ข้ามไปเนื้อหา

การใช้ความรุนแรงกับแฟน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การใช้ความรุนแรงกับแฟน (อังกฤษ: dating violence) หรือ การทารุณกรรมแฟน (อังกฤษ: dating abuse) ถูกให้ความหมายว่าเป็นการใช้ความรุนแรง หรือ การข่มขู่ว่าจะใช้ความรุนแรง ที่เกิดขึ้นระหว่างคู่ที่อยู่ในระหว่างการเดทหรือการจีบ และยังไม่แต่งงาน สิ่งนี้ยังหมายถึงการที่คนใดคนหนึ่งในความสัมพันธ์พยายามคงอำนาจและควบคุมอีกคนหนึ่งโดยใช้ความรุนแรงหรือการทารุณกรรม โดยอาจอยู่ในรูปแบบของการประทุษร้ายทางเพศ, การคุกคามทางเพศ, การข่มขู่, การทำร้ายร่างกาย, การข่มเหงทางวาจา ทางจิต หรือ ทางอารมณ์, การทำร้ายทางสังคม, และการเฝ้าติดตาม อาจรวมถึง การกรรโชกทางอารมณ์, การทารุณกรรมทางเพศ, ทารุณกรรมทางร่างกาย และการชักใยทางจิตวิทยา[1]

การใช้ความรุนแรงกับแฟนพบได้ในทุกชาติพันธุ์ อายุ เส้นสังคมและเศรษฐกิจ สถาบันเพื่อความตระหนักเกี่ยวกับความรุนแรงในความสัมพันธ์ บรรยายการใช้ความรุนแรงกับแฟนว่าเป็น "รูปแบบพฤติกรรมที่ใช้ความรุนแรงและบีบบังคับเพื่อคงอำนาจและการควบคุมต่อคู่ครองปัจจุบันหรือคู่ครองในอดีต"[2]

ข้อมูลของผู้กระทำและเหยื่อ

[แก้]

คนทุกเพศทุกวัยสามารถตกอยู่ในความสัมพันธ์ที่มีการทำร้าย ไม่ว่าจะมีชาติพันธุ์แบบใด รายได้เท่าไหร่ก็ตาม ทว่ามีลักษณะบางอย่างที่ผู้กระทำและเหยื่อมักมี

สถาบันสนับสนุนทางเลือกสำหรับความรุนแรงบรรยายผู้กระทำว่ามัก ขี้อิจฉาและขี้หวง, มีความมั่นใจที่ล้นหลาม, มีการแกว่งของอารมณ์ หรือ มีประวัติการใช้ความรุนแรงหรือโมโห, พยายามแยกตัวแฟนออกจากครอบครัว เพื่อน และเพื่อนร่วมงาน, และมีแนวโน้มที่จะว่าโทษสิ่งอื่น[3]

ส่วนเหยื่อในความสัมพันธ์ที่มีการทำร้ายมักมีลักษณะเช่น บาดแผลตามร่างกาย, หายไปจากที่ทำงานหรือโรงเรียน, มีความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์หรือบุคลิกภาพ, ดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้ยาเสพติดมากขึ้น, และออกห่างจากครอบครัวและเพื่อน[4] เหยื่ออาจโทษว่าความรุนแรงมีต้นเหตุจากตนเองเพื่อลดความรุนแรงของอาชญากรรม สิ่งนี้มักทำให้เหยื่อเลือกที่จะอยู่ในความสัมพันธ์ที่มีการทำร้าย

สเตราส์ (พ.ศ. 2548)[5] อ้างว่าแม้ผู้ชายจะสร้างการบาดเจ็บที่มากกว่าในความรุนแรงในครอบครัว นักวิจัยและสังคมไม่ควรมองข้าม อาการบาดเจ็บที่ทำโดยผู้หญิง โดยเขายังบันทึกว่า การกระทำโดยผู้หญิงอาจดูเหมือนเล็กน้อยทว่าอาจส่งผลร้ายแรงได้:

การทำร้ายแบบ 'เล็กน้อย' โดยผู้หญิงเป็นปัญหาใหญ่เช่นกัน แม้เมื่อพวกมันไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ เพราะว่าพวกมันทำให้ผู้หญิงตกอยู่ในอันตรายจากการเอาคืนที่ร้ายแรงกว่ามากโดยผู้ชาย [...] การที่จะจบ 'การทำร้ายภรรยา' เป็นการสำคัญที่ผู้หญิงจะหยุดสิ่งที่หลายคนเรียกว่าเป็นรูปแบบที่ 'ไม่เป็นอันตราย' เช่น การตบ, เตะ, หรือ โยนสิ่งของใส่ผู้ชาย ผู้ยังคงพฤติกรรมอุกอาจและ 'ไม่ยอมฟังเหตุผล'

