การทำให้เห็นได้
การทำให้เห็นได้ หรือ วิชวลไลเซชัน (อังกฤษ: visualization) และมีการเรียกว่า จินตทัศน์ [ต้องการอ้างอิง] เป็นการกล่าวถึงการสร้างภาพ แผนผัง หรือ ภาพเคลื่อนไหว ใช้ในการสื่อสารแทนข้อความ โดยวิธีการนี้สามารถใช้ได้ทั้งในทางรูปธรรม และนามธรรม โดยมีทั้งการจำลองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในอดีต เหตุการณ์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ หรือการสร้างภาพในอนาคตเพื่อใช้ในการสื่อสาร
การทำให้เห็นได้เป็นหนึ่งในวิธีการทำเหมืองข้อมูล โดยการสร้างภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก ที่สามารถนำเสนอข้อมูลมากมายอย่างครบถ้วนแทนการใช้ขัอความนำเสนอข้อมูลที่มากมาย เราอาจพบข้อมูลที่ซ้อนเร้นเมื่อดูข้อมูลชุดนั้นด้วยการทำให้เห็นได้
ถ้าเรามีข้อมูลชุดหนึ่งที่มีข้อมูลอยู่จำนวน 100,000 รายการ แต่เราใช้รูปแบบการนำเสนอเป็นข้อความ ผลลัพธ์คงจะไม่เหมาะสมเพราะจะทำให้เราต้องสร้างรายงานจำนวนมหาศาล กล่าวคือ ถ้าเราสามารถใช้ภาพคอมพิวเตอร์กราฟิกมาช่วยในการนำเสนอข้อมูลชุดนี้แทนการใช้ข้อความ ผลลัพธ์คือเราไม่ต้องสร้างรายงานจำนวนมหาศาล การนำเสนอข้อมูลด้วยการทำให้เห็นได้เพียง 1 ภาพแต่สามารถแทนค่าของชุดข้อมูลจำนวนมหาศาลได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ภาพเพียง 1 ภาพอาจใช้แทนข้อมูลข่าวสารได้เป็น 100 คำหรือ 1,000 คำ จึงเป็นแนวคิดของการทำการทำให้เห็นได้ นอกจากนี้เรายังสามารถทำการโต้ตอบกับการทำให้เห็นได้ (interactive visualization) ได้อีกด้วย ซึ่งการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบข้อความไม่สามารถโต้ตอบได้
ข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาลถ้าสามารถนำเสนอให้เห็นในแบบการทำให้เห็นได้ อาจทำให้เราพบข้อมูลที่ซ่อนเร้นอยู่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรานำชุดข้อมูล IRIS ซึ่งเป็นข้อมูลตัวเลขของดอกไม้ชนิดหนึ่งจำนวน 150 รายการ นำชุดข้อมูลนนี้มาแสดงให้เห็นในแบบการทำให้เห็นได้โดยวิธี scatter plot เราจะเห็นว่าจุด plot ที่แสดงมีการเกาะกลุ่มกันจำนวน 3 กลุ่ม บางส่วนของกลุ่มที่ 1 intersaction กับบางส่วนของกลุ่มที่ 2 ส่วนกลุ่มที่ 3 ไม่มีส่วนใด intersaction กับกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 แสดงให้เห็นว่าชุดข้อมูลดอกไม้ IRIS นี้มีจำนวน 3 กลุ่มที่คล้ายคลึงกันและบางสมาชิกของกลุ่มแรกมีความคล้ายคลึงกับบางสมาชิกของกลุ่มที่ 2 ส่วนสมาชิกทั้งหมดของกลุ่มที่ 3 มีความแตกต่างกับสมาชิกในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญ
อ้างอิง
[แก้]- Visualization Handbook (Hardcover) by Charles D. Hansen, Chris Johnson, Academic Press (June, 2004).