การดูแลและหาเพื่อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การดูแลและผูกมิตร)

การดูแลและหาเพื่อน (อังกฤษ: Tend-and-befriend) เป็นพฤติกรรมของสัตว์บางชนิดรวมทั้งมนุษย์ เพื่อตอบสนองต่อภัยโดยป้องกันหรือดูแลเลี้ยงลูก (tend) และโดยหาพวกหรือกลุ่มสังคมเพื่อช่วยป้องกันให้กันและกัน (befriend) มีสมมติฐานว่าพฤติกรรมนี้เป็นการตอบสนองปกติของหญิงต่อความเครียด เหมือนกับที่การตอบสนองหลักของชายเป็นแบบสู้หรือหนี เป็นแบบจำลองทางทฤษฎีที่ตั้งขึ้นโดย ดร. เช็ลลีย์ เทย์เลอร์ และคณะวิจัยที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส และกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในวารสารวิชาการ Psychological Review พิมพ์ในปี พ.ศ. 2543[1]

มูลฐานทางชีวภาพ[แก้]

ตามทฤษฎี Polyvagal Theory ของ ดร. สตีเฟ็น พอร์จส ระบบประสาทสังคม (Social Nervous System) เป็นวงจรประสาทที่ทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดความผูกพัน (affiliation) โดยเฉพาะเมื่อตอบสนองต่อความเครียด[2] ระบบนี้ควบคุมพฤติกรรมการเข้าหาทางสังคม (social approach behavior) ตัวการทางชีวภาพที่ควบคุมระบบนี้ดูเหมือนจะเป็นฮอร์โมนออกซิโทซิน (oxytocin)[3]

ออกซิโทซินสัมพันธ์กับความสัมพันธ์และกิจกรรมทางสังคมมากมายหลายหลาก รวมทั้งการผูกมิตรในกลุ่มเพื่อน กิจกรรมทางเพศ และการเลือกคบกับบุคคลหรือกลุ่มต่าง ๆ[3] มนุษย์จะปล่อยออกซิโทซินตอบสนองต่อตัวก่อเครียดมากมาย โดยเฉพาะต่อตัวที่อาจจุดชนวนให้สร้างความผูกพันกับคนอื่น ฮอร์โมนเป็นตัวโปรโหมตพฤติกรรมสร้างความผูกพัน รวมทั้ง การที่แม่ดูแลลูก และการผูกมิตรกับเพื่อน[4] และการสร้างความผูกพันภายใต้ความเครียดอย่างหนึ่งก็คือดูแล รวมทั้งป้องกันลูก

การสร้างความผูกพันอาจอยู่ในรูปแบบของการผูกมิตร ซึ่งก็คือหาคนช่วยเหลือทางสังคมเพื่อป้องกันตัวเอง ป้องกันลูก และป้องกันกลุ่มสังคมของตน การตอบสนองทางสังคมต่อภัยเหล่านี้ช่วยลดการตอบสนองทางชีวภาพต่อความเครียด รวมทั้ง ลดอัตราหัวใจเต้น ความดันโลหิต และการทำงานของกลุ่มประสาทแกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-อะดรีนัล (HPA) เช่นลดการหลั่งฮอร์โมนความเครียดคือคอร์ติซอล[5]

หญิงมีโอกาสตอบสนองต่อความเครียดโดยดูแลและผูกมิตรมากกว่าชาย และฮอร์โมนหญิงคือเอสโตรเจนจะเพิ่มผลของออกซิโทซิน ซึ่งเข้ากับความแตกต่างระหว่างเพศของพฤติกรรมนี้ เทียบกับฮอร์โมนเพศชายคือแอนโดรเจนที่ยับยั้งการปล่อยออกซิโทซิน[6]

การดูแลภายใต้ความเครียด[แก้]

