ข้ามไปเนื้อหา

การสังหารหมู่คนผิวดำที่ทัลซา

พิกัด: 36°09′34″N 95°59′11″W / 36.1594°N 95.9864°W / 36.1594; -95.9864
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การสังหารหมู่คนผิวดำที่ทัลซา
เป็นส่วนหนึ่งของ จุดต่ำสุดของความสัมพันธ์ระหว่างคนต่างสีผิวชาวอเมริกัน
ซากของบ้านและธุรกิจที่ถูกเผาทำลายในกรีนวูด
สถานที่อำเภอกรีนวูด เมืองทัลซา รัฐโอคลาโฮมา สหรัฐ
พิกัด36°09′34″N 95°59′11″W / 36.1594°N 95.9864°W / 36.1594; -95.9864
วันที่31 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 1921
เป้าหมายคนผิวดำ บ้านเรือน ธุกิจ โบสถ์ โรงเรียน และสิ่งก่อสร้างของเทศบาลในพื้นที่กว่า 40 บล็อกที่เป็นของคนผิวดำ
อาวุธปืน, ระเบิด, วางเพลิง, ระเบิดเพลิงหย่อนจากเครื่องบิน[1]
ตายไม่ทราบจำนวนทั้งหมด:
เสียชีวิตรวม 36; คนดำ 26, คนขาว 10 (บันทึกในปี 1921)
เสียชีวิต คนดำ 150–200, คนขาว 50 (ประมาณในปี 1921 โดย W.F. ไวท์)[2]
ยืนยันแล้ว 39 ราย, 75–100 ถึง 150–300 โดยประมาณ (ผลการศึกษาจากปี 2001)[3]
เจ็บ800+
สาหัส 183[3]
ไม่ทราบจำนวนทั้งหมด
ผู้ก่อเหตุม็อบคนอเมริกันผิวขาว[4][5][6]

การสังหารหมู่คนผิวดำที่ทัลซา (อังกฤษ: Tulsa race massacre) เกิดขึ้นระหว่าง 31 พฤษภาคม ถึง 1 กรกฎาคม 1921 ที่ซึ่งม็อบคนผิวขาว ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับมอบหมายและได้รับอาวุธจากเจ้าหน้าที่รัฐบาลของเมืองทัลซา เข้าโจมตีผู้อยู่อาศัยผิวดำและทำลายบ้านเรือนและธุรกิจของคนผิวดำในอำเภอกรีนวูด เมืองทัลซา รัฐโอคลาโฮมา ของสหรัฐ บางทีเรียก การจลาจลเหตุสีผิวที่ทัลซา (อังกฤษ: Tulsa race riot)[7] หรือ การสังหารหมู่วอลล์สตรีทของคนผิวดำ (อังกฤษ: Black Wall Street massacre)[8] เหตุการณ์นี้เป็นหนึ่งใน "เหตุการณ์เดี่ยวที่เลวร้ายที่สุดใสความรุนแรงเหตุสีผิวในสหรัฐ"[9] การโจมตีมีจากทั้งภาคพื้นดินและจากเครื่องบินส่วนตัว ส่งผลให้ย่านคนผิวดำพื้นที่กว่า 35 บล็อกถูกเผาและทำลาย ย่านคนผิวดำที่กรีนวูดนี้ในขณะนั้นเป็นย่านคนผิวดำที่ร่ำรวยที่สุดในสหรัฐ จนเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "วอลล์สตรีทของคนผิวดำ" (Black Wall Street)[10]

