กัปเปลลาปาลาตีนา

พิกัด: 38°06′39″N 13°21′13″E / 38.11083°N 13.35361°E / 38.11083; 13.35361
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพดานมุก็อรนัศที่มีชื่อเสียงของโบสถ์

โบสถ์น้อยปาลาตีนา (อิตาลี: Cappella Palatina) เป็นโบสถ์น้อยหลวงประจำพระราชวังนอร์มันในเมืองปาเลร์โม ซิซิลี อาคารสร้างขึ้นโดยผสมผสานสถาปัตยกรรมบีแซนทีน, นอร์มัน และ ฟาตีมิด ซึ่งเป็นการแสดงถึงสภาวะที่มีการอยูร่วมกันของสามวัฒนธรรมในซิซิลีในสมัยศตวรรษที่ 12 หลังโรเจร์ที่หนึ่ง และ โรเบิร์ต กุยสการ์ เข้ายึดครองเกาะซิซิลี

บางทีเรียกโบสถ์น้อยนี้ว่า โบสถ์วัง หรือ โบสถ์น้อยวัง[1] สร้างขึ้นโดยโรเจร์ที่สองแห่งซิซิลีในปี 1132 โดยสร้างครอบโบสถ์น้อยหลังเก่า ที่ซึ่งปัจจุบันคือห้องใต้ดินของโบสถ์ โบสถ์หลังเก่านี้สร้างขึ้นในราวปี 1080 โบสถ์หลังใหม่ใช้เวลาสร้างราวแปดปี และได้รับตราตั้งในปีเดียวกันกับที่สร้างเสร็จ ส่วนงานโมเสกนั้นสร้างเสร็จเพียงบางส่วนเท่านั้นในปี 1143[1] โบสถ์น้อยหลังนี้สร้างอุทิศแด่นักบุญปีเตอร์ สร้างในลักษณะอย่างบาซิลิกามีโดม แปลนของโสถ์ประกอบด้วยมุกครึ่งวงกลมสามมุกตามแบบที่พบทั่วไปในสถาปัตยกรรมบีแซนทีน มีโค้งมุม (pointed arches) หกอันสร้างขึ้นบนเสาคลาสสิกเดิม เพดานของส่วนเนฟเป็นแบบมุก็อรนัส ซึ่งแสดงถึงอิทธิพลของสถาปัตยกรรมฟาติมิดในโบสถ์[2] ส่วนเนฟนี้มีลักษณะคล้ายกับโถงต้อนรับในสถาปัตยกรรมอิสลาม[3] นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่าเคยมีอักษรกูฟีย์ภายในโบสถ์ แต่ต่อมาก็ได้ถูกนำออกไป ประเด็นนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงในนักวิชาการถึงการมีอยู่ของอักษรวิจิตรนี้[4] นอกจากนี้ในโบสถ์ยังมีการใช้แม่ลายเส้นตรง (rectilinear) ซึ่งเป็นอิทธิพลจากอิสลาม แม่ลายเช่นนี้ไม่พบแพร่หลายในสถาปัตยกรรมของยุโรปในเวลานั้น[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Ćurčić 1987, p. 125.
  2. Tronzo 1997a, p. 10.
  3. Tronzo 1997a, p. 143.
  4. Tronzo 1997a, p. 45–46.
  5. Tronzo 1997a, p. 35.

อ้างอิง[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

  • Agnello, Fabrizio. “The Painted Ceiling Of The Nave Of The Cappella Palatina In Palermo: An Essay On Its Geometric And Constructive Features.” Muqarnas Online, vol. 27, no. 1, 2011, pp. 407–447., doi:10.1163/22118993-90000170.
  • Booms, Dirk. “The Normans: The Conquest.” Sicily: Culture and Conquest: by Dirk Booms and Peter Higgs, New York, 2016, pp. 178–220.
  • Britt, Karen C. “Roger II of Sicily: Rex, Basileus, and Khalif? Identity, Politics and Propaganda in the Cappella Palatina.” Mediterranean Studies, vol. 16, 2007, pp. 21 – 45. JSTOR, https://www.jstor.org/stable/41167003
  • Ćurčić, Slobodan (1987). "Some Palatine Aspects of the Cappella Palatina in Palermo". Dumbarton Oaks Papers. 41: 125.
  • Grube, Ernst J., and Jeremy Johns. The Painted Ceilings of the Cappella Palatina. Bruschettini Foundation for Islamic and Asian Art, 2005.
  • Johns, Jeremy. “Diversity by Design: The art of Norman Sicily is celebrated for its juxtaposition of Islamic, Byzantine, and Romanesque elements – a remarkable feat of cultural engineering that was a deliberate display of power by the island’s ruler.” Apollo Magazine Ltd., 2016, pp. 80 – 85.
  • Kitzinger, Ernst. “The Mosaics of the Cappella Palatina in Palermo: An Essay on the Choice and Arrangement of Subjects.” The Art Bulletin, vol. 31, no. 4, 1949, pp. 269–292. JSTOR, www.jstor.org/stable/3047256.
  • Tronzo, William (1997a). The Cultures of His Kingdom: Roger II and the Cappella Palatina in Palermo. Princeton University Press.
  • Tronzo, William (1997b). "Byzantine Court Culture from the point of view of Norman Sicily: The Case of the Cappella Palatina in Palermo". ใน Maguire, Henry (บ.ก.). Byzantine Court Culture from 829 To 1204. Dumbarton Oaks.

ดูเพิ่ม[แก้]

38°06′39″N 13°21′13″E / 38.11083°N 13.35361°E / 38.11083; 13.35361