กุญแจย่อยของซาโลมอน
กุญแจย่อยของซาโลมอน (อังกฤษ: Lesser Key of Solomon) หรือ คลาวิคิวลา ซาโลมอนิส (Clavicula Salomonis) (คลาวิคูลา ซาโลมอนิส หรือ กุญแจของซาโลมอน เป็นหนังสือที่มีครอบคลุมเนื้อหาเดียวกันที่มีมาก่อนหน้า) เป็นตำราเวทซึ่งไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเป็นหนังสือที่แพร่หลายที่สุดในปิศาจวิทยา[1][2] รวมถึงยังเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในอีกชื่อคือ เลเมเกทัน (Lemegeton)
ประวัติ
[แก้]กุญแจย่อยของซาโลมอนปรากฏในคริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่เนื้อหาภายในนั้นส่วนใหญ่เคยปรากฏในข้อเขียนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 เช่น ซูโดโมนาร์เชีย แดโมนัม ของโยฮัน เวเยอร์ และตำราเวทในยุคกลางเล่มอื่นๆ บางส่วนของเนื้อหาเช่นการเรียกปิศาจนั้นมีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14
ในหนังสืออ้างว่าประพันธ์โดยซาโลมอน แต่ค่อนข้างเชื่อได้ว่าเป็นความเท็จเนื่องจากยศที่ใช้กับปิศาจ เช่น มาร์ควิส หรือ เอิร์ล นั้นยังไม่ปรากฏในสมัยของซาโลมอน นอกจากนั้นยังมีคำสวดถึงพระเยซูและพระตรีเอกานุภาพปรากฏในหนังสือด้วย
กุญแจย่อยของซาโลมอนมีรายละเอียดของภูตและการอัญเชิญเพื่อใช้งาน ซึ่งรายละเอียดนี้รวมถึงตราพิทักษ์และพิธีกรรมซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการควบคุมและป้องกันตัวจากภูต ในตำราที่พบเดิมนั้นรายละเอียดจะแตกต่างกันไปในหลายๆฉบับ[3]
เนื้อหา
[แก้]กุญแจย่อยของซาโลมอนนั้นแบ่งเป็น 5 บท
อาร์สโกเอเทีย
[แก้]ศาสตร์แห่งโกเอเทีย กล่าวถึงปิศาจ 72 ตนที่กล่าวว่าซาโลมอนเคยเรียกขึ้นมาใช้งานโดยขังไว้ในภาชนะทองเหลืองที่ผนึกด้วยตราเวท อาร์สโกเอเทียบรรยายถึงการสร้างภาชนะแบบเดียวกันและใช้เวทมนตร์เรียกปิศาจ โดยระบุถึงยศของปิศาจแต่ละตนในนรกและดวงตราผนึกที่ใช้ควบคุม
ในค.ศ. 1904 แซมมวล แมเธอร์ส และ อเลสเตอร์ โครลีย์ ได้แปลและเรียบเรียงอาร์สโกเอเทียเป็นภาษาอังกฤษโดยใช้ชื่อว่า เดอะ โกเอเทีย : กุญแจย่อยของกษัตริย์ซาโลมอน (คลาวิคิวลา ซาโลมอนิส เรจิส) (The Goetia: The Lesser Key of Solomon the King (Clavicula Salomonis Regis)) ซึ่งเป็นตำราสำคัญในระบบเวทมนตร์ของโครลีย์[4]
ปิศาจ 72 ตน
[แก้]
1. ราชา บาเอล |
25. เคานต์/ประมุข กลาเซีย ลาโบลัส |
49. ดยุก ครอเคล |
อาร์สทิวร์เกียโกเอเทีย
[แก้]เป็นบทที่สอง อธิบายถึงชื่อ ลักษณะ และผนึกของภูตอากาศ 31 ตน (แต่ละตนมียศเป็น หัวหน้า, จักรพรรดิ, ราชา และ เจ้าชาย) ซึ่งซาโลมอนเคยเรียกและควบคุม วิธีการป้องกันตัวจากภูติ ชื่อของภูติรับใช้ พิธีอัญเชิญและใช้งาน ภูติเหล่านี้มีทั้งดีและเลว ภูติเหล่านี้สามารถใช้ค้นหาสิ่งที่ซ่อนอยู่ เปิดเผยความลับของบุคคล และขนย้ายวัตถุใดๆได้ตราบที่ถูกควบคุมไว้ด้วยธาตุทั้งสี่ ภูติเหล่านี้ถูกระบุถึงด้วยลำดับที่ซับซ้อนในหนังสือ[5]
อาร์สพอลลินา
[แก้]ศาสตร์แห่งพอลเป็นบทที่สาม ซึ่งในตำนานนั้นเป็นศาสตร์ที่นักบุญพอลเป็นผู้ค้นพบ แต่ในหนังสือเล่มนี้ระบุว่าเป็น "ศาสตร์พอลไลน์ของซาโลมอน " ศาสตร์แห่งพอลนี้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายตั้งแต่สมัยกลาง ในหนังสือเล่มนี้แบ่งเป็นสองบทย่อย
โดยบทแรกนั้นอธิบายถึงเทวทูตในช่วงเวลาต่างๆของวันและคืน ซึ่งรวมถึงรายละเอียดเรื่องผนึก พฤติกรรม ผู้รับใช้ (เรียกว่าดุ๊ค) ความสัมพันธ์กับดาวเคราะห์ทั้งเจ็ดที่รู้จักในขณะนั้น ตำแหน่งของดวงดาวที่เหมาะสม รายชื่อ และวิธีการอัญเชิญเทวทูตเหล่านั้น