พฤติกรรมตอบสนองต่อความเครียดของสัตว์เพศหญิงที่เพิ่มการรอดชีวิตของลูกจะทำให้ค่าความเหมาะสมของสัตว์สูงขึ้น และดังนั้น เป็นพฤติกรรมที่มีโอกาสตกทอดไปสู่ลูกผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ[1] เมื่อมีภัย การป้องกันและปลอบลูกในขณะที่หนีหายเข้าไปในสิ่งแวดล้อมอาจเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของทั้งแม่และลูก เมื่อเผชิญหน้ากับความเครียด หญิงมักตอบสนองโดยดูแลลูก ซึ่งช่วยลดระดับความเครียด งานศึกษาปี 2532 แสดงว่า ในวันที่งานเครียดมาก หญิงจะตอบสนองโดยดูแลลูกเพิ่มขึ้น[7] และโดยเปรียบเทียบกัน พ่อมีโอกาสไม่ยุ่งกับครอบครัวหรือว่าหาเรื่องกับสมาชิกในบ้านมากขึ้นในเย็นวันนั้น นอกจากนั้นแล้ว การถูกต้องทางกายระหว่างแม่กับลูกหลังเหตุการณ์ที่เป็นภัย จะช่วยลดการทำงานของสมองบริเวณแกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-อะดรีนัล (ซึ่งมีหน้าที่ตอบสนองต่อความเครียด) และลดความตื่นตัวของระบบประสาทซิมพาเทติก (ซึ่งโดยทั่วไปเป็นส่วนให้เกิดการตอบสนองโดยสู้หรือหนี)[8]

ฮอร์โมนออกซิโทซินที่ร่างกายปล่อยตอบสนองต่อตัวก่อความเครียดอาจเป็นกลไกการตอบสนองของหญิงโดยดูแลลูก งานศึกษาในแกะตัวเมียแสดงว่า การให้ฮอร์โมนออกซิโทซินจะเสริมพฤติกรรมความเป็นแม่[9] การให้นมลูกในมนุษย์ ซึ่งสัมพันธ์กับการปล่อยออกซิโทซิน เป็นการปลอบใจทั้งแม่และทารกโดยมีผลต่อสรีรภาพ[1]

การเลี้ยงลูกร่วมกัน[แก้]

การดูแลและผูกมิตรเป็นกลยุทธ์แบบปรับตัวที่จำเป็น เพื่อช่วยเพิ่มความสำเร็จทางการสืบพันธ์ของหญิงในสัตว์ที่เลี้ยงลูกร่วมกัน (cooperative breeders) สัตว์ที่เลี้ยงลูกร่วมกันเป็นสัตว์อยู่เป็นกลุ่มที่คนช่วยดูแลผู้ไม่ใช่มารดาเป็นสิ่งจำเป็นให้ทารกและเด็กรอดชีวิต[10] สัตว์ที่เลี้ยงลูกร่วมกันรวมทั้งหมาป่า ช้าง สัตว์อันดับวานรที่ไม่ใช่มนุษย์หลายพันธุ์ และมนุษย์ ในบรรดาสัตว์อันดับวานรและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมาก กระบวนการทางต่อมไร้ท่อและระบบประสาททำให้หญิงดูแลทารก แม้ที่ไม่ใช่ญาติ หลังจากได้รับสัญญาณต่าง ๆ จากทารกเป็นเวลานานพอ[11] หมาป่าตัวเมียที่ไม่ใช่แม่และหมาที่ไม่ได้เลียงบางครั้งจะเริ่มมีนมเพื่อช่วยเลี้ยงลูกของหมาตัวเมียที่เป็นแม่ฝูง

มนุษย์เกิดมาช่วยตนเองไม่ได้ จำเป็นต้องได้การเลี้ยงดูจากพ่อแม่ โตช้า และอาศัยการดูแลของพ่อแม่จนถึงวัยผู้ใหญ่ต้น ๆ และบ่อยครั้งนานกว่านั้น[11] ในช่วงวิวัฒนาการของมนุษย์โดยมาก มนุษย์ได้หาอาหารแบบนักล่า-เก็บของป่า ในบรรดาชุมชนนักล่า-เก็บของป่าที่ไม่ใช้วิธีการคุมกำเนิดปัจจุบัน หญิงจะมีความเท่าเทียมกันสูง และมักจะคลอดลูกประมาณทุก ๆ 4 ปีในช่วงวัยเจริญพันธุ์[11] และเมื่อคลอดลูก บ่อยครั้งจะมีลูกหลายคนต้องดูแล ผู้ต้องอาศัยผู้ใหญ่เพื่ออาหารและที่อยู่อย่างน้อย 18 ปีหรือมากกว่านั้น กลยุทธ์การสืบพันธุ์เช่นนี้จะวิวัฒนาการขึ้นมาไม่ได้ถ้าหญิงไม่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น พี่เลี้ยง (คือผู้ช่วยที่ไม่ใช่แม่ของเด็ก) ป้องกัน ให้อาหาร อุ้ม และดูแลเด็ก[11] ซึ่งอาจจะเป็นป้า ลุง พ่อ ย่ายาย พี่น้อง และหญิงอื่น ๆ ในชุมชน

