ Charuvastra, Teeranai (2016-03-17). "Man Behind Saudi Diamond Heist Ordained 'For Life'". Khaosod English. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-07. สืบค้นเมื่อ 27 March 2016.
- ↑ "จำคุกลูกน้อง'พล.ต.ท.ชลอ'ยักยอกเงินคดีเพชรซาอุฯ". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 10 March 2021.
- ↑ Saksornchai, Jintamas (2019-03-22). "TOP COURT CLEARS COPS OF MURDER IN SAUDI 'BLUE DIAMOND' CASE". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 2019-03-24.
- ↑ เปิดเนื้อหา “แถลงข่าวร่วมหลังการเยือนซาอุฯของนายกฯไทย”
- ↑ "Crown Prince, Thai Prime Minister hold talks in Riyadh". Saudigazette (ภาษาอังกฤษ). 2022-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-01-25.
- ↑ ""บลูไดมอนด์" ยังหาไม่พบ แต่ทำไมซาอุดีอาระเบียยอมฟื้นสัมพันธ์ไทย". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 24 January 2022.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- "Thai Blue Diamond Affair: Kingdom demands justice" (Archive) Arab News. 4 July 2014.
- Ramsey, Adam, Assassinations, Curses, and Stolen Jewels: The 'Blue Diamond Affair' Is Still Darkening Saudi-Thai Relations. Vice News, 2015-10-02.
- Saksornchai, Jintamas (22 March 2019). "TOP COURT CLEARS COPS OF MURDER IN SAUDI 'BLUE DIAMOND' CASE". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 4 June 2020.
- "Acquittal of five policeman in 1990 Saudi murder case upheld". The Nation. 22 March 2019. สืบค้นเมื่อ 4 June 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Timeline of the Blue Diamond Affair
- Saudi Envoy Helps Expose a Thai Crime Group: The Police New York Times
- Warrant issued over Saudi murder
- The missing pillar in Thai-Gulf ties
- WikiLeaks cable: The Curse of the Blue Diamond เก็บถาวร 2015-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Al-Ruwaili's Fate 'More Important Than Diamonds' เก็บถาวร 2016-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Abrupt Judge Change Mars Al-Ruwaili Verdict เก็บถาวร 2016-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Blue Diamond Affair (novel)
- "The Curse of the Blue Diamond: Thailand Indicts Five Policemen to Salvage Relationship with Saudi Arabia". Wikileaks. 2010. สืบค้นเมื่อ 10 March 2021.