การผูกลาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การผูกลาย หรือ การต่อลาย คือการออกแบบ หรือการประดิษฐ์ หรือการเขียนลายไทยในงานศิลปะไทย

เอกลักษณ์ของลายไทย[แก้]

  • เส้นลายในลายไทยจะมีความอ่อนโยน
  • มีการแบ่งระยะที่เหมาะสม มีจังหวะที่ดี
  • การใช้ลวดลายอ่อนช้อย มีการใช้ลูกเล่นพลิกแพลงต่อเนื่องได้ไม่สิ้นสุด
  • ลวดลายเป็นหมวดหมู่เดียวกัน

หลักในการผูกลายไทย โดยสังเขป[แก้]

  • จุดออกลาย
    • การออกลาย คือการเริ่มต้นเขียนลาย จะต้องมีที่ออกลาย เช่นมีกาบของลาย ตัวกระจัง ประจำยาม นกคาบ พุ่มทรงข้าวบิณฑ์ รูปทรงกลม เป็นต้น
    • มีที่ห้ามลาย เช่นตัวกระจัง ประจำยาม ฯลฯ
    • มีที่แยกลาย เช่นกาบคู่ นกคาบ ใบเทศ ฯลฯ
  • ทรงตัวกนกและทรงกาบ
    • จะต้องมีการแบ่งตัวให้ครบถ้วน มีสัดส่วนที่สวยงาม
    • ใช้เครื่องประกอบลายให้ถูกต้องครบถ้วน
  • การแบ่งระยะ
    • การแบ่งระยะของตัวลายจะต้องได้จังหวะ มีระยะที่พอเหมาะสวยงาม
  • เถาของลาย
    • การขดของลายอ่อนช้อยสวยงามได้จังหวะ โค้งได้วง ไม่หัก
  • น้ำหนักเส้นแบ่ง
    • เมื่อมีลายกระหนกซ้อนกันหลายตัว ต้องมีการทิ้งน้ำหนักเส้นให้แตกต่างกันชัดเจน สวยงาม
  • ช่องไฟพื้น
    • มีการจัดช่องไฟของลายให้ได้จังหวะที่เหมาะสม
  • ลูกเล่น
    • มีการประดิษฐ์พลิกแพลงลวดลายให้สวยงาม มีชีวิตชีวา ดูแล้วเพลิดเพลิน

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • โพธิ์ ใจอ่อนน้อม คู่มือลายไทย โรงพิมพ์ธนาคารออมสิน พ.ศ. 2522.
  • พระเทวาภินิมมิต สมุดตำราลายไทย โรงพิมพ์คุรุสภา พ.ศ. 2530. ISBN 974-0038-44-1
  • สันติ เล็กสุขุม กระหนกในดินแดนไทย สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ. 2539. ISBN 974-7120-30-5

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]