แม้แต่ในสังคมตะวันตกปัจจุบัน พ่อแม่บ่อยครั้งต้องอาศัยญาติ เพื่อน หรือพี่เลี้ยงเด็กเพื่อช่วยดูเด็ก ในปี 2552 มีนักวิชาการที่อ้างว่า การช่วยกันเลี้ยงลูกในมนุษย์อาจเป็นเหตุให้เกิดวิวัฒนาการการปรับตัวทางจิตใจให้ชอบเข้าสังคมมากขึ้น ปรับการรู้จำทางสังคม (social cognition) ปรับสมรรถภาพการรู้คิดเพื่อประโยชน์ส่วนรวม รวมทั้งความสมัครใจเพื่อแชร์ความรู้สึกในใจ และการมีจุดประสงค์ร่วมกัน[10] กระบวนการทางการรู้คิดที่ชอบสังคมที่เกิดจากการเลี้ยงลูกร่วมกันอาจนำให้เกิดวัฒนธรรมและภาษา

การผูกมิตรเมื่อเครียด[แก้]

การใช้ชีวิตเป็นกลุ่มมีประโยชน์มากมาย รวมทั้งการป้องกันสัตว์ร้าย และการร่วมมือกันเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน เพื่อเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ หญิงสร้าง ธำรง และใช้เครือข่ายสังคม โดยเฉพาะมิตรภาพกับหญิงอื่น ในการจัดการบริหารสถานการณ์ที่สร้างความเครียด[1] ในสถานการณ์ที่มีภัย สมาชิกกลุ่มจะเป็นแหล่งให้ความสนับสนุนและความป้องกันสำหรับหญิงและลูก ๆ ของตน งานวิจัยแสดงว่าหญิงมีโอกาสหาคนช่วยเมื่อเกิดความทุกข์สูงกว่า เมื่อเทียบกับชาย[12]

ทั้งหญิงและหญิงวัยรุ่นรายงานว่ามีแหล่งสนับสนุนทางสังคมมากกว่า และมีโอกาสหันหาเพื่อนเพศเดียวกันเพื่อขอความช่วยเหลือมากกว่าชายหรือเด็กชาย โดยเป็นเรื่องที่ข้ามวัฒนธรรมต่าง ๆ หญิงและเด็กหญิงมักจะให้ความช่วยเหลือแก่กันบ่อยครั้งกว่าและดีกว่าชาย และมีโอกาสหาความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากเพื่อนหญิงหรือญาติหญิงอื่น ๆ มากกว่า[13]

หญิงมักจะผูกพันกับหญิงอื่นในสถานการณ์ที่เครียด แต่ว่า ถ้าต้องเลือกระหว่างรอคนเดียวหรือผูกมิตรกับชายแปลกหน้าก่อนแก้ปัญหาในแล็บที่ทำให้เครียด หญิงจะเลือกรอคนเดียว[1]

เครือข่ายสังคมหญิงสามารถให้ความช่วยเหลือเรื่องการดูแลเด็ก การแลกเปลี่ยนทรัพยากร และการป้องกันจากสัตว์ร้าย อันตรายอื่น ๆ และจากคนกลุ่มอื่น ๆ มีนักวิชาการสองพวก (ปี 2535 และ 2543) ทีอ้างว่า กลุ่มสังคมหญิงสามารถให้การป้องกันจากความก้าวร้าวรุกรานจากชาย[1][14]

มูลฐานทางประสาทร่วมต่อไร้ท่อ[แก้]

