การประกาศเลิกทาส

การประกาศเลิกทาส (อังกฤษ: Emancipation Proclamation) หรือ คำประกาศที่ 95 (Proclamation 95) เป็นคำประกาศจากประธานาธิบดีและคำสั่งของฝ่ายบริหารที่ออกโดยประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา อับราฮัม ลินคอล์น เมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1862 และมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1863 มันได้เปลี่ยนสถานะทางกฎหมายภายใต้กฎหมายรัฐบาลกลางของเหล่าชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาที่ตกเป็นทาสจำนวนกว่า 3.5 ล้านคนในรัฐสมาพันธ์โดยจากทาสให้เป็นเสรีชน ไม่นานนักที่ทาสได้หลบหนีจากการควบคุมของรัฐบาลสมาพันธ์ ไม่ว่าจะวิ่งข้ามแนวสหภาพหรือผ่านทางการรุกของกองกำลังทหารรัฐบาลกลาง ทาสก็ได้รับอิสรภาพอย่างถาวร จนในที่สุด ชัยชนะของสหภาพทำให้คำประกาศมีผลบังคับใช้ในอดีตสมาพันธรัฐทั้งหมด ทาสที่เหลืออยู่ ที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่ได้อยู่ในการประท้วง การได้รับอิสรภาพจากการปฏิบัติของรัฐหรือจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาครั้งที่สิบสาม ซึ่งเป็นที่ยอมรับในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1865
ด้วยการอนุมัติจากรัฐสภาแก่ลินคอล์น ในปี ค.ศ. 1862 ด้วยการจ่ายค่าชดเชยบางส่วน ยุติการเป็นทาสในเขตโคลัมเบีย จุดยืนที่ยาวนานนี้ได้ถูกประกาศว่าได้รับการแก้ไขแล้วตั้งแต่วุฒิสมาชิกรัฐอยุ่ในการก่อกบฏ ที่ขัดขวางมาตรการดัวกล่าวเพื่อไม่ให้เป็นแบบอย่าง ได้ออกจากรัฐสภาในปี ค.ศ. 1861 สำหรับรัฐต่าง ๆ ลินคอล์นได้เชื่อว่า เขาไม่มีอำนาจในฐานะประธานาธิบดีเพื่อยุติการเป็นทาส ซึ่งเป็นเรื่องของรัฐ อย่างไรก็ตาม ลินคอล์นไม่เพียงเป็นแค่ประธานาธิบดีเท่านั้น เขายังเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพ ด้วยเหตุนี้ เขาสามารถใช้มาตรการทางทหาร คำสั่งของเขาได้ระมัดระวังในการจำกัดคำประกาศไปยังพื้นที่เหล่านั้นในการก่อจลาจล ในกรณีที่รัฐบาลพลเรือนไม่เคารพและใช้อำนาจทางทหารของเขา ดังนั้นจึงได้นำไปใช้[1] ในฐานะที่เป็นมาตรการสงคราม มันได้ทำร้ายเศรษฐกิจภาคใต้โดยลดแรงงานเกณฑ์บังคับลง ช่วยให้กองทัพฝ่ายสหภาพเข้มแข็งขึ้นโดยทำให้ทหารฝ่ายสหภาพออกจากการจากการเป็นทาสอิสระ และกล่าวโดยนัยต่อความเป็นพลเมืองผิวดำโดยยอมรับคนผิวสีในฐานะทหารและได้ให้ความไว้วางใจแก่พวกเขาด้วยอาวุธ (จนกระทั่งมาถึงจุดนี้ ไม่มีคนผิวดำอยู่ในตำแหน่งการสู้รบในกองทัพบก) คำประกาศได้ยุติโอกาสใด ๆ ของรัฐบาลสมาพันธรัฐที่ได้รับการยอมรับจากอังกฤษหรือฝรั่งเศส ซึ่งได้ต่อต้านทาสและสนับสนุนแก่ฝ่ายสหภาพได้เพิ่มมากขึ้น มันเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเป้าหมายที่ระบุไว้ของสงคราม ยอมรับว่า สิ่งที่ภาคใต้อ้างมาโดยตลอด ฝ่ายสหภาพได้ต่อสู้รบในสงครามเพื่อยุติทาส ในทางจิตวิทยา มันเป็นจุดเปลี่ยนของสงคราม
คำประกาศได้ถูกนำไปยังทุกพื้นที่ในการก่อจลาจลและทุกส่วนของสาขาฝ่ายบริหาร (รวมทั้งกองทัพบกและกองทัพเรือ) ของสหรัฐอเมริกา[2] มันเป็นคำประกาศอิสรภาพแก่ทาสทั้งหมดในสิบรัฐในการก่อกบฏ[3] แม้ว่ามันจะไม่รวมพื้นที่ที่ไม่ได้เข้าร่วมการก่อกบฏ รวมทั้งรัฐทาสชายแดนของเดลาแวร์ แมริแลนด์ เคนทักกี และมิสซูรี ยังถูกนำไปใช้กับทาสจำนวนกว่า 3.5 ล้านคนใน 4 ล้านคนในประเทศ
