การล้อมกาซา

พิกัด: 31°31′N 34°27′E / 31.517°N 34.450°E / 31.517; 34.450
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การล้อมกาซา
ส่วนหนึ่งของ สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

ภาพวาดเมืองกาซา โดยเดวิด รอเบิตส์
วันที่ตุลาคม 332 ปีก่อนคริสต์ศักราช
สถานที่
ผล มาซิโดเนียชนะ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ดินแดนอียิปต์
คู่สงคราม
มาซิโดเนีย,
พันธมิตรชาวกรีก
จักรวรรดิอะคีเมนิด
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
เฮฟีสเทียน
บาติส (เชลย)
กำลัง
45,000 ทหารอียิปต์ 15,000,
รวมทั้งหมด 46,000
ความสูญเสีย
3,760 19,000

การล้อมกาซา (อังกฤษ: Siege of Gaza) เป็นการสู้รบระหว่างพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งราชอาณาจักรมาซิโดเนียกับฝ่ายจักรวรรดิเปอร์เซียอะคีเมนิด เกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 332 ปีก่อนคริสต์ศักราชที่เมืองกาซา

บาติส (Batis) ผู้บัญชาการเมืองกาซาต้องการยึดอียิปต์จนกว่าผู้ปกครองเปอร์เซียจะส่งกองทัพมารบกับมาซิโดเนียที่นี่[1] เมืองกาซาเป็นเมืองชายขอบทะเลทรายและมีถนนจากซีเรียไปถึงอียิปต์ ตั้งอยู่สูงกว่า 60 ฟุต (18.29 เมตร) ท่ามกลางชุมชนเปอร์เซีย[1] บาติสรู้ด้วยว่าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์จะยกทัพมาที่นี่หลังจากยึดเมืองไทร์ได้

เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ยกทัพมาถึง พระองค์พบว่ากำแพงเมืองด้านใต้เป็นจุดที่เหมาะจะโจมตีที่สุด[2] จึงสั่งให้มีการสร้างเนินขึ้นเพื่อใช้เป็นทางเข้าเมือง[2] วันหนึ่งฝ่ายเปอร์เซียพยายามตีฝ่าวงล้อม พระเจ้าอเล็กซานเดอร์สั่งให้ทหารใช้โล่เป็นแนวป้องกันจนพระองค์ได้รับบาดเจ็บ[3] อาร์ริอัน นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกบันทึกว่า "เนินถูกสร้างรอบ ๆ กำแพงเมืองและใช้เครื่องทุ่นแรงจากไทร์ร่วมด้วย"[3] หลังจากความพยายามสามครั้ง ทหารมาซิโดเนียก็ทลายกำแพงและบุกเข้าเมืองได้สำเร็จ[3] ผู้ชายถูกฆ่า ส่วนผู้หญิงและเด็กถูกจับไปเป็นทาส กวินตุส กูร์ตีอุส รูฟุส (Quintus Curtius Rufus) นักประวัติศาสตร์ชาวโรมันบันทึกว่า "บาติสถูกลากไปรอบกำแพงเมืองจนเสียชีวิตเช่นเดียวกับเจ้าชายเฮกเตอร์แห่งทรอย"[4]

หลังเมืองถูกยึด พระเจ้าอเล็กซานเดอร์สามารถเดินทัพไปที่อียิปต์ได้โดยไม่มีผู้ใดขัดขวาง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Alexander - A History of the Origin and Growth of the Art of War from the Earliest Times to the Battle of Ipsus, B.C. 301, with a Detailed Account of the Campaigns of the Great Macedonian - Theodore Ayrault Dodge - Google eBookstore. Books.google.com. 2008-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-11-07.
  2. 2.0 2.1 Alexander - A History of the Origin and Growth of the Art of War from the Earliest Times to the Battle of Ipsus, B.C. 301, with a Detailed Account of the Campaigns of the Great Macedonian - Theodore Ayrault Dodge - Google eBookstore. Books.google.com. 2008-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-11-07.
  3. 3.0 3.1 3.2 Alexander - A History of the Origin and Growth of the Art of War from the Earliest Times to the Battle of Ipsus, B.C. 301, with a Detailed Account of the Campaigns of the Great Macedonian - Theodore Ayrault Dodge - Google eBookstore. Books.google.com. 2008-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-11-07.
  4. Alexander the Great: Volume 2, Sources and Studies, เล่มที่ 2 by W. W. Tarn, William Woodthorpe Tarn

31°31′N 34°27′E / 31.517°N 34.450°E / 31.517; 34.450