ข้ามไปเนื้อหา

คณะมหาอำมาตย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะมหาอำมาตย์ หรือ เน่ย์เก๋อต้าเสวียซื่อ (จีนตัวเต็ม: 内阁大学士; จีนตัวย่อ: 內閣大學士; พินอิน: Nèigé dàxué shì) คือ คณะรัฐบาลที่ก่อตั้งขี้นในสมัยราชวงศ์หมิง ประกอบด้วย

หน้าที่หลัก คือ ตรวจฎีกา กลั่นกรอง แล้วลงมติตามสมควร ซึ่งสมาชิกอาวุโสสุดเรียกกันทั่วไปว่า อำมายต์นายก (首輔 "โฉวฝู่")[1]

ในสมัยราชวงศ์ชิง หลังรัชศกหย่งเจิ้งปีที่ 8 (ค.ศ. 1730) คณะรัฐบาลต้าเสวียซื่อได้เลื่อนขั้นจากขุนนางขั้น 5 ชั้นเอก เป็นขุนนางขั้น 1 ชั้นเอก และในวันที่ 4 ธันวาคม รัชศกเฉียนหลงปีที่ 13 (22 มกราคม ค.ศ. 1749) คณะรัฐบาลต้าเสวียซื่อ ได้เปลี่ยนจากสี่พระที่นั่งสองศาลา เป็นสามพระที่นั่งสามศาลา และตำแหน่งมหาอำมาตย์พระที่นั่งจงเหอถูกยกเลิก มีการตั้งมหาอำมายต์ศาลาถี่เริ่น (体仁阁大学士) ขึ้นมาแทน[2]

โฉวฝู่

[แก้]

โดยทั่วไปแล้วในสมัยราชวงศ์หมิง โฉวฝู่หมายถึงขุนนางที่เข้าร่วมรัฐบาลต้าเสวียซื่อนานที่สุด เป็นผู้อาวุโสที่สุด และมีตำแหน่งทางการสูงสุด ด้วยปัจจัยนี้มักจะได้รับความไว้วางใจจากจักรพรรดิมากที่สุด ทำให้มีอำนาจและสถานะที่สำคัญ นอกจากจะมีโฉวฝู่ ยังมีตำแหน่งรองอำมายต์นายก (次輔"ชื่อฝู่")

อำนาจของโฉวฝู่

[แก้]

ในสมัยราชวงศ์หมิงโฉวฝู่เป็นประธานของรัฐบาลต้าเสวียซื่อและมีอำนาจมากที่สุด โดยเฉพาะอำนาจในการ "ร่างหมาย" [3]

  • ประการแรกโฉวฝู่มีอำนาจในการลงหมึกสีชาดแทนจักรพรรดิ
  • ประการที่สองโฉวฝู่อิทธิพลต่อหกกระทรวง
  • ประการที่สามโฉวฝู่มักจะควบตำแหน่งอื่นด้วย

นอกจากนี้ยังมีอำนาจในการหักล้างพระราชโองการที่ไม่เหมาะสมของ จักรพรรดิด้วยการส่งคืนจักรพรรดิ ซึ่งอำนาจที่แท้จริงของโฉวฝู่นั่นจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่กล้าที่ใช้อำนาจที่แท้จริงของโฉวฝู่ เช่น จาง จฺวีเจิ้ง เป็นต้น[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 張帆.中國古代簡史.北京:北京大學出版社
  2. 中国历代职官词典
  3. (票擬)方誌遠. 明代內閣的票擬製度[J]. 江西師範大學學報(哲學社會科學版)
  4. 張帆.中國古代簡史.北京:北京大學出版社