ส่วนบทย่อยที่สองกล่าวถึงเทวทูตผู้ปกครองจักรราศี ตำแหน่งทางดาราศาสตร์ ความสัมพันธ์กับธาตุทั้งสี่ ชื่อ และผนึก เทวทูตเหล่านี้เรียกว่าเทวทูตแห่งมนุษย์ เพราะมนุษย์ทั้งมวลล้วนแต่เกิดภายใต้จักรราศีทั้งสิบสอง[6]
อาร์สอัลมาเดล
[แก้]ศาสตร์แห่งอัลมาเดล เป็นบทที่สี่ ว่าด้วยการทำ อัลมาเดล ซึ่งเป็นแผ่นขี้ผึ้งที่มีตราพิทักษ์เขียนไว้และตั้งเทียนไขไว้สี่เล่ม บทนี้กล่าวถึงการเลือกสี วัสดุ และพิธีกรรมที่ใช้ในการทำอัลมาเดลและเทียนไข อาร์สอัลมาเดลยังกล่าวถึงเทวทูตที่จะเรียกมาพร้อมอธิบายวิธีอัญเชิญ ทั้งยังระบุว่าผู้อัญเชิญสามารถขอให้เทวทูตช่วยได้แต่สิ่งที่สมเหตุผลและเป็นธรรมเท่านั้น บทนี้ยังระบุเรื่องผู้ปกครองทั้งสิบสองของเทวทูต นอกจากนั้นยังมีรายละเอียดของวันและตำแหน่งของดวงดาวที่เหมาะสมกับการอัญเชิญแต่ก็ไม่ยาวนัก[7][8]
อาร์สนอทอเรีย
[แก้]ศาสตร์อันโดดเด่นเป็นบทที่ห้า เป็นตำราเวทซึ่งรู้จักกันตั้งแต่สมัยกลาง หนังสือเล่มนี้อ้างว่าศาสตร์นี้พระเจ้าได้เผยให้แก่ซาโลมอนผ่านเทวทูต บทนี้รวบรวมมนตร์ต่างๆผสมด้วยแคบบาลาห์และเวทมนตร์ในภาษาต่างๆ วิธีการสวดมนต์เหล่านี้ และความสัมพันธ์ของพิธีกรรมเหล่านี้กับการเข้าใจศาสตร์ต่างๆ ในบทนี้ยังกล่าวถึงความสัมพันธ์ของดวงจันทร์กับผู้สวดมนต์และระบุว่ามนตร์เหล่านี้เป็นการเรียกเทวทูต อาร์สนอทอเรียอ้างว่าเมื่อสวดมนต์เหล่านี้อย่างถูกต้องก็จะทำให้เข้าใจศาสตร์แขนงที่สัมพันธ์กันและยังทำให้จิตใจมั่นคง ความทรงจำดี[9][10]
ในบทนี้ยังกล่าวถึงการที่ซาโลมอนได้รับวิวรณ์จากเทวทูตอีกด้วย
รุ่น
[แก้]- Mathers, S. L. MacGregor (trans.), Crowley A. (ed.), The Goetia: The Lesser Key of Solomon the King (1904). 1995 reprint: ISBN 0-87728-847-X.
- de Laurence, L. W. (1916); 1942 reprint: ISBN 978-0-7661-0776-2; 2006 reprint: ISBN 978-1-59462-200-7
- Henson Mitch (1999), ISBN 978-0-9672797-0-1.
- Peterson, Joseph H. The Lesser Key of Solomon: Lemegeton Clavicula Salomonis (2001), ISBN 978-1-57863-220-6.
- Skinner, Stephen & Rankine, David, The Goetia of Dr Rudd: The Angels and Demons of Liber Malorum Spirituum Seu Goetia (Sourceworks of Ceremonial Magic). Golden Hoard Press, (2007). ISBN 978-0-9547639-2-3
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- J.B. Hare, online edition (2002, sacred-texts.com) (อังกฤษ)
- A correspondence chart of demons mentioned in the Key by rank, planet, etc.. (อังกฤษ)
- http://www.esotericarchives.com/solomon/goetia.htm (อังกฤษ)
- ↑ Lemegeton Clavicula Salomonis: The Lesser Key of Solomon, Detailing the Ceremonial Art of Commanding Spirits Both Good and Evil; ed. Joseph H. Peterson; Weiser Books, Maine; 2001. p.xi-xvii
- ↑ The Goetia of Dr Rudd; Thomas Rudd, Ed. Stephen Skinner & David Rankine; 2007, Golden Hoard Press. p. 399.
- ↑ บทความเรื่อง สัตว์ในเทพนิยายและตำนาน ตอนที่ 136 : Lesser Key of Solomon จากเว็บไซต์ dek-d.com สืบค้นวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
- ↑ บทความเรื่อง สัตว์ในเทพนิยายและตำนาน ตอนที่ 137 : Ars Goetia จากเว็บไซต์ dek-d.com สืบค้นวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
- ↑ Rudd, ed. Skinner & Rankine; p.53-57
- ↑ Rudd, ed. Skinner & Rankine; p.57-59
- ↑ Peterson, p. xvi
- ↑ Rudd, ed. Skinner & Rankine; p.59-60
- ↑ Peterson, p. xvii
- ↑ Rudd, ed. Skinner & Rankine; p.60-63.