การจัดการโครงการ
การจัดการโครงการ (หรืออาจใช้ว่า การบริหารโครงการ, การบริหารจัดการโครงการ)(อังกฤษ: Project management) เป็นหลักการความรู้ในการวางแผน จัดระเบียบ รับประกัน จัดการ ชี้นำ และควบคุมทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อให้โครงการบรรลุเป้าประสงค์ [1] การจัดการโครงการเป็นการวางแผนและการจัดการทรัพยากรต่างๆ ทั้งทรัพยากรด้านบุคคลและรายละเอียดของกิจกรรมต่างภายในโครงการ โดยคาดคะเนทิศทางและระยะเวลาของโครงการตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนกระทั่งถึงโครงการสำเร็จ รวมถึงการกำหนดช่วงเวลาในการปฏิบัติงานในกิจกรรมต่างๆภายในโครงการ เพื่อจะทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพ และสามารถที่จะประมาณราคาของโครงการได้ การจัดการโครงการมีหัวใจสำคัญคือการจัดการความสัมพันธ์ระหว่าง เวลา ราคา และคุณภาพ ในทรัพยากรที่กำหนดเพื่อให้ได้เป้าหมายตามต้องการ
ในแต่ละโครงการจะมีเป้าหมายที่ชัดเจน และมีการระบุวันเริ่มและวันสิ้นสุดงาน[2] ซึ่งจุดนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างจากการทำงานธุรกิจทั่วไป[3]ที่มีลักษณะงานที่มีรูปแบบการทำงานแน่นอน และมีการทำงานซ้ำเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าตามต้องการ การจัดการงานต่างๆ และความรู้ทางเทคนิคที่ถูกนำมาใช้ ในการจัดการโครงการ และ การจัดการทางธุรกิจนั้นมีความแตกต่างกัน
ความท้าทายของการจัดการโครงการคือการเข้าถึงเป้าหมายได้ทั้งหมดตามที่กำหนดไว้[4] ขณะที่ยังคงจัดการข้อจำกัดและทรัพยากรที่มี[5] ข้อจำกัดทั่วไปในการจัดการโครงการได้แก่ ขอบเขตงาน เวลา เงินทุน และข้อจำกัดต่อมาคือ การจัดสรรทรัพยากร การประยุกต์และนำทรัพยากรที่มีทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ตามเป้าหมาย
ประวัติ
[แก้]การจัดการโครงการได้ถูกพัฒนาจากหลากหลายสาขารวมถึง การก่อสร้าง วิศวกรรม และการทหาร[6] บิดาแห่งวงการจัดการโครงการได้แก่ เฮนรี แกนต์ (Henry Gantt) [7] ซึ่งเป็นผู้ใช้แกนต์ชาร์ต(หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Harmonogram ซึ่งถูกเสนอเป็นครั้งแรกโดย Karol Adamiecki[8])เป็นเครื่องมือในการจัดการโครงการ และคนที่สองคือ เฮนรี่ ฟาโยล (Henri Fayol) ผู้บุกเบิกในด้านการจัดการโครงการด้วยการคิดค้น 5 หลักการทำงานด้านการจัดการ ซึ่งกลายมาเป็นรากฐานของความรู้ในการจัดการโครงการ[9] ทั้ง แกนต์และฟาโยลเป็นลูกศิษย์ของเฟเดอริก วินส์โล เทเลอร์ (Frederick Winslow Taylor) ผู้เป็นเจ้าของทฤษฎี การจัดการทางวิทยาศาสตร์ (scientific management) ซึ่งงานของเขาเป็นการบุกเบิกเครื่องมือในการจัดการโครงการสมัยใหม่ รวมถึง การทำโครงสร้างรายละเอียดของงานต่างๆในโครงสร้าง (work breakedown structure; WBS) และการเคลื่อนย้ายทรัพยากร (resource allocation)
ในคริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นการเริ่มต้นของยุคของการจัดการโครงการสมัยใหม่ที่วิศวกรรมหลากหลายสาขาในโครงการได้มาทำงานเป็นทีมเดียวกัน หลังจากนั้นการจัดการโครงการกลายเป็นหลักการปฏิบัติที่ชัดเจน ซึ่งเกิดขึ้นจากหลักการในการจัดการทางวิศวกรรม[10] ก่อนปีค.ศ. 1950 ในประเทศสหรัฐอเมริกา การจัดการโครงการส่วนใหญ่ใช้แกนต์ชาร์ต, เทคนิคและเครื่องมือเฉพาะตัวต่างๆมากมาย ในช่วงเวลาขณะนั้นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับวางแผนระยะเวลาต่างๆในโครงการ 2 แบบจำลอง ได้ถูกพัฒนาขึ้น อย่างแรกคือ Critical Path Model (CPM) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท DuPont Corporation และบริษัท Remington Rand Corporation เพื่อใช้สำหรับการจัดการในเรื่องของการบำรุงรักษาโรงงานอุตสาหกรรม แบบจำลองอีกแบบหนึ่งคือ Program Evaluation and Review Technique (PERT) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดย Booz Allen Hamilton ซึ่งเขาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาจรวดนำวิถี Polaris สำหรับเรือดำน้ำ[11] ซึ่งในเวลาต่อมาแบบจำลองทั้งสองได้ถูกนำไปใช้ในบริษัทต่างๆ อย่างรวดเร็ว
