ข้ามไปเนื้อหา

การเมืองภายหลังความจริง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเมืองภายหลังความจริง (หรือเรียก การเมืองภายหลังข้อเท็จจริง) เป็นวัฒนธรรมการเมืองซึ่งมีการวางกรอบการอภิปรายส่วนใหญ่โดยการเน้นอารมณ์ (appeals to emotion) ที่ไม่เชื่อมต่อกับรายละเอียดของนโยบาย และโดยการแสดงข้อความโน้มน้าว (talking point) ซ้ำ ๆ ที่เพิกเฉยการโต้แย้งข้อเท็จจริง การเมืองภายหลังความจริงต่างจากการคัดค้านและการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จซึ่งความจริงโดยทำให้ความจริงกลายเป็นมีความสำคัญ "รองลงไป" แม้มีการอธิบายปัญหาดังกล่าวว่าเป็นปัญหาร่วมสมัย แต่มีความเป็นไปได้ว่าปัญหานี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตการเมืองมานานแล้ว แต่ไม่ค่อยโดดเด่นนักจนกระทั่งมีอินเทอร์เน็ต ในนวนิยาย หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ จอร์จ ออร์เวลล์สร้างโลกซึ่งรัฐเปลี่ยนบันทึกประวัติศาสตร์รายวันเพื่อให้เข้ากับเป้าหมายโฆษณาชวนเชื่อของวันนั้น ออร์เวลล์ยึดการวิจารณ์ข้อนี้ส่วนมากต่อการปฏิบัติในโซเวียตรัสเซีย

จุดกำเนิดร่วมสมัยของคำนี้มาจากบล็อกเกอร์ เดวิด โรเบิตส์ซึ่งใช้คำนี้ในคอลัมน์ของกริสต์ในปี 2553 นักวิจารณ์การเมืองระบุการเมืองภายหลังความจริงว่ามีอิทธิพลมากที่สุดในการเมืองรัสเซีย จีน อเมริกัน ออสเตเรลีย บริติช อินเดีย ญี่ปุ่นและตุรกี ตลอดจนในพื้นที่อภิปรายอื่น ซึ่งขับเคลื่อนโดยวัฏจักรข่าว 24 ชั่วโมง ความสมดุลเท็จในการรายงานข่าวและความแพร่หลายของสื่อสังคมที่เพิ่มขึ้น ในปี 2559 พจนานุกรมอ็อกซ์ฟอร์ดเลือกคำว่า "หลังความจริง" (post-truth) เป็นคำแห่งปี เนื่องจากความแพร่หลายในบริทของการลงประชามติเบร็กซิตและการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปีนั้น