ขบวนการปกป้องวัว
ขบวนการปกป้องวัว (cow protection movement) เป็นขบวนการเคลื่อนไหวเชิงศาสนาและเชิงการเมืองที่มีเป้าหมายในการปกป้องวัว ซึ่งมีการฆ่าวัวนั้นได้รับการต่อต้านอย่างกว้างขวางในหมู่ชาวฮินดู ชาวพุทธ ชาวเชน และชาวซิกข์[1][2][3] การต่อต้านการฆ่าสัตว์ต่าง ๆ รวมทั้งวัวมีมาอย่างยาวนานในประวัติศาสตร์ของอินเดีย อย่างไรก็ตามวลี “ขบวนการปกป้องวัว” (Cow protection movement) นี้จะกล่าวถึงการเคลื่อนไหวในยุคปัจจุบัน อันเริ่มต้นมาตั้งแต่ยุคอาณานิคมอังกฤษ[4] กิจกรรมต่อต้านการฆ่าวัวที่เก่าแก่ที่สุดย้อนกลับไปถึงกลุ่มชาวซิกข์ในปัญจาบเมื่อปี 1860s ที่ต่อต้านการฆ่าวัว[5][6] ขบวนการนี้ได้รับความนิยมในปี 1880s และนับจากนั้นก็ได้รับความสนใจและการสนับสนุนมากจาก สวามี ทยนันทะ สรัสวตี ผู้ก่อตั้งอารยสมาช ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19[7] และจากมหาตมะ คานธี ในต้นศตวรรษที่ 20[8]
ขบวนการปกป้องวัวนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางในหมู่ศาสนิกชนของศาสนาอินเดีย โดยเฉพาะศาสนาฮินดู แต่ถูกต่อต้านอย่างกว้างขวางในหมู่มุสลิม มีเหตุจลาจลเนื่องจากการปกป้องวัวนี้เกิดขึ้นจำนวนมากในปี 1880s - 1890s ในบริติชอินเดีย จลาจลฆ่าวัวเมื่อปี 1893 และ 1894 เกิดขึ้นในวัน Eid-ul-Adha ซึ่งเป็นเทศกาลอิสลามที่มีการฆ่าบูชายัญสัตว์เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลอง ขบวนการปกป้องวัวและความรุนแรงอันเนื่องจากขบวนการปกป้องวัวถือเป็นหนึ่งในที่มาของความขัดแย้งทางศาสนาในอินเดีย เอกสารทางประวัติศาสตร์เสนอว่าทั้งชาวฮินดูและมุสลิม ล้วนมอง “การปกป้องวัว” และ “การฆ่าวัว” เป็นอิสระทางศาสนาอย่างหนึ่ง[9]
ถึงแม้ขบวนการปกป้องวัวจะเกี่ยวข้องกับอินเดียเป็นหลัก แต่ก็พบในประเทศพุทธอย่างศรีลังกาและเมียนมาร์มาตั้งแต่ยุคอาณานิคม[10][11][12] ศรีลังกานับเป็นประเทศแรกในอินเดียใต้ที่ออกกฎหมายครอบคลุมการลงโทษเนื่องดัวยการทำร้ายวัวควาย ในปัจจุบันศรีลังกาห้ามการค้าขายวัวควายเพื่อการฆ่าและผลิตเป็นเนื้อ ตามเป็นผลมาจากการออกข้อกฎหมายที่จะช่วยสร้างความสามัคคีขึ้นในกลุมชาติพันธุ์หลัก 2 กลุ่มบนเกาะ คือชาวทมิฬและสิงหล[13] ส่วนในประเทศอินเดียก็มีกฎหมายห้ามการฆ่าวัวควายในรัฐส่วนใหญ่ของประเทศ ยกเว้นเพียงเกรลา, เบงกอลตะวันตก และส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lisa Kemmerer (2011). Animals and World Religions. Oxford University Press. pp. 58–65, 100–101, 110. ISBN 978-0-19-979076-0.
- ↑ Clive Phillips (2008). The Welfare of Animals: The Silent Majority. Springer. pp. 98–103. ISBN 978-1-4020-9219-0.
- ↑ [a] Robert J. Muckle; Laura Tubelle de González (2015). Through the Lens of Anthropology: An Introduction to Human Evolution and Culture. University of Toronto Press. pp. 299–300. ISBN 978-1-4426-0863-4.; [b] Eliasi, Jennifer R.; Dwyer, Johanna T. (2002). "Kosher and Halal". Journal of the American Dietetic Association. Elsevier BV. 102 (7): 911–913. doi:10.1016/s0002-8223(02)90203-8.; [c] Arvind-Pal Singh Mandair (2013). Sikhism: A Guide for the Perplexed. Bloomsbury Academic. pp. 171–172. ISBN 978-1-4411-0231-7.
- ↑ Religious Nationalism, Hindus and Muslims in India, Peter van der Veer, pp. 83-94, ISBN 0-520-08256-7.
- ↑ Barbara D. Metcalf; Thomas R. Metcalf (2012). A Concise History of Modern India. Cambridge University Press. pp. 152–153. ISBN 978-1-139-53705-6.
- ↑ Peter van der Veer (1994). Religious Nationalism: Hindus and Muslims in India. University of California Press. pp. 90–91. ISBN 978-0-520-08256-4.
- ↑ From Plassey to Partition, a History of modern India, Śekhara Bandyopādhyāẏa, p. 240, ISBN 81-250-2596-0.
- ↑ Mohandas Karmchand Gandhi (2004). V Geetha (บ.ก.). Soul Force: Gandhi's Writings on Peace. London: Tara. pp. 115–117, 183–184. ISBN 978-81-86211-85-4.
- ↑ Shabnum Tejani (2008). Indian Secularism: A Social and Intellectual History, 1890-1950. Indiana University Press. pp. 43–49. ISBN 0-253-22044-0.
- ↑ James Stewart (2015). Vegetarianism and Animal Ethics in Contemporary Buddhism. Routledge. pp. 11–16, 113–126, 136–137, 142–143, 192–196. ISBN 978-1-317-62398-4.
- ↑ Erik Braun (2013). The Birth of Insight: Meditation, Modern Buddhism, and the Burmese Monk Ledi Sayadaw. University of Chicago Press. pp. 35–36. ISBN 978-0-226-00094-7.
- ↑ Matthew J. Walton (2016). Buddhism, Politics and Political Thought in Myanmar. Cambridge University Press. pp. 35, 92. ISBN 978-1-107-15569-5.
- ↑ LTD, Lankacom PVT. "The Island". www.island.lk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-24. สืบค้นเมื่อ 2018-08-24.
- ↑ "The states where cow slaughter is legal in India". The Indian Express (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2015-10-08. สืบค้นเมื่อ 2018-08-24.