การสวิตช์วงจร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การสวิตช์วงจร (Circuit Switching) คือ วิธีการต่อสัญญาณจากผู้ที่เริ่มต้น ผ่านชุมสาย ผ่านสายไฟจริงๆ จนกระทั่ง ถึงที่หมาย  และสัญญาณจะอยู่จนกระทั่งมีการยกเลิกการใช้งาน  หลักการที่สำคัญของการสวิทช์วงจร คือ จะต้องมีการจัดตั้งเชื่อมต่อก่อนที่จะมีการส่งข้อมูลจริง การจัดตั้งการเชื่อมต่อนี้อาจจะใช้เวลามาก บางครั้ง อาจจะถึง 10 วินาที ขึ้นอยู่กับระยะทาง ยิ่งเป็นการเรียก (call) แบบทางไกล เช่น การเรียกข้ามประเทศก็ อาจจะนานกว่า เวลาที่ใช้นี้เป็นการค้นหาเส้นทางที่สัญญาณจะใช้ติดต่อจะเห็นว่าก่อนที่จะมีการส่งสัญญาณ ออกไปได้ คำสั่งร้องขอ request จะต้องถูกส่งออกจากตั้งแต่ผู้เริ่มต้นจนกระทั่งถึงที่หมาย และรอให้ปลายทาง ตอบรับกลับมายังที่เริ่มต้น

เมื่อมีการจัดสร้างเส้นทางเรียบร้อยแล้ว เวลาที่เสียไปจะเป็นเพียงแค่เวลาที่สัญญาณผ่านสายเท่านั้น  ซึ่งโดยปกติจะมีค่าประมาณ 3 msec ต่อระยะทาง 1000 km และหลังจากมีการจัดตั้งทางเดินสัญญาณ แล้วจะไม่มีปัญหาของความหนาแน่นของการใช้ตามมา  นั่นคือหลังจากต่อกันได้แล้วจะไม่มีทางจะได้ยิน สัญญาณไม่ว่าง ถึงแม้ว่าก่อนหน้าที่จะต่อสำเร็จ อาจจะได้ยินบ้างเพราะชุมสายถูกใช้งานจนเต็มในขณะนั้น หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อาศัยหลักพื้นฐานทางด้านการสวิตชิ่งของระบบโทรศัพท์ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ให้เชื่อต่อกันในวงจรระหว่างจุดไปจุด  จุดอ่อนของการสวิตช์วงจรที่เชื่อมระหว่างสองจุด ทำให้ใช้ข้อมูลข่าวสารในเครือข่าย ไม่เต็มประสิทธิภาพ และมีข้อยุ่งยากหากต้องการสื่อสารกันเป็นจำนวนมาก