การกล่าวใส่ร้ายการสังเวยด้วยเลือดของชาวยิว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพแสดงการสังเวยด้วยเลือดของไซมอนแห่งเทร้นท์อายุสองขวบที่หายตัวไป พ่อของเด็กกล่าวหาว่าถูกลักตัวไปโดยชาวยิว ซึ่งเป็นผลให้ชาวยิวสิบห้าคนถูกตัดสินให้เผาทั้งเป็น ไซมอนได้รับการสถาปนาให้เป็นนักบุญในปี ค.ศ. 1588 แต่มาถูกปลดในปี ค.ศ. 1965

การกล่าวใส่ร้ายการสังเวยด้วยเลือดของชาวยิว (อังกฤษ: Blood libel against Jews) เป็นข้อกล่าวหาที่ไม่ถูกต้องที่กล่าวหาว่าชาวยิวใช้เลือดมนุษย์ในพิธีกรรมทางศาสนา การกล่าวหากรณีนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในบทเขียนของนักเขียนเพกันชาวกรีก-อียิปต์เอเพียน (Apion) ของต้นคริสต์ศตวรรษที่ 1 ผู้อ้างว่าชาวยิวสังเวยชาวกรีกในศาสนสถาน หลังจากนั้นก็ไม่มีเหตุการณ์ทำนองเดียวกันที่ได้รับการบันทึกมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่อข้อกล่าวหานี้เริ่มเป็นที่เผยแพร่ในหมู่ชนคริสเตียนในยุโรป การกล่าวเรื่องการสังเวยด้วยเลือดมักจะกล่าวว่าชาวยิวใช้เลือดเด็กคริสเตียน ที่มักจะใช้กล่าวหาเมื่อมีเด็กที่เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ ในบางกรณีผูที่เป็นเหยื่อของการกล่าวหาไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็กลายเป็นผู้พลีชีพเพื่อศาสนาและเป็นที่นับถือของลัทธินิยมที่ตามมา และบางคนถึงกับได้รับการสถาปนาให้เป็นนักบุญ

ข้อกล่าวหานี้ก็ยังคงมีอยู่ในกลุ่มคริสเตียนบางกลุ่มแม้ในปัจจุบันนี้ และเมื่อไม่นานมานี้ก็ในกลุ่มมุสลิมบางกลุ่ม ในตำนานของชาวยิวการกล่าวหานี้เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดตำนานเกี่ยวกับโกเลมแห่งปรากโดยราไบจูดาห์ โลว์ เบน เบซาลเอล พระสันตะปาปาหลายองค์ก็กล่าวประณามการสังเวยด้วยเลือดไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยทางอ้อม แต่ก็ไม่มีพระสันตะปาปาองค์ใดที่ประกาศอย่างเป็นทางการ[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. Strack, Blut in Glauben and Aberglauben (Munich, 1900), 177 and v.