มีรายงานผู้ถูกส่งเข้าโรงพบาบาลมากกว่า 800 คน และมีรายงานคนผิวดำสูงถึง 6,000 ที่ถูกกักกัน จำนวนมากถูกกักกันเป็นเวลาอีกหลายวัน[11] สำนักสถิติการเกิด-ตายของรัฐโอคลาโฮมา (Oklahoma Bureau of Vital Statistics) รายงานยอดเสียชีวิตอย่างเป็นทางการที่มีบันทึกไว้อยู่ที่ 36 ราย[12] ในปี 2001 มีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเหตุการณ์และยืนยันยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 39 ราย ในจำนวนนี้เป็นคนดำ 26 ราย และคนขาว 13 ราย โดยรวบรวมจากรายงานการผ่าชันสูตรศพร่วมสมัย, มรณบัตร และบันทึกอื่น ๆ[13] นอกจากนี้ยังรายงานประมาณยอดเสียชีวิตเป็นช่วงอยู่ที่ 75 ถึง 300 ราย[14][15]

การสังหารหมู่เริ่มต้นขึ้นระหว่างสุดสัปดาห์ของวันเมมอเรียล หลังชายวัย 19 ปี ดิก โรวแลนด์ คนขัดรอบเท้าผิวดำถูกกล่าวโทษว่าเป็นผู้ฆาตกรรมแซราห์ เพจ (Sarah Page) สตรีวัย 17 ปี ผิวขาว คนควบคุมลิฟต์โดยสารของอาคารเดร็กเซล (Drexel Building) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กัย โรว์แลนด์ถูกนำเข้ากระบวนการตัดสินคดี หลังเขาถูกจับกุม ได้มีข่าวลือแพร่สะพัดไปทั่วเมืองว่าโรวแลนด์จะถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ หลังมีรายงานว่ามีม็อบคนขาวตำนวนหลายร้อยคนรสมตัวกันรอบทัณฑสถานที่กักขังโรว์แลนด์ ก็ได้มีกลุ่มชายผิวดำจำนวน 75 คน บางส่วนมีอาวุธ เดินทางไปที่ทัณฑสถานเพื่อป้องกันความปลอดภัยให้กับโรว์แลนด์ว่าเขาจะไม่ถูกนำไปแขวนคอ นายอำเภอโน้มน้าวให้กลุ่มออกจากทัณฑสถาน และให้คำสัญญาว่าเหตุการณ์จะอยู่ภายใต้การควบคุม ระหว่างนั้นมีเสียงปืนดังขึ้น ทันใดนั้น "ทุกอย่างก็วุ่นวายชิบหายวายป่วง" (all hell broke loose) ตามรายงานของนายอำเภอ หลังการยิงกันสิ้นสุด มีผู้เสียชีวิต 12 ราย เป็นคนขาว 10 ราย และคนดำ 2 ราย หลังข่าวการยิงกันนี้แพร่กระจายไปทั่วเมืองทัลซา ม็อบที่เกรี้ยวกราดก็ปะทุออก[2] โดยผู้ก่อการจลาจลผิวขาวบุกเข้าทำลายทรัพย์สินของคนผิวดำ จนกระทั่วเวลาราวเที่ยงวันของวันที่ 1 องครักษ์แห่งชาติประจำรัฐโอคลาโฮมาประกาศใช้กฎอัยการศึก ถือเป็นการสิ้นสุดเหตุสังหารหมู่

หลังเหตุการณ์ มีคนผิวดำราว 10,000 คนถูกทิ้งไร้ที่อยู่อาศัยจากการถูกเผาทำลายบ้านเรือนและมูลค่าความเสียหายราว $1.5 ล้าน สำหรับอสังหาริมทรัพย์ และ $750,000 สำหรับทรัพย์สินส่วนบุคคล (เทียบเท่า $34.18 ล้าน ในปี 2021) ผู้รอดชีวิตส่วนใหญ่ย้ายออกจากเมือง ส่วนคทั้งคนขาวและคนดำที่ยังเหลืออยู่ในเมืองล้วนเงียบไม่พูดถึงเหตุการณ์อีก ส่งผลให้เหตุการณ์นี้สูญหายไปตามกาลเวลา และถูกนำออกจากประวัติศาสตร์ท้องถิ่น รัฐ และรัดับชาติ