คำประกาศได้เดินตามแบบหนึ่งในคำเตือนในฤดูร้อนภายใต้กฎหมายยึดทรัพย์ที่สอง ได้ยินยอมให้ผู้สนับสนุนฝ่ายสมาพันธรัฐมีเวลาภายใน 60 วันเพื่อยอมจำนน หรือจะต้องเผชิญกับการยึดที่ดินและทาส คำประกาศยังออกคำสั่งให้บุคคลที่เหมาะสมในหมู่เสรีชนสามารถลงทะเบียนในบริการชำระเงินของกองทัพสหรัฐและคำสั่งแก่กองทัพสหภาพ (และทุกส่วนของสาขาผู้บริหาร) เพื่อ "ยอมรับและรักษาอิสรภาพแก่" อดีตทาส คำประกาศไม่ได้จ่ายค่าชดเชยแก่เจ้าของ ไม่มีความผิดกฎหมายทาส และไม่ได้ให้สิทธิการเป็นพลเมืองแก่อดีตทาส (เรียกว่า เสรีชน) แต่นอกเหนือจากเป้าหมายของการรักษาฝ่ายสหภาพ ความสำคัญเชิงสัญลักษณ์ของรัฐบาลกลางที่ประกาศว่าทาสเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย แม้ว่าในจำนวนที่จำกัด มีขนาดใหญ่มาก เป็นครั้งแรกที่สหภาพ (ประเทศ) ได้มุ่งมั่นโดยส่วนร่วมเพื่อที่จะยุติทาสไปทั่วทุกที่ นั่นหมายความว่า ทาสที่หลบหนีรอดมาได้จะไม่ถูกส่งไปทางใต้อีกต่อไป เมื่อกฎหมายทาสที่หลบหนีที่เป็นที่เกลียดชังได้จบสิ้นลง นอกจากนี้ยังกล่าวอีกว่าอดีตทาสยังสามารถเข้าร่วมกับกองทัพเข้าต่อสู้กับเจ้าของเดิม โดยใช้อาวุธที่กองทัพฝ่ายเหนือจัดหาให้ ในไม่ช้าจะจัดหากองทหารใหม่ให้แก่กองทัพสหภาพ แต่ผลกระทบทางจิตวิทยาของมันก็มหาศาลเช่นกัน นี่เป็นฝันร้ายของทางใต้: ทาสได้ก่อการประท้วงที่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายเหนือ
ทาสราวประมาณ 25,000 คน ถึง 75,000 คน ได้รับการปล่อยทันทีในภูมิภาคของสมาพันธรัฐซึ่งกองทัพสหรัฐได้เข้าควบคุมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มันไม่สามารถบังคับในพื้นที่ที่ยังอยู่ในการก่อการจลาจลได้ แต่เมื่อกองทัพฝ่ายสหภาพได้เข้าควบคุมภูมิภาคสมาพันธรัฐ คำประกาศได้กำหนดกรอบทางกฎหมายเพื่อปลดปล่อยทาสมากกว่าสามล้านและครึ่งล้านคนในภูมิภาค ก่อนที่จะมีคำประกาศนี้ ตามกฎหมายทาสที่หลบหนีในปี ค.ศ. 1850 ทาสที่หลบหนีก็จะถูกส่งตัวกลับไปยังเจ้านายของพวกเขาหรือถูกกักตัวไว้ในค่ายพักพิงเพื่อส่งกลับคืนในภายหลัง คำประกาศนี้ใช้ได้เพียงกับทาสในดินแดนที่ให้ความช่วยเหลือแก่สมาพันธรัฐ ไม่ได้ใช้กับผู้ที่อยู่ในรัฐทาสทั้งสี่ที่ไม่ได้ร่วมกันก่อการกบฏ (เคนทักกี แมริแลนด์ เดลาแวร์ และมิสซูรี ซึ่งไม่มีอยู่ในรายชื่อ) หรือไม่ก็ไปยังรัฐเทนเนสซี (ไม่มีอยู่ในรายชื่อ แต่ถูกยึดครองโดยกองทัพฝ่ายสหภาพ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1862) และรัฐลุยเซียนาตอนล่าง (ยังตกอยู่ภายใต้การยึดครอง) และยกเว้นโดยเฉพาะกับมณฑลของรัฐเวอร์จิเนียที่ในไม่ช้าที่จะก่อตั้งรัฐเวสต์เวอร์จิเนียขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการยกเว้นโดยเฉพาะ (ตามชื่อ) บางภูมิภาคได้ถูกควบคุมโดยกองทัพฝ่ายสหภาพ การเลิกทาสในสถานที่เหล่านี้จะมาหลังการปฏิบัติของรัฐแบ่งแยก (เช่นในรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย) หรือเดือนธันวาคม ค.ศ. 1865 การให้สัตยาบันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่สิบสาม ซึ่งทำให้ทาสและทาสผูกมัด (Indentured servitude) ยกเว้นผู้ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดทางอาญา โดยผิดกฎหมายทุกที่ภายใต้อำนาจเขตอำนาจศาลของสหรัฐอเมริกา[4]
เมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1862 ลินคอล์นได้ออกประกาศคำเตือนเบื้องต้นว่า เขาจะออกคำสั่งให้ปลดปล่อยทาสทุกคนในรัฐใด ๆ ที่ยังไม่เลิกก่อจลาจลกับสหภาพในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1863[5][6] ไม่มีรัฐสมาพันธ์ใดได้ปฏิบัติเช่นนั้น และคำสั่งของลินคอล์นได้ลงนามและมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1863 คำประกาศเลิกทาสได้สร้างความโกรธแค้นเคืองแก่ชาวใต้ผิวขาวและคณะผู้ฝักใฝ่ของพวกเขา ที่เห็นว่ามันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามทางเชื้อชาติ เช่น ในเฮติ มันทำให้บางคนในพรรคเดโมแครตฝ่ายเหนือโกรธเคือง ผู้นิยมการเลิกทาส และบ่อนทำลายชาวยุโรปที่ต้องการแทรกแซงเพื่อช่วยเหลือสมาพันธรัฐ[7] คำประกาศนี้ได้ยกวิญญาณของชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันทั้งเป็นเสรีชนและทาส มันได้นำให้ทาสหลายคนหลบหนีจากผู้เป็นนายและไปยังแนวของฝ่ายสหภาพเพื่อได้รับอิสรภาพของพวกเขาและเข้าร่วมกองทัพฝ่ายสหภาพ
