การเกิดเอ็มบริโอมนุษย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเกิดเอ็มบริโอมนุษย์ เป็นการศึกษาการเจริญของมนุษย์ระหว่างแปดสัปดาห์แรกตั้งแต่การเกิดเซลล์สืบพันธุ์ (การเจริญของสเปิร์มและโอโอไซต์) ผ่านการปฏิสนธิ (การผสมสเปิร์มกับโอโอไซต์) ไปจนถึง 8 สัปดาห์หลังการฝังตัวของไซโกต (ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ) ในมดลูก หลังสัปดาห์ที่ 8 ของการฝังตัว เอ็มบริโอที่กำลังเจริญกลายเป็นทารกในครรภ์ โดยปกติ บุคคลส่วนใหญ่ใช้เวลาเก้าเดือนแรกของชีวิต (38 สัปดาห์ หรือ 266 วัน) ภายในมดลูกของมารดา

การเกิดเอ็มบริโอมนุษย์เป็นขบวนการการแบ่งเซลล์และการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ของเอ็มบริโอมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงแรกของการเจริญ ซึ่งการเจริญของมนุษย์นั้นเริ่มตั้งแต่เซลล์สืบพันธุ์ (โอวุมและตัวอสุจิ) ผ่านการปฏิสนธิ การเจริญก่อนคลอด และเติบโตสู่วัยผู้ใหญ่

ระหว่างขั้นนี้ การปฏิสนธิสร้างไซโกต ซึ่งนิยามเป็นเอ็มบริโอ เพราะมีสารพันธุกรรมครบถ้วน ในมนุษย์ เอ็มบริโอถูกเรียกว่าทารกในครรภ์ในการเจริญก่อนคลอดขั้นหลัง การเปลี่ยนจากเอ็มบริโอเป็นทารกในครรภ์นั้นไม่มีกำหนดชัดเจน แต่เกิด 8 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิหรือ 8 สัปดาห์หลังการฝังตัว ทารกในครรถ์มีลักษณะภายนอกเห็นได้ชัดเจนว่าเอ็มบริโอ และมีกลุ่มอวัยวะภายในที่กำลังเจริญสมบูรณ์กว่า ขบวนการทั้งหมดเกี่ยวข้องกับการประสานการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีน การเติบโตและการเปลี่ยนสภาพของเซลล์บางตำแหน่งชั่วคราว ขบวนการที่เกือบเหมือนกันยังเกิดในสปีชีส์อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบรรดาสัตว์มีแกนสันหลัง