การประท้วงในประเทศรัสเซีย พ.ศ. 2564
บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษารัสเซีย (มกราคม 2021) คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
การประท้วงในประเทศรัสเซีย พ.ศ. 2564 | |||
---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การต่อต้านวลาดีมีร์ในประเทศรัสเซีย | |||
กลุ่มผู้ประท้วงที่มาร์โซโวปอเล เซนต์ปีเตอร์เบิร์กเมื่อวันที่ 23 มกราคม | |||
วันที่ | 23 มกราคม – 21 เมษายน พ.ศ. 2564[1] (2 เดือน 4 สัปดาห์ 1 วัน) | ||
สถานที่ | รัสเซียและประเทศอื่น ๆ [a] | ||
สาเหตุ |
| ||
เป้าหมาย |
| ||
วิธีการ | |||
คู่ขัดแย้ง | |||
ผู้นำ | |||
ความเสียหาย | |||
เสียชีวิต | 0 | ||
บาดเจ็บ | 23 มกราคม: เจ้าหน้าที่ตำรวจ 39 นาย (ส่วนน้อย),[29] นักข่าว 50 คน,[29] บาดเจ็บหนัก 2 คน | ||
ถูกจับกุม | 23 มกราคม: มากกว่า 4,000 คน[30][31] 31 มกราคม: มากกว่า 5,600 คน[32][33][34] 2 กุมภาพันธ์: มากกว่า 1,500 คน[35] 14 กุมภาพันธ์: 19 คน[36] 21 เมษายน: มากกว่า 2,100 คน[37] |
การประท้วงในประเทศรัสเซีย พ.ศ. 2564 เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2564 เพื่อสนับสนุนผู้นำฝ่ายค้าน อะเลกเซย์ นาวัลนืย หลังถูกคุมตัวทันทีเมื่อกลับมารัสเซียหลังจากถูกส่งตัวไปรักษาจากการวางยาพิษในปีที่แล้วที่เยอรมนี ก่อนที่จะมีการประท้วง เขาและมูลนิธิต่อต้านการทุจริต ได้เผยแพร่สารคดีเรื่อง อะพาเลซฟอร์ปูติน: เดอะสตอรีออฟเดอะบิกเจสท์ไบรบ์ ซึ่งมีเนื้อหาการเชื่อมโยงระหว่างประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูตินกับวังที่ถูกกล่าวหาว่าสร้างให้แก่เขา[38][39][2]
ในวันแรก มีการประท้วงใน 198 เมืองทั่วประเทศรัสเซีย โดยเป็นหนึ่งในการประท้วงต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่การประท้วงใน พ.ศ. 2554–2557[40][41][42][43] แต่ถูกตำรวจสลายการชุมนุม เพราะจัดโดยไม่ได้รับการอนุญาต โดยมีผู้ถูกคุมตัวพันกว่าคน[44] ทำให้ทีมของนาวัลนืยประกาศหยุดประท้วงกลางถนนในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ เพราะต้องการมุ่งเน้นถึงการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติที่จะจัดขึ้นภายหลังในปีนี้[45][46] และต่อมาค่อยย้ายไปชุมนุมที่ลานกว้างเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับตำรวจ[47][48] หลังสุขภาพของนาวัลนืยแย่ลงตอนถูกคุมขังในเรือนจำ จึงมีการประท้วงบนถนนอีกครั้งเป้นครั้งสุดท้ายในวันที่ 21 เมษายน[49]
ถึงแม้จะมีการประท้วง ก็ยังคงมีการลงอาญาจำคุกนาวัลนืยในวันที่ 2 กุมภาพันธ์[50] หลังการประท้วง ในวันที่ 16 เมษายน สำนักงานอัยการมอสโกได้ร้องขอให้ศาลเมืองมอสโกจัดให้องค์กรที่มีส่วนกับนาวัลนืย เช่น มูลนิธิต่อต้านการทุจริตและศูนย์บัญชาการในฐานะองค์กรหัวรุนแรงอย่างเป็นทางการ โดยอ้างว่า: "ภายใต้การแฝงตัวของนโยบายเสรีนิยม องค์กรเหล่านี้มีส่วนในการสร้างสถานการณ์เพื่อสร้างความไม่มั่นคงทางสังคมและสถานการณ์ทางสังคม-การเมือง"[51] ในวันที่ 9 มิถุนายน ศาลเมืองมอสโกจัดให้องค์กรเหล่านี้เป็นกลุ่มหัวรุนแรงและถูกเรียกค่าเสียหาย[52][53]