คำประกาศเลิกทาสได้ขยายขอบเขตของเป้าหมายของสงครามกลางเมือง ในขณะที่ทาสเป็นปัญหาสำคัญที่นำไปสู่สงคราม มีเพียงเป้าหมายเดียวของลินคอล์นที่ได้ระบุไว้ตั้งแต่เริ่มสงครามเพื่อรักษาฝ่ายสหภาพ คำประกาศนี้ได้ทำการปลดปล่อยทาสที่เป็นเป้าหมายที่ชัดเจนของความพยายามทำสงครามของฝ่ายสหภาพ การยกเลิกทาสเป็นหนึ่งในสองเป้าหมายหลักในการทำสงครามเพื่อขัดขวางการแทรกแซงของอังกฤษและฝรั่งเศส[8] คำประกาศการเลิกทาสไม่เคยถูกท้าทายในศาล เพื่อให้แน่ใจว่าการยกเลิกทาสในสหรัฐอเมริกาทั้งหมด ลินคอล์นได้ผลักดันให้ผ่านกระบวนการแก้ไขญัตติครั้งที่สิบสาม และยืนยันว่าแผนฟื้นฟูแก่รัฐทางใต้จำเป็นต้องยกเลิกในรัฐธรรรมนูญฉบับใหม่ รัฐสภาได้ผ่านการแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 13 โดยการลงคะแนนสองในสามที่สำคัญ เมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1865 และเป็นที่ยอมรับโดยรัฐในวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1865 เป็นอันยุติการเป็นทาสทางกฎหมายในสหรัฐอเมริกา[9]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "The Emancipation Proclamation: Freedom's first steps". National Endowment for the Humanities. สืบค้นเมื่อ 2013-06-27.
- ↑ Political scientist Brian R. Dirck states: "The Emancipation Proclamation was an executive order, itself a rather unusual thing in those days. Executive orders are simply presidential directives issued to agents of the executive department by its boss." Brian R. Dirck (2007). The Executive Branch of Federal Government: People, Process, and Politics. ABC-CLIO. p. 102. ISBN 978-1851097913.
- ↑ "The Emancipation Proclamation". National Archives and Records Administration. สืบค้นเมื่อ 2019-08-24.
- ↑ "Amendments to the U.S. Constitution". สืบค้นเมื่อ 2014-01-26.
- ↑ Louis P. Masur tells the story of the 100-day interval in Lincoln's Hundred Days: The Emancipation Proclamation and the War for the Union (2012)
- ↑ "Preliminary Emancipation Proclamation". National Archives. US National Archives. September 22, 1862. สืบค้นเมื่อ 24 August 2019.
That on the first day of January in the year of our Lord, one thousand eight hundred and sixty-three, all persons held as slaves within any State, or designated part of a State, the people whereof shall then be in rebellion against the United States shall be then, thenceforward, and forever free
- ↑ Allan Nevins, Ordeal of the Union: vol 6. War Becomes Revolution, 1862–1863 (1960) pp. 231–41, 273
- ↑ Jones, Howard (1999). Abraham Lincoln and a New Birth of Freedom: The Union and Slavery in the Diplomacy of the Civil War. U of Nebraska Press. ISBN 0-8032-2582-2.
- ↑ "13th Amendment to the U.S. Constitution". The Library of Congress. สืบค้นเมื่อ 2013-06-27.