ข้ามไปเนื้อหา

กามูกามู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กามูกามู
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Myrtales
วงศ์: Myrtaceae
สกุล: Myrciaria
สปีชีส์: M.  dubia
ชื่อทวินาม
Myrciaria dubia
(Kunth) McVaugh
ชื่อพ้อง[1]
  • Eugenia divaricata Benth.
  • Eugenia grandiglandulosa Kiaersk.
  • Marlierea macedoi D.Legrand [ยกเลิก]
  • Myrciaria caurensis Steyerm.
  • Myrciaria divaricata (Benth.) O.Berg
  • Myrciaria lanceolata O.Berg
  • Myrciaria obscura O.Berg
  • Myrciaria paraensis O.Berg
  • Myrciaria phillyraeoides O.Berg
  • Myrciaria riedeliana O.Berg
  • Myrciaria spruceana O.Berg
  • Myrtus phillyraeoides (O.Berg) Willd. ex O.Berg
  • Psidium dubium Kunth
เมล็ดกามูกามูแห้ง

กามูกามู (โปรตุเกสและสเปน: camu camu, camu-camu, camucamu), กาซารี (โปรตุเกส: caçari) หรือ อาราซาดากวา (โปรตุเกส: araçá-d'água) เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กชนิดหนึ่งในวงศ์ชมพู่ มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำลำธารในป่าดิบชื้นแอมะซอนของประเทศบราซิล เวเนซุเอลา โคลอมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู

กามูกามูเป็นญาติใกล้ชิดกับองุ่นบราซิล (Myrciaria cauliflora) และรัมเบอร์รีหรือกวาวาเบอร์รี (Myrciaria floribunda) มีความสูงของต้นประมาณ 3–5 เมตร (10–16 ฟุต) ออกผลขนาดเล็กคล้ายผลเชอร์รี มีสีแดงอมม่วง รสเปรี้ยว และมีปริมาณวิตามินซีสูงมาก กล่าวคือ ประมาณร้อยละ 2–3 ของน้ำหนักผลสด

คุณค่าทางโภชนาการ

[แก้]

คุณค่าทางโภชนาการของผลกามูกามูสด 100 กรัม :

  • โปรตีน 0.4 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 5.9 กรัม
  • แป้ง 0.44 กรัม
  • น้ำตาล 1.28 กรัม
  • ใยอาหาร 1.1 กรัม
  • ไขมัน 0.2 กรัม
  • แคลเซียม 15.7 มิลลิกรัม
  • ทองแดง 0.2 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 0.53 มิลลิกรัม
  • แมกนีเซียม 12.4 มิลลิกรัม
  • แมงกานีส 2.1 มิลลิกรัม
  • โพแทสเซียม 83.9 มิลลิกรัม
  • โซเดียม 11.1 มิลลิกรัม
  • สังกะสี 0.2 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี ตั้งแต่ 1,882–2,280 มิลลิกรัม ขึ้นอยู่กับความสุก[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Plant List: A Working List of All Plant Species".
  2. Mst. Sorifa Aktera; Sejong Ohb; Jong-Bang Euna; Maruf Ahmed (Aug 2011). "Nutritional compositions and health promoting phytochemicals of camu-camu (Myrciaria dubia) fruit: A review". Food Research International. 44 (7): 1728–32. doi:10.1016/j.foodres.2011.03.045.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]