กัมปีโอเนดีตาเลีย
กัมปีโอเนดีตาเลีย | |
---|---|
Comune di Campione d'Italia | |
![]() กัมปีโอเนดีตาเลีย เดือนเมษายน ค.ศ. 2006 | |
พิกัด: 45°58′N 08°58′E / 45.967°N 8.967°E | |
ประเทศ | อิตาลี |
แคว้น | ลอมบาร์เดีย |
จังหวัด | โกโม |
ก่อตั้ง | 77 ปีก่อนคริสต์ศักราช |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | โรแบร์โต ซัลโมอีรากี |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 2.68 ตร.กม. (1.03 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 273 เมตร (896 ฟุต) |
ประชากร (30 เมษายน ค.ศ. 2017)[3] | |
• ทั้งหมด | 1,958 คน |
• ความหนาแน่น | 730 คน/ตร.กม. (1,900 คน/ตร.ไมล์) |
เดมะนิม | กัมปีโอเนซี (Campionesi) |
เขตเวลา | UTC+1 (CET) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (CEST) |
รหัสไปรษณีย์ | IT-22061 |
นักบุญองค์อุปถัมภ์ | นักบุญเซโน |
วันสมโภชนักบุญ | 12 เมษายน |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
กัมปีโอเนดีตาเลีย (อิตาลี: Campione d'Italia) หรือ ก็องปยูง (กามัสโก: Campiùn) เป็นโกมูเนหรือเขตการปกครองระดับเทศบาลของจังหวัดโกโม แคว้นลอมบาร์เดีย ประเทศอิตาลี และเป็นดินแดนส่วนแยกที่ตั้งอยู่ในรัฐตีชีโน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยดินแดนส่วนแยกนี้ห่างจากพรมแดนอิตาลีไม่ถึงหนึ่งกิโลเมตร แต่ด้วยสภาพภูมิประเทศเป็นเขาสูงชันกั้นขวาง ทำให้ถนนที่เชื่อมต่อกับเมืองอัลตาวัลเลอินเตลวี อันเป็นเมืองที่ใกล้ที่สุดในเขตแดนอิตาลี มีระยะทาง 14 กิโลเมตร และห่างจากเมืองโกโมอีก 28 กิโลเมตร
ประวัติ
[แก้]

ช่วงศตวรรษแรกก่อนคริสต์ศักราช ชาวโรมันก่อตั้งเมืองกัมปีโลนุม (Campilonum) เพื่อป้องกันดินแดนจากการรุกรานของชาวเฮลเวตีอี (Helvetii)[4]
ค.ศ. 777 โตโตแห่งกัมปีโอเน เป็นขุนนางท้องถิ่นลอมบาร์เดีย ได้มอบมรดกที่ดินแก่อาร์ชบิชอปแห่งมิลาน ก่อนโอนกรรมสิทธิ์แก่อาสนวิหารซันตัมโบรโจ ต่อมาใน ค.ศ. 1512 สมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ทรงโอนพื้นที่โดยรอบตีชีโนให้เป็นกรรมสิทธิ์ของบิชอปแห่งโกโมไปขึ้นกับสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อเป็นการตอบแทนเมื่อคราวสงครามสันนิบาตกัมไบร แต่อย่างไรก็ตามอาสนวิหารยังมีอำนาจเหนือพื้นที่กัมปิโอเนและอาณาเขตบางส่วนทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบลูกาโน[4]
ค.ศ. 1798 รัฐตีชีโนเลือกที่จะรวมเข้ากับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนชาวกัมปีโอเนเลือกที่จะขึ้นกับแคว้นลอมบาร์เดีย[5] ต่อมา ค.ศ. 1800 ตีชีโนเสนอที่จะแลกเปลี่ยนดินแดนระหว่างอินมีนีกับกัมปีโอเน และลงประชามติใน ค.ศ. 1814 ซึ่งชาวกัมปีโอคัดค้านที่จะแลกดินแดน และ ค.ศ. 1848 ในช่วงที่ประเทศอิตาลีกำลังรวมชาตินั้น กัมปีโอเนยื่นคำร้องขอผนวกดินแดนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งทางรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว ด้วยถือนโยบายเป็นกลาง[4]
หลังการรวมชาติของประเทศอิตาลีสำเร็จใน ค.ศ. 1861 ดินแดนฝั่งตะวันตกของทะเลสาบลูกาโนและครึ่งหนึ่งของทะเลสาบตกเป็นของประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพื่อการค้าและขนส่งจะไม่ต้องผ่านเขตแดนของประเทศอิตาลี ในทศวรรษที่ 1930 เบนิโต มุสโสลินี ผู้นำเผด็จการชาวอิตาลีได้เปลี่ยนชื่อ กัมปีโอเน โดยเติม ดีตาเลีย และสร้างประตูประจำหมู่บ้านขึ้น เพื่อยืนยันว่าดินแดนส่วนแยกแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศอิตาลี[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Superficie di Comuni Province e Regioni italiane al 9 ottobre 2011". สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2019.
- ↑ "Popolazione Residente al 1° Gennaio 2018". สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2019.
- ↑ "Demo-Geodemo. - Maps, Population, Demography of ISTAT - Italian Institute of Statistics". demo.istat.it. ISTAT. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2017. สืบค้นเมื่อ 11 August 2008.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Jacobs, Frank (15 May 2012). "Enclave-Hunting in Switzerland". New York Times. สืบค้นเมื่อ 19 May 2012.
- ↑ "La Repubblica cisalpine (1797 Giugno 29 - 1799 Aprile 26; 1800 Giugno 17 - 1802 Gennaio 26) – Istituzioni storiche – Lombardia Beni Culturali". www.lombardiabeniculturali.it (ภาษาอิตาลี).
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Campione d'Italia
คู่มือการท่องเที่ยว กัมปีโอเนดีตาเลีย จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- เว็บไซต์ทางการ
- European Court of Human Rights: Nada v. Switzerland 10593/08