ข้ามไปเนื้อหา

การเข้าเป็นทหารของกลุ่มคนแอลจีบีที

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลทหารเรือกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศสหรัฐกำลังเฉลิมฉลองเดือนไพรด์ในเรือยูเอสเอส ตริโปริ

กลุ่มคนอย่างเกย์, เสลเบียน, รักร่วมสองเพศ, กะเทย, และเควียร์ (แอลจีบีทีคิว) สามารถเข้ารับการเป็นทหารได้ในกองทัพหลายที่ทั่วโลก: ประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ประเทศตะวันตก รวมทั้งบางประเทศในทวีปอเมริกาใต้ เช่น ประเทศอาร์เจนตินาและประเทศชิลี[1][2]และอย่างประเทศแอฟริกาใต้, และประเทศอิสราเอล[3] แต่สิทธิของกลุ่มอินเทอร์เซ็กซ์ยังคลุมเคลือ

อัตรานี้สอดคล้องกับอันดับโลกล่าสุดเกี่ยวกับการยอมรับรักร่วมเพศ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการยอมรับชุมชนแอลจีบีทีกำลังแพร่หลายมากเฉพาะในรัฐฆราวาสและรัฐมั่งคั่งเท่านั้น[4]

อย่างไรก็ตาม นโยบายที่ยอมรับต่อทหารที่เป็นชายรักร่วมเพศและหญิงรักร่วมเพศไม่ได้รับประกันว่ากลุ่มคนแอลจีบีทีจะมีภูมิคุ้มกันต่อการเลือกปฏิบัติในสังคมนั้น แม้แต่ในประเทศที่บุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศมีอิสระที่จะรับราชการทหาร นักเคลื่อนไหวยังเรียกร้องว่ายังต้องปรับปรุง ประเทศอิสราเอล เป็นประเทศตัวอย่างที่ยังมีอคติต่อกลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศ แต่ในกองทัพมีทหารที่เป็นชายรักร่วมเพศเข้ารับการเป็นทหารอย่างเปิดเผย[5][6]

ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นสังคมที่ยอมรับกับหลีกเลี่ยงนายทหารที่เป็นชายรักร่วมเพศอย่างเปิดเผยภายในกองทัพ แต่ตอนนี้มีการเริ่มพิจารณาถึงความเหมาะสมของวลีที่มีชื่อเสียงในปี พ.ศ. 2553 ว่า "ห้ามถาม ห้ามบอก [ว่าเป็นนายทหารกองทัพเป็นชายรักร่วมเพศหรือหญิงรักร่วมเพศ]" ในสหรัฐกำลังเป็นที่สนใจในนานาชาติ โดยได้ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติ ความรุนแรง และความยากลำบากของทหารที่ระบุว่าเป็นแอลจีบีทีต้องเผชิญ ตลอดจนข้อโต้แย้งและต่อต้านการห้ามเข้ารับเรียกเป็นทหาร[7]

ในประเทศไทย การเกณฑ์ทหารจัดให้กลุ่มคนกะเทยหรือคนข้ามเพศจัดอยู่ในกลุ่มคนที่ไม่เรียกเข้ารับราชการทหาร โดยจัดอยู่จำพวกกลุ่มบุคคลที่เพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด ทั้งนี้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ทางเพศด้วยการดัดแปลงร่างกายหรือมีใบรับรองแพทย์ยืนยันเท่านั้น[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Chile's National Military Announce a Milestone in Sexual Orientation". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2015. สืบค้นเมื่อ 26 August 2014.
  2. "Gay rights group lauds efforts to make Chilean military more inclusive". The Santiago Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2014. สืบค้นเมื่อ 13 August 2014.
  3. Frank, Nathaniel. "How Gay Soldiers Serve Openly Around the World". NPR. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2019. สืบค้นเมื่อ 25 November 2013.
  4. "The Global Divide on Homosexuality Greater Acceptance in More Secular and Affluent Countries". Pew Research Center. 2013-06-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-03. สืบค้นเมื่อ 29 November 2013.
  5. Yaron, Oded (2013-12-12). "Israeli LGBTQ activists mobilize online after gay rights bill fails". Haaretz. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 17 December 2013.
  6. Sherwood, Harriet (2012-06-13). "Israeli military accused of staging gay pride photo". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-22. สืบค้นเมื่อ 17 December 2013.
  7. Bacon, Perry (2010-05-28). "House votes to end 'don't ask, don't tell' policy". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-23. สืบค้นเมื่อ 17 December 2013.
  8. บีบีซี. เกณฑ์ทหาร : กลุ่มคนหลากหลายทางเพศต้องทำอย่างไรกับการได้มาซึ่งสิทธิ์ไม่ต้องเกณฑ์ทหาร. 2563.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • Belkin, Aaron; และคณะ (2013). "Readiness and DADT Repeal: Has the New Policy of Open Service Undermined the Military?". Armed Forces & Society. 39 (4): 587–601. doi:10.1177/0095327x12466248. S2CID 145357049.
  • Belkin, Aaron; Levitt, Melissa (2001). "Homosexuality and the Israel Defense Forces: Did Lifting the Gay Ban Undermine Military Performance?". Armed Forces & Society. 27 (4): 541–565. doi:10.1177/0095327x0102700403. PMID 17514841. S2CID 46711656.
  • Burg, B. R. (2002) Gay Warriors: A Documentary History from the Ancient World to the Present (New York University Press, 2002)
  • De Angelis, Karin, et al. (2013) "Sexuality in the military." in International Handbook on the Demography of Sexuality (Springer Netherlands, 2013) pp 363–381.
  • Frank, Nathaniel, ed. (2010) Gays in foreign militaries 2010: A global primer online
  • Frank, Nathaniel. (2013) "The President's Pleasant Surprise: How LGBT Advocates Ended Don't Ask, Don't Tell," Journal of homosexuality 60, no. 2-3 (2013): 159–213.
  • Frank, Nathaniel. (2009) Unfriendly Fire: How the Gay Ban Undermines the Military and Weakens America
  • Okros, Alan, and Denise Scott. (2014) "Gender Identity in the Canadian Forces A Review of Possible Impacts on Operational Effectiveness." Armed Forces & Society 0095327X14535371.
  • Polchar, Joshua, et al. (2014) LGBT Military: A Strategic Vision for Inclusion (The Hague Centre for Strategic Studies, 2014)
  • Oblea, Pedro N.; Adams, Ashley R.; Nguyen-Wu, Elizabeth D.; Hawley-Molloy, Joshua S.; Balsam, Kimberly; Badger, Terry A.; Witwer, Amanda R.; Cartwright, Joel (2022). "Lesbian Gay Bisexual Transgender and Queer Health-Care Experiences in a Military Population". Journal of Homosexuality. 70 (6): 1098–1118. doi:10.1080/00918369.2021.2015952. PMID 35007488. S2CID 245873137.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]