งานศึกษาในมนุษย์และสัตว์ (ทบทวนในปี 2543[1]) แสดงว่า ออกซิโทซินเป็นกลไกทางประสาทร่วมต่อมไร้ท่อ (neuroendocrine) ของการตอบสนองต่อความเครียดแบบ "ผูกมิตร" ของหญิง การให้ออกซิโทซินกับหนูและสัตว์วงศ์หนูทุ่ง (Microtus ochrogaster) เพิ่มการมาหาสู่กันทางสังคมและการดูแลกันและกัน ลดความเครียด และลดความก้าวร้าว ในมนุษย์ ออกซิโทซินโปรโหมตความรักระหว่างแม่ลูก ระหว่างคู่ และระหว่างเพื่อน การคุยติดต่อกับผู้อื่นหรือได้รับความช่วยเหลือในเวลาที่เครียด ทำให้ระบบประสาทซิมพาเทติกและระบบประสาทต่อมไร้ท่อตอบสนองต่อความเครียดลดลง แม้ว่า การช่วยเหลือทางสังคมจะช่วยลดการตอบสนองทางสรีรภาพเช่นนี้ทั้งในหญิงชาย แต่ว่า หญิงมีโอกาสสูงกว่าที่จะหาคนช่วยเมื่อเครียด นอกจากนั้นแล้ว การได้รับความช่วยเหลือจากหญิงอีกคนยังช่วยลดความเครียดได้ดีกว่า[15]

ประโยชน์ของความผูกพันภายใต้ความเครียด[แก้]

ตามนักเขียนท่านหนึ่ง พฤติกรรมผูกพันและการดูแลช่วยลดการตอบสนองต่อความเครียดทางชีวภาพทั้งในพ่อแม่และลูก และดังนั้น ช่วยลดภัยต่อสุขภาพเกี่ยวกับความเครียด[16] ส่วนการผูกมิตร อาจมีประโยชน์มากทั้งทางใจและทางสุขภาพในเวลาเครียด การแยกตัวออกทางสังคมสัมพันธ์กับความเสี่ยงตายที่สูงขึ้นอย่างสำคัญ เทียบกับการสนับสนุนทางสังคมที่สัมพันธ์กับการมีสุขภาพดี รวมทั้งความเสี่ยงป่วยและความตายที่ลดลง[17]

หญิงมีการคาดหมายคงชีพนับแต่เกิดมากกว่าชายในประเทศโดยมากที่สามารถเข้าถึงหมอพยาบาลได้เท่าเทียมกัน[18] ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกาความแตกต่างระหว่างหญิงชายเกือบถึง 6 ปี สมมติฐานหนึ่งก็คือว่า การตอบสนองต่อความเครียดของชาย (รวมทั้งความก้าวร้าว การถอนตัวจากสังคม และการใช้สารเสพติด) ทำให้เสี่ยงต่อผลทางสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์[19] และโดยเปรียบเทียบกัน การตอบสนองต่อความเครียดของหญิง ซึ่งรวมการหันหาการสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคม อาจช่วยป้องกันสุขภาพ

การแข่งขันเพื่อทรัพยากร[แก้]

การอยู่เป็นกลุ่มและการผูกพันกับผู้ที่ไม่ใช่เป็นญาติกันและเป็นเพศเดียวกัน (ที่ไม่มีเป้าหมายความสนใจทางพันธุกรรมที่เหมือนกัน) ก็ก่อปัญหาการแข่งขันเพื่อให้ได้ทรัพยากรที่จำกัด เช่น สถานะทางสังคม อาหาร และคู่ ด้วย ความเครียดทางความสัมพันธ์เป็นปัญหาที่สามัญและก่อความเครียดมากที่สุดสำหรับหญิง[20]

แม้ว่า การตอบสนองต่อความเครียดโดยการผูกมิตรอาจจะทำงานเป็นพิเศษในหญิงภายใต้สถานการณ์ที่ขาดอาหาร[1] แต่การขาดทรัพยากรก็ยังสร้างการแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้นเพื่อได้ทรัพยากรเหล่านั้น ในสถานการณ์ที่มีหญิงมากกว่าชาย ในที่ที่ชายกลายเป็นทรัพยากรที่จำกัดกว่า การแข่งขันระหว่างหญิงจะหนักขึ้น บางครั้งจนถึงความรุนแรง[21]

แม้ว่าอัตราอาชญากรรมของชายจะมากกว่าหญิง การถูกจับเพราะทำร้ายร่างกายในหญิงมีการกระจายตัวตามอายุเหมือนกับชาย โดยถึงจุดยอดสุดในหญิงปลายวัยรุ่นจนถึงประมาณอายุ 25 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่หญิงมีศักยภาพสูงสุดในการสืบพันธุ์ และจะประสบกับการแข่งขันเพื่อคู่มากที่สุด