ในปี 1996 หรือ 75 ปีหลังเหตุการณ์ กลุ่มซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจากทั้งสองพรรคของสหรัฐในสภานิติบัญญัติของรัฐได้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการรัฐโอคลาโฮมาเพื่อศึกษาเหตุการณ์จลาจลเหตุสีผิวที่ทัลซาในปี 1921 (Oklahoma Commission to Study the Tulsa Race Riot of 1921) ในรายงานฉบับสุดท้ายของคณะซึ่งตีพิมพ์ในปี 2001 ระบุว่าเจ้าหน้าที่รัฐของเมืองทัลซามีส่วนรู้เห็นเป็นใจให้กับม็อบคนขาว และในรายงานเสนอให้ทำการเยียวยา ผู้รอดชีวิตและทายาท[16] รัฐอนุมัติให้มีการมอบทุนการศึกษาให้กับทายาทของผู้รอดชีวิต และสร้างสวนสาธารณะระลึกถึงเหยื่อในปี 2010 ในปี 2020 เหตุการณ์นี้ถูกเพิ่มเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาขั้นพื้นฐานในรัฐ[17]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Oklahoma Commission 2001, p. 196.
  2. 2.0 2.1 Humanities, National Endowment for the (June 18, 1921). "The broad ax. [volume] (Salt Lake City, Utah) 1895–19??, June 18, 1921, Image 1". The Broad Ax. ISSN 2163-7202. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2019. สืบค้นเมื่อ October 23, 2019.
  3. 3.0 3.1 Willows 1921, p. [ต้องการเลขหน้า].
  4. Rooney, Lt. Col. LJF; Daley, Charles (June 3, 1921). "Letter from Lieutenant Colonel L.J.F. Rooney and Charles Daley Of the Inspector General's Department to the Adjutant General, June 3, 1921". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 3, 2018. สืบค้นเมื่อ December 3, 2018.
  5. Franklin 1931, pp. 8, 10.
  6. Oklahoma Commission 2001, pp. 193, 196.
  7. White, Walter F. (August 23, 2001). "Tulsa, 1921". The Nation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 12, 2018. สืบค้นเมื่อ September 16, 2018.
  8. "Nearly 100 Years Later, Tulsa Begins Search for Mass Graves From 1921 Black Wall Street Massacre". The Root. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 9, 2019. สืบค้นเมื่อ October 9, 2019.
  9. Ellsworth, Scott (2009). "Tulsa Race Riot". The Encyclopedia of Oklahoma History and Culture. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 13, 2020. สืบค้นเมื่อ December 31, 2016.
  10. Huddleston Jr, Tom (2020-07-04). "'Black Wall Street': The history of the wealthy black community and the massacre perpetrated there". CNBC. สืบค้นเมื่อ 2020-08-30.
  11. Messer, Chris M.; Beamon, Krystal; Bell, Patricia A. (2013). "The Tulsa Riot of 1921: Collective Violence and Racial Frames". The Western Journal of Black Studies. 37 (1): 50–59. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2020. สืบค้นเมื่อ June 11, 2020.
  12. Various (February 21, 2001). Report on Tulsa Race Riot of 1921 (ภาษาอังกฤษ). Oklahoma Commission to Study the Tulsa Race Riot of 1921. p. 123. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 21, 2020. สืบค้นเมื่อ June 22, 2020. (...) the official count of 36 (...)
  13. Oklahoma Commission 2001, p. 114.
  14. Oklahoma Commission 2001, pp. 13, 23.
  15. White, Walter F. (August 23, 2001). "Tulsa, 1921". The Nation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0027-8378. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 12, 2020. สืบค้นเมื่อ June 27, 2020.
  16. Oklahoma Commission 2001, p. [ต้องการเลขหน้า].