ภูมิหลัง
[แก้]เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2020 อะเลคเซย์ นาวัลนืย ผู้นำฝ่ายค้านต่อวลาดีมีร์ ปูติน ถูกวางยาพิษและอยู่ในอาการสาหัสขณะกำลังเดินทางโดยเครื่องบินจากตอมสค์ไปมอสโก[54] เขาได้รับการขนส่งเพื่อไปรักษาที่เบอร์ลิน และออกจากโรงพยาบาลในวันที่ 22 กันยายน 2020[55][56][57] สารพิษที่ใช้ซึ่งคือสารพิษประสาทโนวิช็อกได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการโดยองค์การเพื่อการป้องกันการใช้อาวุธเคมี (OPCW)[58][59] ถึงแม้ทางรัฐบาลที่เครมลินจะปฏิเสธส่วนรู้เห็นในการลอบวางยาพิษนี้[60] สหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรได้ตอบสนองโดยการคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ระดับสูงหกคนของรัสเซียและสถาบันเคมีของรัฐหนึ่งแห่ง[61][62] นาวัลนืยกล่าวโทษวลาดีมีร์ ปูติน ว่าเป็นผู้บงการการวางยาพิษเขาในครั้งนี้[63] จากการทำข่าวเชิงสอบสวนของเบลลิงคัต แลถ ดิอินไซเดอร์ เสนอว่าสารพิษที่ใช้นั้นเป็นของเอฟเอสบี[64]
ในวันที่ 17 มกราคม 2021 นาวัลนืยเดินทางกลับสู่ประเทศรัสเซีย และถูกจับกุมทันทีเมื่ออากาศยานลงจอดในประเทศด้วยโทษความผิดที่หมดอายุความไปแล้ว[65] ก่อนนาวัลนืยจะเดินทางกลับมา หน่วยงานทัณฑ์แห่งรัสเซีย (FSIN) ได้ระบุว่านาวัลนืยจะถูกกักขังทันทีเมื่อเขาเดินทางมาถึงรัสเซีย[66] จากความผิดเมื่อปี 2014 ที่ซึ่งนาวัลนืยมีความผิดใน คดีอีฟโรเขอร์ ที่ซึ่งนาวัลนืยระบุว่าเป็นคดีที่มีเบื้องหลังคือการเมือง ในปี 2017 ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรประบุว่าการตัดสินคดีต่อนาวัลนืยนั้นเป็นไปโดนลยไม่ชอบธรรม[67][68]
ในวันที่ 18 มกราคม ศาลมีคำสั่งให้กักขังนาวัลนืยไปจนถึง 15 กุมภาพันธ์ สำหรับความผิดฐานละเมิดทัณฑ์บน มีการตั้งศาลเฉพาะกิจขึ้นมาในสถานีตำรวจที่นาวัลนืยถูกหน่วงเหนี่ยวไว้ การรับฟังคำตัดสินอีกรอบจะมีขึ้นในวันที่ 29 มกราคม เพื่อตัดสินความผิดเดิมของเขาว่าอาจจะเปลี่ยนโทษเป็นการจำคุกแทนการลงทัณฑ์บนแต่เดิม[69] นาวัลนืยเรียกการตัดสินคดีนี้ว่า "ป่าเถื่อนสิ้นดี" และเขายังชักจูงให้ประชาชนออกมาเรียกร้องเพื่อความยุติธรรม จนนำไปสู่การชุมนุมประท้วงทั่วประเทศในวันที่ 23 มกราคม[70]
นอกจากนี้ เมื่อ 19 มกราคม สารคดีเชิงสอบสวนของนาวัลนืยร่วมกับมูลนิธิต่อต้านการทุจริตของเขา อะพาเลซฟอร์ปูติน: เดอะสตอรีออฟเดอะบิกเจสท์ไบรบ์ ได้ถูกเผยแพร่ เนื้อหาใจความเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่นของปูติน วิดีโอนี้ยิ่งทำให้มีผู้ออกมาประท้วงมากยิ่งขึ้น[71] วิดีโอมียอดชมมากกว่า 60 ล้านครั้งบนยูทูบ ก่อนการประท้วงจะเริ่มต้น[72]
ดูเพิ่ม
[แก้]- การประท้วงในรัสเซีย 2017-2018
- การประท้วงในมอสโก 2019
- การประท้วงที่ฮาบารอฟสค์ 2020-2021
- การประท้วงในเบลารุส 2020-2021
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "From 51.3 thousand to 120 thousand people went to the actions on April 21". mbk-news.appspot.com (ภาษารัสเซีย). 2021-04-22.