ดังนั้น ประโยชน์ของความผูกพันจะต้องมีค่ามากกว่าราคาเพื่อที่พฤติกรรมเยี่ยงนี้จะเกิดวิวัฒนาการได้

ความแข่งขันและความก้าวร้าว[แก้]

อัตราความก้าวร้าวระหว่างมนุษย์ชายและหญิงอาจจะไม่ต่างกัน แต่ว่า รูปแบบความก้าวร้าวระหว่างเพศก็ต่างกัน โดยทั่วไป แม้ว่าหญิงจะแสดงความก้าวร้าวทางกายน้อยกว่า แต่ก็มักจะแสดงโดยทางอ้อมเท่ากันหรือมากกว่า เช่น การกีดกันจากสังคม การนินทา การปล่อยข่าวลือ และการว่าร้าย[22] เมื่อจัดให้มีแรงจูงใจในเรื่องคู่หรือการแข่งขันทางสถานะในการทดลองภายในสถานการณ์ที่สร้างความก้าวร้าว ชายมักจะเลือกแสดงความก้าวร้าวโดยตรงกับชายอีกคนหนึ่ง เทียบกับหญิงที่แสดงโดยอ้อมกับหญิงอีกคนหนึ่ง[23]

แต่ว่า การจัดให้แข่งขันเพื่อทรัพยากรจะเพิ่มความก้าวร้าวโดยตรงทั้งในหญิงชาย และเข้ากับผลที่พบนี้ อัตราความรุนแรงและอาชญากรรมจะสูงกว่าทั้งในหญิงชายเมื่อทรัพยากรขาดแคลน[24]

โดยเปรียบเทียบกัน การแข่งขันเพื่อทรัพยากรจะไม่เพิ่มความก้าวร้าวโดยตรงทั้งในหญิงชาย ถ้าให้จินตนาการว่าตนแต่งงานและมีลูกเล็กคนหนึ่ง เพราะว่า การได้รับความบาดเจ็บทางกายต่อพ่อหรือแม่จะเป็นราคาสำหรับครอบครัว

ความแปรปรวน (variance) ที่ต่ำกว่าในความสำเร็จของการสืบพันธุ์ และราคาที่สูงกว่าเมื่อใช้ความก้าวร้าวทางกาย อาจอธิบายอัตราความก้าวร้าวทางกายในระหว่างหญิงเทียบกับชาย[24] คือ หญิงโดยทั่วไปมีโอกาสมีลูกในชีวิตมากกว่าชาย ดังนั้น การต่อสู้แล้วเสี่ยงบาดเจ็บหรือตายจะเป็นราคาความเหมาะสมที่สูงสำหรับหญิง นอกจากนั้นแล้ว การรอดชีวิตของเด็กเล็ก ๆ ยังพึ่งแม่มากกว่าพ่อ ซึ่งเน้นให้เห็นความสำคัญของความปลอดภัย การรอดชีวิต และการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของแม่[24] ทารกโดยหลักจะติดแม่ และการตายของแม่เพิ่มโอกาสความตายในวัยเด็กในสังคมนักล่า-เก็บของป่า 5 เท่าตัว เทียบกับ 3 เท่าตัวถ้าพ่อตาย[24] ดังนั้น หญิงจึงตอบสนองต่อภัยโดยดูแลและผูกมิตร และความก้าวร้าวของหญิงบ่อยครั้งเป็นแบบอ้อมหรือแบบแอบแฝงโดยธรรมชาติก็เพื่อเลี่ยงการแก้เผ็ดหรือการบาดเจ็บทางกาย

การสู้กันด้วยปาก[แก้]

หญิงผูกมิตรกับคนอื่นไม่ใช่เพื่อความปลอดภัยอย่างเดียว แต่เพื่อสร้างพันธมิตรเพื่อแข่งขันกับสมาชิกของกลุ่มอื่นเพื่อทรัพยากร เช่น อาหาร คู่ และทรัพยากรทางสังคมและวัฒนธรรม (เช่น สถานะ ตำแหน่งทางสังคม สิทธิและหน้าที่รับผิดชอบ) การสู้กันด้วยปากเป็นกลยุทธ์การแข่งขันในรูปแบบของความก้าวร้าวทางวาจาโดยอ้อมต่อคู่แข่ง[25] การนินทา (gossip) เป็นกลยุทธ์หนึ่ง ซึ่งกระจายข่าวที่ทำชื่อเสียงของคู่แข่งให้เสียหาย มีทฤษฎีหลายอย่างเกี่ยวกับการนินทา รวมทั้งเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์กันทางสังคม และเป็นการรวมกลุ่ม

