ข้ามไปเนื้อหา

การเลือกตั้งผู้ว่าการเกาะฮ่องกง พ.ศ.2539

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งผู้ว่าการเกาะฮ่องกง พ.ศ.2539

11 ธันวาคม 2539 2545 →

400 ผู้มีสิทธิเลือกจากคณะกรรมการเลือกตั้ง
ต้องการ 201 เสียงจึงชนะ
การหยั่งเสียง
ผู้ใช้สิทธิ99.50%
 
ผู้ได้รับเสนอชื่อ ต่ง เจี้ยนหฺวา หยาง เถี่ยเหลียง ปีเตอร์ อู๋
พรรค ไม่สังกัดพรรคการเมือง ไม่สังกัดพรรคการเมือง ไม่สังกัดพรรคการเมือง
พันธมิตร สนับสนุนรัฐบาลจีน สนับสนุนรัฐบาลปักกิ่ง สนับสนุนรัฐบาลปักกิ่ง
คะแนนคณะผู้เลือกตั้ง 320 42 36
% 80.40% 10.55% 9.05%

ผู้สำเร็จราชการบริติชฮ่องกงก่อนการเลือกตั้ง

คริสต์ แพตเทิน

ผู้ว่าการที่ได้รับเลือกตั้ง

ต่ง เจี้ยนหฺวา

การเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐฮ่องกง พ.ศ.2539 จัดขึ้นในวันที่ 11 ธันวาคม 2539 โดยนับเป็นการเลือกตั้งเพื่อหาคนที่จะมารับตำแหน่งผู้ว่าการใหญ่ของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ซึ่งผู้ว่าการรัฐคนใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งในครั้งนี้จะเริ่มเข้ามาบริหารในวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 หลังจากที่อังกฤษส่งมอบเกาะฮ่องกงให้กับจีน

สำหรับการเลือกตั้งในครั้งนี้ จะเป็นการเลือกตั้งผ่านระบบการเลือกตั้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 400 คน ซึ่งล้วนแล้วแต่ถูกคัดเลือกแต่งตั้งมาจากรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งผลจากการเลือกตั้ง ทำให้ต่ง เจี้ยนหฺวา นักธุรกิจใหญ่นฮ่องกงผู้มีความสัมพันธ์อันดีกับเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน เจียง เจ๋อหมิน ได้ชนะการเลือกตั้งโดยผลคะแนนขาดลอยเหนือคู่แข่งทั้งหมด ทำให้เขาได้ขึ้นเป็นผู้ว่าการเกาะฮ่องกงคนแรกตามระบบการเลือกตั้งใหม่ของจีน

การเลือกตั้งในครั้งนี้ถูกขนานนามจากทางจีนว่าเป็น “รุ่งอรุณแห่งประชาธิปไตยใหม่ของฮ่องกง” อย่างไรก็ตามนี้เป็นเพียงวาทกรรม ในการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีประชาชนหรือประชาธิปไตยที่แท้จริงอยู่ในสมการเลย และการกีดกันตัวแทนจากฝ่ายเสรีนิยมนี้ยังทำให้เกิดการเคลื่อนไหวประท้วงทั่วไปในเกาะฮ่องกงอีกด้วย

กระบวนการเลือกตั้ง

[แก้]

ตามธรรมนูญแผ่นดินของฮ่องกง ซึ่งเปรียบได้ดั่งรัฐธรรมนูญของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ได้บัญญัติบทบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งของตัวผู้ว่าการคนแรกเอาไว้ว่า ผู้ว่าการเกาะฮ่องกงจะมาจากการเลือกตั้งโดยคณะกรรมการเลือกตั้ง ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งเหล่านี้จะมาจากการคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งจากปักกิ่ง ซึ่งด้วยระบบนี้ทำให้ตัวแทนส่วนมากมาจากพรรคการเมืองหรือกลุ่มคนที่สนับสนุนรัฐบาลปักกิ่ง ในขณะเดียวกันยังกีดกันผู้สมัครจากพรรคสายเสรีนิยมออกจากกระบวนการขึ้นสู่อำนาจด้วย ซึ่งนี่นับเป็นรูปแบบของการเลือกตั้งทุกครั้งนับตั้งแต่ฮ่องกงกลับสู่เงื้อมมือของจีน