- ↑ 2.0 2.1 "Акции в поддержку Навального". novayagezeta.ru. 23 January 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-23. สืบค้นเมื่อ 2021-01-25.
- ↑ "За рубежом прошли акции солидарности с Навальным (ФОТО, ВИДЕО)". newsru.com. 23 January 2021.
"Putin er nervøs og forsøger at kvæle protester fra Navalnyj-tilhængere i hele Rusland". Politiken (ภาษาเดนมาร์ก). 22 January 2021. สืบค้นเมื่อ 23 January 2021.
"Polisen ingrep mot demonstration i Stockholm". sverigesradio.se. 23 January 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 January 2021.
"Demonstration för Navalny i Göteborg upplöst av polis". gp.se. 23 January 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 January 2021.
"Policija u Beogradu zabranila skup podrške Navaljnom zbog kršenja epidemioloških mera" (ภาษาเซอร์เบีย). Radio Slobodna Evropa. 23 January 2021.
"POLICIJA U BEOGRADU ZABRANILA SKUP PODRŠKE NAVALJNOM ZBOG KRŠENJA EPIDEMIOLOŠKIH MERA" (ภาษาเซอร์เบีย). Vesti.rs. 23 January 2021.
""Мы себя не на складе грязи нашли". Как Израиль митинговал за Навального. Фоторепортаж". znak.com. 23 January 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-24. สืบค้นเมื่อ 2021-10-13.
"В Тель-Авиве и Хайфе на митинги солидарности с Навальным пришли тысячи человек". newsru.co.il. 23 January 2021.
"Dueling rallies in Moldova support, criticize Kremlin foe Navalny". Radio Free Europe/Radio Liberty. 24 January 2021. - ↑ "Alexei Navalny: 'More than 3,000 detained' in protests across Russia". BBC News. 23 January 2021.
- ↑ "Police crack down on Russian protests against jailing of Kremlin foe Navalny". Reuters. 24 January 2021.
- ↑ "Russia Police Violence in Spotlight After 3,500 Protesters Detained". The Moscow Times. 24 January 2021.
- ↑ "'The problem is Putin': protesters throng Russia's streets to support jailed Navalny". The Guardian. 23 January 2021.
- ↑ "Russia: Momentum for protest is growing over Putin's 'palace' and Navalny's imprisonment". Sky News. 24 January 2021.
- ↑ "Активисты ПАРНАС 23 января участвовали в протестах по всей России". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-23. สืบค้นเมื่อ 2021-10-13.
- ↑ https://www.facebook.com/541225012580463/posts/3581984691837798/
- ↑ ""Поддержим Навального 23 Января"".
- ↑ "Активисты ЛПР по всей стране вышли в пикеты в поддержку Навального и против правового беспредела".
- ↑ "Источник: "Сотни тысяч вышли на улицу."". Twitter. 24 January 2021.
- ↑ "Источник: "По всей стране началось"". Russian Socialist Movement. 25 January 2021.
- ↑ "Источник: Ижевск. Власти ответили на протесты террором против левых". Russian Socialist Movement. 25 January 2021.