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเทคโนโลยีในการประเมินราคาของโครงการ, การจัดการต้นทุนและเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดย Hans Lang และบุคคลอื่นๆ ในปี ค.ศ. 1956 American Association of Cost Engineers (ปัจจุบันคือ AACE International; Association for the Advancement of Cost Engineering) ได้ถูกตั้งขึ้นและดำเนินงานเรื่อยมาจนกระทั่งในปี ค.ศ. 2006 ได้เผยแพร่ Total Cost Management ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติแบบครบวงจรในการจัดการโครงการ
ในปี ค.ศ. 1967 องค์กรที่ชื่อว่า International Project Management Association (IPMA) ได้รับการจัดตั้งขึ้นในทวีปยุโรป [12] โดยสมาคมสำหรับการจัดการโครงการต่างๆ เพื่อเป็นองค์กรกลางในการวางโครงสร้างและดูแลโครงสร้างสำหรับการจัดการโครงการ IPMA ได้มีการออกใบประกาศนียบัตร 4 ระดับ โดยยึดจาก IPMA Competence Baseline (ICB).[13]
ในปี ค.ศ. 1967 องค์กรที่ชื่อว่า Project Management Institute (PMI) ได้รับการจัดตั้งขึ้นในสหรัฐอเมริกา [14] และได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ A Guide to the Project Management Body of Knowledge (PMBOK) ซึ่งได้อธิบายแนวทางการปฏิบัติในการจัดการโครงการซึ่งโดยพื้นฐานคือ "most projects, most of the time." PMI ได้แบ่งใบประกาศนียบัตรออกเป็นหลายระดับ
วิธีการในการจัดการโครงการ
[แก้]ขั้นตอนและกระบวนการจัดการโครงการ
[แก้]- การกำหนดโครงการ
- การจัดเตรียมโครงการ
- การประเมินโครงการและการอนุมัติโครงการ
- การนำโครงการไปปฏิบัติ
- การประเมินผลโครงการ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Chatfield, Carl. "A short course in project management". Microsoft
- ↑ * The Definitive Guide to Project Management. Nokes, Sebastian. 2nd Ed.n. London (Financial Times / Prentice Hall): 2007. ISBN 978-0-273-71097-4
- ↑ Paul C. Dinsmore et al (2005) The right projects done right! John Wiley and Sons, 2005. ISBN 0-7879-7113-8. p.35 and further.
- ↑ Lewis R. Ireland (2006) Project Management. McGraw-Hill Professional, 2006. ISBN 0-07-147160-X. p.110.
- ↑ Joseph Phillips (2003). PMP Project Management Professional Study Guide. McGraw-Hill Professional, 2003. ISBN 0-07-223062-2 p.354.
- ↑ David I. Cleland, Roland Gareis (2006). Global project management handbook. "Chapter 1: "The evolution of project management". McGraw-Hill Professional, 2006. ISBN 0-07-146045-4
- ↑ Martin Stevens (2002). Project Management Pathways. Association for Project Management. APM Publishing Limited, 2002 ISBN 1-903494-01-X p.xxii
- ↑ Edward R. Marsh (1975). "The Harmonogram of Karol Adamiecki". In: The Acadamy of Management Journal. Vol. 18, No. 2(Jun., 1975), p. 358. (online)
- ↑ Morgen Witzel (2003). Fifty key figures in management. Routledge, 2003. ISBN 0-415-36977-0. p. 96-101.
- ↑ David I. Cleland, Roland Gareis (2006). Global Project Management Handbook. McGraw-Hill Professional, 2006. ISBN 0-07-146045-4. p.1-4 states: "It was in the 1950s when project management was formally recognized as a distinct contribution arising from the management discipline."
- ↑ Booz Allen Hamilton – History of Booz Allen 1950s
- ↑ Bjarne Kousholt (2007). Project Management –. Theory and practice. Nyt Teknisk Forlag. ISBN 87-571-2603-8. p.59.
- ↑ ipma.ch
- ↑ F. L. Harrison, Dennis Lock (2004). Advanced project management: a structured approach. Gower Publishing, Ltd., 2004. ISBN 0-566-07822-8. p.34.
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- การบริหารจัดการโครงการ พรีเซนเตชันโดย ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์
- การจัดการโครงการคืออะไร เก็บถาวร 2009-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล กสท โทรคมนาคม