ในทางเดียวกัน Deborah Capaldi [6] รายงานว่างานวิจัยความยาว 13 ปีพบว่าการรุกรานของผู้หญิงต่อผู้ชายมีความสำคัญเท่า ๆ กับ โอกาสการใช้ความรุนแรงของผู้ชาย ในการทำนายความน่าจะเป็นของความรุนแรงโดยรวม: "ด้วยความที่ความรุนแรงต่อคู่ครองเกิดขึ้นจากทั้งสองฝ่าย และทั้งผู้ผญิงและผู้ชายเป็นตัวเริ่ม การป้องกันและวิธีการรักษาควรพยายามลดความรุนแรงของผู้หญิงเช่นเดียวกับความรุนแรงของผู้ชาย โดยวิธีนี้มีโอกาสมากกว่าที่จะเพิ่มความปลอดภัยของผู้หญิง" อย่างไรก็ตาม งานวิจัยของ Capaldi  เพ่งความสนใจไปที่วัยรุ่นที่มีความเสี่ยง ไม่ใช่ผู้หญิงทั่วไป ดังนั้นไม่จึงไม่สามารถนำมาใช้กับประชากรทั้งหมด

คุณลักษณะ

[แก้]

การห่มเหงทางอารมณ์

[แก้]
  • เขา/เธอ กลัวแฟนของตน
  • เขา/เธอ กลัวที่จะทำให้แฟนโกรธและไม่สามารถแม้แต่จะไม่เห็นด้วยกับแฟน
  • เขา/เธอ ถูกแฟนทำให้อับอายและขายหน้า

การข่มเหงทางจิต

[แก้]
  • แฟนขู่ว่าจะใช้ความรุนแรงกับ เขา/เธอ หรือ ต่อตนเอง เช่น การพูดว่า "หากเธอทิ้งฉันไป ฉันจะฆ่าตัวตาย"

การทารุณกรรมทางเพศ

[แก้]
  • แฟนบังคับให้คู่ของ เขา/เธอ มีเพศสัมพันธ์กับ เขา/เธอ
  • เขา/เธอ กลัวที่จะปฏิเสธเมื่อแฟนขอร่วมเพศด้วย
  • แฟนไม่ให้ความเคารพต่อ เขา/เธอ ทว่าสนใจเพียงการตอบสนองความต้องการทางเพศของตนเท่านั้น
  • แฟนไม่สนใจต่อผลของการร่วมเพศ หรือความรู้สึกของคู่

การทารุณกรรมทางร่างกาย

[แก้]
  • เขา/เธอ ถูกแฟนทำร้ายร่างกายโดย
  • แฟนเคยยึดไม่ให้ เขา/เธอ ขยับ, ผลัก, หรือ แม้กระทั่ง ต่อย,เตะ, หรือปาของใส่ เขา/เธอ

พฤติกรรมทางการควบคุม

[แก้]
  • แฟนพยายามห้าม เขา/เธอ ไม่ให้พบกับเพื่อน
  • เขา/เธอ ถูกห้ามไม่ให้ติดต่อครอบครัว
  • เขา/เธอ ถูกบังคับให้เลือกระหว่างแฟน กับ ครอบครัวและเพื่อน
  • แฟนยืนยันว่าต้องการจะรู้ว่า เขา/เธอ อยู่ที่ไหนตลอดเวลาและขอให้อธิบายเหตุผลของทุกอย่างที่ทำ
  • แฟนจะโมโหมากหาก เขา/เธอ พูดกับ หญิง/ชาย อื่น
  • แฟนคาดหมายให้ เขา/เธอ ขออนุญาตก่อนจะดูแลสุขภาพตนเอง
  • แฟนกำหนดชุดที่ เขา/เธอ ใส่และรูปแบบที่ เขา/เธอ ปรากฏในสาธารณะ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Family and Community Development @eCitizen". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-30. สืบค้นเมื่อ 2017-12-27.
  2. http://www.stoprelationshipabuse.org/signs.html
  3. Centre for Promoting Alternatives to Violence http://www.pavecentre.org.sg/ เก็บถาวร 2010-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. "Dating Violence, (ACADV)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-10-08. สืบค้นเมื่อ 2017-12-27.
  5. Strauss, Murray A. (2005) "Women's Violence Towards Men Is A Serious Social Problem เก็บถาวร 2015-11-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน."
  6. "quoted in Sacks, Glenn. (2009) Researcher Says Women's Initiation of Domestic Violence Predicts Risk to Women." on HuffingtonPost.com, 6 July 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
แหล่งข้อมูลในประเทศไทย
แหล่งข้อมูลในประเทศแคนาดา
แหล่งข้อมูลในสหราชอาณาจักร
แหล่งข้อมูลในสหรัฐอเมริกา