- ↑ "Источник: Москва вышла против царя". Revolutionary Workers' Party. 25 January 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-02. สืบค้นเมื่อ 2021-10-13.
- ↑ НОВОЕ! Сергей Удальцов: Тактика левых сил на протестах. Эфир от 24.01.2021.
- ↑ "В порядке дискуссии / Коммунисты и "либеральный" протест".
- ↑ "Движение в никуда. Анализ субботних событий в России".
- ↑ "КОММУНИСТЫ РОССИИ ТРЕБУЮТ ОТ ВЛАСТЕЙ РАССЛЕДОВАТЬ ЖЕСТОКОЕ ОБРАЩЕНИЕ ОМОНОВЦЕВ С ПРОТЕСТУЮЩИМИ".
- ↑ "Letter from Russia : On the Protests of January 23". CrimethInc. January 24, 2021. สืบค้นเมื่อ January 25, 2021.
- ↑ Platonenko, Vladimir (January 31, 2021). "О январских протестах". Autonomous Action. สืบค้นเมื่อ February 9, 2021.
- ↑ "Судите палачей, а не защитников народа!".[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Нет расправам!".[ลิงก์เสีย]
- ↑ В ОНФ прокомментировали незаконные акции.
- ↑ Выступление В.В.Жириновского с политическим заявлением от фракции ЛДПР.
- ↑ Сергей Миронов: наших детей втягивают в свои мошеннические игры политические провокаторы.
- ↑ Алексей Журавлев: "Берлинский пациент" связывает интересы ЕС и США в борьбе с Россией.
- ↑ 29.0 29.1 "Протесты 23 января. Главное". Kommersant (ภาษารัสเซีย). 23 January 2021. สืบค้นเมื่อ 28 January 2021.
- ↑ "Акции "Свободу Навальному!" 23 января 2021 года. Онлайн". ovdinfo.org. 23 January 2021.
- ↑ "Список задержанных на акциях в поддержку Алексея Навального 23 января 2021 года". ovdinfo.org. 23 January 2021.
- ↑ "Задержания на акциях в поддержку Алексея Навального 31 января 2021 года. Онлайн". ovdinfo.org. 31 January 2021.
- ↑ "Список задержанных на акции в поддержку Алексея Навального 31 января 2021 года". ovdinfo.org. 31 January 2021.
- ↑ "Число задержанных на акциях 31 января в поддержку Навального по городам — карта "Медузы" и "ОВД Инфо"". Meduza.io. 31 January 2021.
- ↑ "Список задержанных в связи с судом над Алексеем Навальным 2 февраля 2021 года". ovdinfo.org. 2 February 2021.
- ↑ "Последствия акций против политических репрессий 14 февраля. Хроника". ovdinfo.org. 11 February 2021.
- ↑ "Списки задержанных в связи с акцией в поддержку Алексея Навального 21 апреля 2021 года". OVD-Info. 21 April 2021.
- ↑ "As It's Happening: Russia Rallies for Navalny's Release". The Moscow Times. 23 January 2021.
- ↑ "Митинги в поддержку Алексея Навального. Хроника". Meduza.io. 23 January 2021.
- ↑ "День всероссийского протеста: как прошли акции в поддержку Навального". bbc.com. 23 January 2021.
- ↑ "Protests for Jailed Kremlin Critic Navalny Sweep Russia". The Moscow Times. 23 January 2021.
- ↑ "Митинги в поддержку Алексей Навальный в России 23 января 2021 года". twitter.com. 28 January 2021.
- ↑ "Tens of thousands protest in Russia calling for Navalny's release". The Guardian. 23 January 2021.
- ↑ "EXPLAINER: How Russia has tried to stem pro-Navalny protests". apnews.com. 3 February 2021.
- ↑ "Navalny's team suspends further protests until the spring, refocusing on campaign efforts ahead of Russia's fall parliamentary elections". Meduza. 4 February 2021.
- ↑ "Navalny's Team Announces No More Protests Until Spring". The Moscow Times. 4 February 2021.