แต่ว่า เข้ากับทฤษฎีทางสงครามข้อมูล (informational warfare) เนื้อความของสิ่งที่นินทาจะต้องเข้าประเด็นกับสถานการณ์ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ากำลังแข่งขันเพื่อตำแหน่งในที่ทำงาน คนมักจะกระจายข่าวไม่ดีเกี่ยวกับงานของคู่แข่งให้เพื่อนร่วมงาน[25]

การนินทาว่าร้ายยังเพิ่มขึ้นตามความขาดแคลนทางทรัพยากรหรือตามค่าของทรัพยากรด้วย นอกจากนั้นแล้ว คนมักจะกระจายข่าวร้ายเกี่ยวกับคู่แข่งแต่มักจะกระจ่ายข่าวดีเกี่ยวกับสมาชิกครอบครัวและเพื่อน และดังที่ได้กล่าวแล้ว การผูกมิตรจะช่วยป้องกันหญิงจากอันตราย รวมทั้งความมุ่งร้ายจากผู้อื่น ๆ ซึ่งไม่จำกัดเพียงแค่การทำร้ายทางกายแต่รวมการเสียชื่อเสียงทางสังคมด้วย ดังนั้น หญิงผูกมิตรและสร้างพันธมิตรส่วนหนึ่งก็เพื่อแข่งขันเพื่อได้ทรัพยากรที่จำกัด และส่วนหนึ่งก็เพื่อป้องกันตัวเองจากอันตรายต่อความสัมพันธ์หรือชื่อเสียง

การมีเพื่อนหรือพันธมิตรช่วยขัดขวางการนินทาว่าร้าย เพราะพันธมิตรมีสมรรถภาพที่จะเอาคืนสูงกว่าสมรรถภาพของบุคคลคนเดียว งานวิจัยปี 2552 พบว่า การอยู่ด้วยของเพื่อนคู่แข่งลดความโน้มเอียงที่จะนินทาคู่แข่ง[25] และผลนี้จะแรงกว่าถ้าเพื่อนมาจากสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกัน (เช่น ในที่ทำงานเดียวกัน) เทียบกับเพื่อนที่มาจากกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกัน เพื่อนช่วยเพิ่มความรู้สึกว่าหญิงนั้นมีสมรรถภาพในการทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งและในการป้องกันการก้าวร้าวโดยอ้อมอื่น ๆ

