กือยิวน็อตเคียฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โลโกแคมเปญ

กือยิวน็อตเคียฟ (อังกฤษ: KyivNotKiev) เป็นการรณรงค์ออนไลน์ที่จัดขึ้นโดยกระทรวงการต่างประเทศของยูเครน ร่วมกับสมาชิกศูนย์การสื่อสารเชิงกลยุทธ์ 15 คนจาก "StratCom Ukraine" ในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 2018 โดยมีเป้าหมายโน้มน้าวให้สื่อและองค์กรที่ใช้ภาษาอังกฤษใช้คำว่า กือยิว (Kyiv, จากยูเครน: Київ) เป็นชื่อเมืองหลวงของประเทศยูเครนแทน เคียฟ (Kiev, จากรัสเซีย: Киев)[1][2]

องค์กรนี้ตั้งใจที่จะยืนยันตัวตนของยูเครนในระดับสากลและช่วยสละมรดกทางภาษาของจักรวรรดิรัสเซียและสหภาพโซเวียตด้วยการสนับสนุนคำทับศัพท์ภาษายูเครนโดยเฉพาะสำหรับชื่อสถานที่ในยูเครน[3][4][5]

คำทับศัพท์ Kyiv ผ่านคำสั่งทางกฎหมายจากรัฐบาลยูเครนใน ค.ศ. 1995[6] คำทับศัพท์นี้ผ่านการยอมรับจากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการสร้างมาตรฐานชื่อทางภูมิศาสตร์ครั้งที่ 10 ใน ค.ศ. 2012 แต่ไม่ได้รับความนิยมในระดับนานาชาติ[7][8] ก่อน ค.ศ. 2019 มีองค์กรไม่กี่แห่งที่เปลี่ยนเป็นรูปสะกด "Kyiv" เนื่องจากผู้คนนอกประเทศยูเครนไม่เห็นความจำเป็นหรือคิดว่าปัญหานี้ "กำหนดจุดประสงค์ตามชาตินิยม"[4][9][10] หลังสงครามรัสเซีย-ยูเครนเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 2014 สื่อตะวันตกหลายแห่งเลือกที่จะเปลี่ยนรูปสะกดใหม่[11] สงครามและความเห็นทางการเมืองระหว่างประเทศรุนแรงขึ้นจากการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียใน ค.ศ. 2022

อ้างอิง[แก้]

  1. "МЗС України звертається до світу – вживай #KyivNotKiev" [MFA addresses the World – use #KyivNotKiev] (ภาษายูเครน). MFA of Ukraine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2019.
  2. "#KyivNotKiev: МЗС закликає світ коректно писати Київ" [#KyivNotKiev: MFA asks the World to correctly spell Kyiv] (ภาษายูเครน). BBC News Ukrainian. 3 October 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2020. สืบค้นเมื่อ 17 January 2020.
  3. "Писати Kyiv, а не Kiev. Чому це важливо?" [Writing Kyiv, but not Kiev. Why this is important?] (ภาษายูเครน). Korrespondent. 15 February 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2020. สืบค้นเมื่อ 17 January 2020.
  4. 4.0 4.1 Dickinson, Peter (21 October 2019). "Kyiv not Kiev: Why spelling matters in Ukraine's quest for an independent identity". Atlantic Council. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2020. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
  5. Bloedner, Dominik (30 July 2019). "Kiew oder Kyjiw? Die Ukraine kämpft für die Rückkehr des Ukrainischen" [Kiew or Kyjiw? ("Kiev or Kyiv?" in German romanization) Ukraine fights for return of the Ukrainian] (ภาษาเยอรมัน). Badische Zeitung. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 December 2019. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.
  6. Khalimova, Elzara; Yakutenko, Anna; Sedlerova, Alina (29 February 2020). "Kyiv, Not Kiev. Why Ukrainians care so much about their capital's spelling". Kyiv Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2020. สืบค้นเมื่อ 29 February 2020.
  7. "Tenth United Nations Conference on the Standardization of Geographical Names" (PDF). United Nations. 9 August 2012. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2021. สืบค้นเมื่อ 9 March 2020.
  8. Bozhko, Yurii (22 August 2012). "В ООН схвалили українську систему латинізації географічних назв" [UN adopted Ukrainian system of latinization of geographical names] (ภาษายูเครน). UNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2019. สืบค้นเมื่อ 17 January 2020.
  9. Zraick, Karen (13 November 2019). "Wait, How Do You Pronounce Kiev?". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2019. สืบค้นเมื่อ 18 January 2020.
  10. ""Kyiv not Kiev" – довідка для вболівальника" ["Kyiv not Kiev" – a guide for a fan] (ภาษายูเครน). Radio Free Europe/Radio Liberty. 25 May 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2020. สืบค้นเมื่อ 17 January 2020.
  11. "Kyiv not Kiev: Why spelling matters in Ukraine's quest for an independent identity". The Atlantic Council. 21 Oct 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2020. สืบค้นเมื่อ 8 March 2020.