- ↑ "Navalny Allies Announce New Courtyard Protests". The Moscow Times. 9 February 2021.
- ↑ "Соратники Навального анонсировали протестную акцию 14 февраля. Ее участникам предлагают выйти на улицу с фонариками". Meduza.io. 9 February 2021.
- ↑ ""Прямо сейчас его убивают в колонии, и ждать больше нельзя". Сторонники Навального объявили митинг, не дожидаясь сбора полумиллиона участников". Meduza.io. 18 April 2021.
- ↑ "As It's Happening: Navalny Sentenced to 2 Years and 8 Months in Penal Colony". The Moscow Times. 2 February 2021.
- ↑ "Прокуратура потребовала признать ФБК экстремистской организацией". Meduza.io. 16 April 2021.
- ↑ "Russia Blacklists Navalny's Political and Activist Movements as 'Extremist'". The Moscow Times. 9 June 2021.
- ↑ "Мосгорсуд признал ФБК экстремистской организацией". dw.com. 9 June 2021.
- ↑ "Russian opposition leader Alexei Navalny 'poisoned'". BBC News. 20 August 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2020. สืบค้นเมื่อ 20 August 2020.
- ↑ "Navalny Taken Off Ventilator as Novichok Recovery Continues – German Hospital". The Moscow Times. 14 September 2020.
- ↑ Zverev, Anton; Tétrault-Farber, Gabrielle; Ivanova, Polina; Teterevleva, Anastasia; Kiselyova, Maria (27 August 2020). Rao, Sujata (บ.ก.). "Russian prosecutors say no need for criminal investigation in Navalny affair". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2 September 2020.
- ↑ "Russia Protests Germany's 'Unfounded Accusations' In Navalny Poisoning Case". Radio Free Europe/Radio Liberty. 9 September 2020. สืบค้นเมื่อ 24 December 2020.
- ↑ "Watchdog Says Novichok-Type Nerve Agent Found in Navalny Samples". The Moscow Times. 6 October 2020.
- ↑ "OPCW: Novichok found on Alexei Navalny samples". Deutsche Welle. 6 October 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 December 2020. สืบค้นเมื่อ 6 October 2020.
- ↑ "Kremlin dismisses claims Putin poisoned Navalny". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 25 August 2020. สืบค้นเมื่อ 25 August 2020.
- ↑ Chappell, Bill (15 October 2020). "EU Sanctions Russian Officials Over Navalny Poisoning, Citing Chemical Weapons Use". NPR.org. สืบค้นเมื่อ 20 October 2020.
- ↑ "Navalny Novichok poisoning: EU sanctions hit top Russians". BBC News. 15 October 2020. สืบค้นเมื่อ 20 October 2020.
- ↑ Rainsford, Sarah (1 October 2020). "Alexei Navalny blames Vladimir Putin for poisoning him". BBC News.
- ↑ "Alexei Navalny: Report names 'Russian agents' in poisoning case". BBC News. 14 December 2020.
- ↑ "Russia Navalny: Poisoned opposition leader held after flying home" (ภาษาอังกฤษ). BBC News. 17 January 2021. สืบค้นเมื่อ 17 January 2021.
- ↑ "Russia Warns 'Obliged' to Detain Kremlin Critic Navalny on Return". The Moscow Times. 14 January 2021.
- ↑ "Human Rights Court Says Navalny Unfairly Convicted In 'Yves Rocher Case'". rferl.org. 17 October 2017.
- ↑ "Alexey Navalny remanded in custody for 30 days pending trial". Meduza.io. 18 January 2021.
- ↑ "Alexei Navalny: Poisoned Putin critic Navalny jailed for 30 days". bbc.com. BBC News. 18 January 2021.
- ↑ "Navalny Urges Russians To 'Take To The Streets' Over Jailing". The Moscow Times. 18 January 2021.
- ↑ "Alexei Navalny: Millions watch jailed critic's 'Putin palace' film". BBC News. 20 January 2021.
- ↑ "У видео Навального о «дворце Путина» уже более 60 миллионов просмотров". charter97.org. 22 January 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Demonstrations and protests in Russia in 2021