  17. Connor, Jay (2020). "The 1921 Tulsa Race Massacre Will Officially Become a Part of the Oklahoma School Curriculum Beginning in the Fall". The Root. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 21, 2020. สืบค้นเมื่อ February 21, 2020.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Brophy, Alfred L. (2002). Reconstructing the Dreamland: The Tulsa Race Riot of 1921, Race Reparations, and Reconciliation. New York: Oxford University Press. ISBN 0-19-514685-9. "[T]the best account of the 1921 Tulsa riot, which drew wide acclaim from historians and others." – Rao, Gautham (September 2017). "University, Court, and Slave: Pro-Slavery Thought in Southern Colleges and Courts and the Coming of Civil War by Alfred L. Brophy (review)". Journal of the Civil War Era. 7 (3): 481–483. doi:10.1353/cwe.2017.0069. S2CID 148763755.
  • Ellsworth, Scott (1992). Death in a Promised Land: The Tulsa Race Riot of 1921. Baton Rouge, LA: Louisiana State University Press. ISBN 978-0-8071-1767-5. สืบค้นเมื่อ March 29, 2016.
  • Franklin, Buck Colbert (August 22, 1931). "The Tulsa Race Riot and Three of Its Victims". National Museum of African American History and Culture. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 3, 2018. สืบค้นเมื่อ December 3, 2018. Full text. เก็บถาวร ตุลาคม 27, 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Halliburton, R. (March 1, 1972). "The Tulsa Race War of 1921". Journal of Black Studies. 2 (3): 333–358. doi:10.1177/002193477200200305. JSTOR 2783722. S2CID 161789413.
  • Halliburton, Rudia H. (1975). Tulsa Race War of 1921. San Jose, CA: R and E Publishing. ISBN 0-88-247333-6.
  • Hirsch, James S. (2002). Riot and Remembrance: The Tulsa Race War and Its Legacy. Boston, MA: Houghton Mifflin. ISBN 0-618-10813-0. สืบค้นเมื่อ September 1, 2020.
  • Rob Hower, 1921 Tulsa Race Riot: The American Red Cross – Angels of Mercy. Tulsa, OK: Homestead Press, 1993. ISBN 0-96-658230-6
  • Hannibal B. Johnson, Black Wall Street: From Riot to Renaissance in Tulsa's Historic Greenwood District. Austin, TX: Eakin Press 1998. ISBN 1-57-168221-X
  • Tim Madigan, The Burning: Massacre, Destruction, and the Tulsa Race Riot of 1921. New York: Thomas Dunne Books, 2001. ISBN 0-31-227283-9
  • Williams, Lee E. (1972). Anatomy of Four Race Riots: Racial Conflict in Knoxville, Elaine (Arkansas), Tulsa, and Chicago, 1919–1921. University Press of Mississippi. ISBN 978-0-87805-009-3.
  • Willows, Maurice (December 31, 1921). "Disaster Relief Report Riot 1921" (PDF). Tulsa Historical Society & Museum. American Red Cross. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ January 1, 2017. สืบค้นเมื่อ February 14, 2020.
  • Witten, Alan; Brooks, Robert; Fenner, Thomas (June 2001). "The Tulsa Race Riot of 1921: A geophysical study to locate a mass grave". The Leading Edge. 20 (6): 655–660. doi:10.1190/1.1439020.
  • Greenwood, Ronni Michelle (June 2015). "Remembrance, Responsibility, and Reparations: The Use of Emotions in Talk about the 1921 Tulsa Race Riot". Journal of Social Issues. 71 (2): 338–355. doi:10.1111/josi.12114.
  • Krehbiel, Randy (2019). Tulsa, 1921: Reporting a Massacre. University of Oklahoma Press. ISBN 978-0-8061-6583-7.
  • Oklahoma Commission (February 28, 2001), "Final Report" (PDF), Oklahoma Commission to Study the Tulsa Race Riot of 1921, Tulsa, Oklahoma, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-02, สืบค้นเมื่อ June 20, 2018{{citation}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  • Parrish, Mary E. Jones (1922). "Events of the Tulsa Disaster". University of Tulsa, Department of Special Collections and University Archives. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 5, 2019. สืบค้นเมื่อ March 5, 2019.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]