การล้อมเซวัสโตปอล (พาโนรามา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การล้อมเซวัสโตปอล เป็นภาพพาโนรามาที่วาดโดยฟรันซ์ รูโบ ศิลปินชาวรัสเซีย

ภาพวาดแสดงให้เห็นการโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตรต่อกองร้อยปืนใหญ่มาลาฮอฟ เมื่อวันที่ 6 (18) มิถุนายน ค.ศ. 1855 ระหว่างการล้อมเซวัสโตปอลในช่วงสงครามไครเมีย ซึ่งกองทหารอังกฤษและฝรั่งเศส 173,000 นายถูกกองทหารรัสเซีย 75,000 นายขับไล่ มีภาพวาดของปาเวล นาฮีมอฟ ดาชา พยาบาลชาวรัสเซียและ นีโคไล ปีโรกอฟ เขาวาดภาพนี้ระหว่าง ค.ศ. 1902 ถึง ค.ศ. 1904 ภาพวาดเปิดตัวในอาคารที่ออกแบบเป็นพิเศษใน ค.ศ. 1905 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 50 ปีการล้อม ภาพวาดได้รับความเสียหายระหว่างการล้อมเซวัสโตปอลของเยอรมนี-โรมาเนียใน ค.ศ. 1942 และได้รับการบูรณะใหม่ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950

การสร้าง[แก้]

รูโบเริ่มทำงานเกี่ยวกับภาพพาโนรามาใน ค.ศ. 1901 เมื่อมาถึงเมืองเซวัสโตปอล เขาศึกษาสถานที่ของการสู้รบและเอกสารทางประวัติศาสตร์ พูดคุยกับผู้เข้าร่วมและผู้เห็นเหตุการณ์ และสร้างภาพวาดเบื้องต้นในเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก Shenhena Merten, Frosch และนักเรียน 20 คนจากวิทยาลัยวิจิตรศิลป์บาวาเรีย สร้างสรรค์ภาพวาดขนาดเต็มซึ่งมีความยาว 115 เมตร (377 ฟุต) และสูง 14 เมตร (46 ฟุต)[1] ภาพวาดที่เสร็จสิ้นแล้วถูกส่งไปยังเซวัสโตปอลในฤดูร้อน ค.ศ. 1904 และเปิดเผยต่อสาธารณชนในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1905 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 50 ปีของการป้องกันเมือง ผู้เยี่ยมชมกลุ่มแรก ได้แก่ ทหารผ่านศึกชาวรัสเซียที่เคยร่วมรบในการล้อม

ค.ศ. 1942[แก้]

อาคารที่เก็บภาพพาโนรามาได้รับความเสียหายอย่างหนักระหว่างการล้อมเซวัสโตปอลใน ค.ศ. 1942 โดมของอาคารพังทลายลง และตัวภาพพาโนรามาเองก็ถูกไฟไหม้บางส่วน เมื่อสิ้นสุดการล้อม ทั้งธงสงครามของนาซีเยอรมันและธงชาติโรมาเนียถูกชักขึ้นบนโดมที่พังทลายของอาคาร[2]

การอพยพภาพวาดเกิดขึ้นบนเรือลำสุดท้ายที่เดินทางออกจากเมืองเซวัสโตปอล นำโดยเรือพิฆาต ทาชเคนต์ เรือต้านทานการโจมตีของเครื่องบินข้าศึกทั้งหมดได้ยิงเครื่องบินเยอรมันตก 2 ลำและไปถึงฐานที่โนโวรอสซีสค์ ทีมงานทั้งหมดสำหรับการทัพที่ไม่เคยมีมาก่อนนี้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์และเหรียญรางวัล[3]

ภาพวาด[แก้]

การล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1854–1855) โดยฟรันซ์ รูโบ

ระเบียงภาพ[แก้]

แหล่งที่มา[แก้]

  • (ในภาษารัสเซีย) B M Rosseykin, Panorama "Defense of Sevastopol". Guide. Ed. Third, Add. - Simferopol, Krymizdat, 1960. 96.

อ้างอิง[แก้]

  1. "Museum-panorama Battle of Borodino in Moscow", Geomerid.com
  2. Mungo Melvin CB OBE, Sevastopol’s Wars: Crimea from Potemkin to Putin, Bloomsbury Publishing, 2017
  3. Hounds Of The Red Fleet "Tashkent. Baku. Leningrad." P. Kachur, M. 2008. p.107-116.