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Taylor, Shelley E.; Klein, Laura Cousino; Lewis, Brian P.; Gruenewald, Tara L.; Gurung, Regan A. R.; Updegraff, John A. (2000). "Biobehavioral responses to stress in females: Tend-and-befriend, not fight-or-flight". Psychological Review. 107 (3): 411–29. doi:10.1037/0033-295X.107.3.411. PMID 10941275.
  2. Porges, S. W. (2001). "The Polyvagal Theory: Phylogenetic substrates of a social nervous system". International Journal of Psychophysiology. 42: 123–146. doi:10.1016/s0167-8760(01)00162-3.
  3. 3.0 3.1 The integrative neurobiology of affiliation. Cambridge, Mass: MIT Press. 1999. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)[ต้องการเลขหน้า]
  4. Insel, Thomas R. (1997). "A Neurobiological Basis of Social Attachment". American Journal of Psychiatry. 154 (6): 726–35. PMID 9167498.
  5. Light, Kathleen C.; Smith, Tara E.; Johns, Josephine M.; Brownley, Kimberly A.; Hofheimer, Julie A.; Amico, Janet A. (2000). "Oxytocin responsivity in mothers of infants: A preliminary study of relationships with blood pressure during laboratory stress and normal ambulatory activity". Health Psychology. 19 (6): 560–7. doi:10.1037/0278-6133.19.6.560. PMID 11129359.
  6. McCarthy, MM (1995). "Estrogen modulation of oxytocin and its relation to behavior". Advances in experimental medicine and biology. 395: 235–45. PMID 8713972.
  7. Repetti, R. L. (1989). "Effects of daily workload on subsequent behavior during marital interactions: The role of social withdrawal and spouse support". Journal of Personality and Social Psychology. 57: 651–659. doi:10.1037/0022-3514.57.4.651.
  8. Gunnar, M. R.; Gonzales, C. A.; Goodlin, B. L.; Levine, S. (1981). "Behavioral and pituitary-adrenal responses during a prolonged separation period in rhesus monkeys". Psychoneuroimmunology. 6: 65–75. doi:10.1016/0306-4530(81)90049-4.
  9. Kendrick, K. M.; Keverne, E. B.; Baldwin, B. A. (1987). "Intracerebroventricular oxytocin stimulates maternal behaviour in the sheep". Neuroendocrinology. 46: 56–61. doi:10.1159/000124796.
  10. 10.0 10.1 Burkart, J. M.; Hrdy, S. B.; Van Schaik, C. P. (September 2009). "Cooperative breeding and human cognitive evolution". Evolutionary Anthropology: Issues, News, and Reviews. 18 (5): 175–186. doi:10.1002/evan.20222.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 Hrdy, S. B. "Mothers and Others". Natural History Magazine.
  12. Tamres, Lisa K.; Janicki, Denise; Helgeson, Vicki S. (2002). "Sex Differences in Coping Behavior: A Meta-Analytic Review and an Examination of Relative Coping". Personality and Social Psychology Review. 6: 2–30. doi:10.1207/S15327957PSPR0601_1.
  13. Whiting, B.; Whiting, J. (1975). Children of six cultures. Cambridge, MA: Harvard University Press.
  14. Smuts, B. (1992). "Male aggression against women: An evolutionary perspective". Human Nature. 3: 1–44. doi:10.1007/bf02692265.
  15. Gerin, W.; Milner, D.; Chawla, S.; และคณะ. "Social support as a moderator of cardiovascular reactivity: A test of the direct effects and buffering hypothesis". Psychosomatic Medicine. 57: 16–22. doi:10.1097/00006842-199501000-00003.
  16. Taylor, S.E. (2002). The tending instinct: How nurturing is essential to who we are and how we live. New York: Henry Holt and Company.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)[ต้องการเลขหน้า]
  17. Cohen, Sheldon; Wills, Thomas A. (1985). "Stress, social support, and the buffering hypothesis". Psychological Bulletin. 98 (2): 310–57. doi:10.1037/0033-2909.98.2.310. PMID 3901065.
  18. "WHO Life expectancy data by country". WHO. 2012. สืบค้นเมื่อ 1 June 2013.
  19. Verbrugge, Lois M. (1985). "Gender and Health: An Update on Hypotheses and Evidence". Journal of Health and Social Behavior. 26 (3): 156–82. doi:10.2307/2136750. JSTOR 2136750. PMID 3905939.
  20. Davis, M. C.; Matthews, K. A.; Twamley, E. W. (1999). "Is life more difficult on Mars or Venus? A meta-analytic review of sex differences in major and minor life events". Annals of Behavioral Medicine. 21: 83–97. doi:10.1007/bf02895038.
  21. Campbell, A. (1995). "A few good men: Evolutionary psychology and female adolescent aggression". Ethology and Sociobiology. 16: 99–123. doi:10.1016/0162-3095(94)00072-f.
  22. Bjorkqvist, K.; Niemela, P., บ.ก. (1992). Of mice and women: Aspects of female aggression. San Diego, CA: Academic Press.
  23. Griskevicius, Vladas; และคณะ (2009). "Aggress to Impress: Hostility as an Evolved Context-Dependent Strategy". Journal of Personality and Social Psychology. 96 (5): 980–994. doi:10.1037/a0013907.
  24. 24.0 24.1 24.2 24.3 Campbell, A. (1999). "Staying alive: Evolution, culture, and women's intrasexual aggression". Behavioral and Brain Sciences. 22: 203–252. doi:10.1017/s0140525x99001818. PMID 11301523.
  25. 25.0 25.1 25.2 Hess, Nicole; Hagen, Edward (2002). "Informational warfare: Coalitional gossiping as a strategy for within-group aggression". Cogprints.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Aronson, E., Wilson, T.D., & Akert, R.M. (2005). Social Psychology. (5th ed.) Upper Saddle River, NJ: Pearson Education, Inc.
  • Friedman, H.S., & Silver, R.C. (Eds.) (2007). Foundations of Health Psychology. New York: Oxford University Press.
  • Gurung, R.A.R. (2006). Health Psychology: A Cultural Approach. Belmont, CA: Thomson Wadsworth.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]